ไม่พบผลการค้นหา
นักวิทยาศาสตร์เห็นตรงกันว่า มีสัตว์ศัตรูพืชสองชนิดที่สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมากที่สุดในโลก ได้แก่ กบอเมริกันบูลฟรอก และงูต้นไม้สีน้ำตาล ซึ่งสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลกรวมกันไปแล้วประมาณ 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 5 แสนล้านบาท) นับตั้งแต่ปี 2529

นอกจากความเสียหายเชิงนิเวศวิทยา สัตว์ทั้งสองตัวนี้ยังทำลายพืชผลทางการเกษตร อีกทั้งยังก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าดับ ยังผลมาด้วยราคาค่าเสียหายแสนแพงต่อมนุษย์

นักวิจัยเชื่อว่า การค้นพบในครั้งนี้จะส่งเสริมให้เกิดการลงทุนเพื่อป้องกันสัตว์ศัตรูพืชเหล่านี้ในอนาคต ซึ่งรายงานวิจัยระบุว่า แค่งูต้นไม้เพียงชนิดเดียว ก็สร้างความเสียหายไปแล้วราว 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 3.6 แสนล้านบาท) โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะมันสามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็วจนไม่สามารถควบคุมจำนวนประชากรของมันได้ โดยเฉพาะในหมู่เกาะแถบมหาสมุทรแปซิฟิก 

งูชนิดนี้ถูกค้นพบโดนบังเอิญบนเกาะกวมโดยทหารสหรัฐฯ เมื่อประมาณร้อยปีที่แล้ว จนในปัจจุบันจำนวนของพวกมันเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล และสร้างปัญหาไฟฟ้าดับครั้งใหญ่หลายครั้ง เนื่องจากพวกมันมักเลื้อยผ่านสายไฟ และสร้างความเสียหายมูลค่ามหาศาล

ทั้งนี้ บนเกาะกวมอาจพบงูต้นไม้สีน้ำตาลได้กว่า 2 ล้านตัว กล่าวคือในพื้นที่ 1 เอเคอร์จะพบงูชนิดนี้ได้ถึง 20 ตัว ทั้งนี้ ระบบนิเวศของเกาะถูกมองว่าเปราะบางลงมาก เนื่องจากสัตว์ศัตรูพืชเหล่านี้นำมาซึ่งการสูญพันธุ์ของสัตว์พื้นถิ่นและพืชพันธุ์ต่างๆ 

Reuters - กบ

ในทวีปยุโรป การเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของกบอเมริกันบูลฟร็อก จำเป็นจะต้องมีการจัดการที่แน่วแน่และงบประมาณมูลค่าสูง

เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องติดตั้งรั้วป้องกันกบล้อมรอบจุดขยายพันธุ์ของมัน เพื่อป้องกันการขยายพันธุ์ของกบพวกนี้ ที่สามารถโตได้ถึง 12 นิ้ว หนักราวครึ่งกิโลกรัม โดยการสร้างรั้วล้อมรอบบ่อน้ำ 5 บ่อที่เป็นแหล่งแพร่พันธุ์ของพวกมัน ส่งผลให้ทางการเยอรมนีเสียงบประมาณไปราว 2.7 แสนยูโร (ประมาณ 10 ล้านบาท) ทั้งนี้ กบจำพวกนี้กินแทบจะทุกอย่าง แม้กระทั่งพวกเดียวกันเอง

สัตว์อีกสายพันธุ์หนึ่ง ที่ถูกมองว่าสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจไปในรูปแบบที่แตกต่างกัน ไปในรูปแบบที่แตกต่างกัน คือ กบโกกี เนื่องจากพวกมันมักส่งเสียงร้องที่ดังแสบแก้วหู ส่งผลให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ในแถบที่มีพวกมันอยู่อาศัยตก เพราะไม่มีใครอยากจะอยู่ฟังเสียงพวกมัน

นักวิจัยคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การค้นพบครั้งนี้จะส่งเสริมให้เกิดการลงทุนที่มากขึ้นในการควบคุมสัตว์ศัตรูพืชเหล่านี้ รวมถึงการออกมาตรการเกี่ยวกับความมั่นคงทางชีวภาพที่มากขึ้นในอนาคต


ที่มา:

https://www.bbc.com/news/science-environment-62342698