วันที่ 20 ก.ค. 2565 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีรายบุคคล เลิศศักดิ์ พัฒนชัยกุล ส.ส.เลย พรรคเพื่อไทย อภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ว่า พล.อ.อนุพงษ์ ผู้ที่กำกับดูแลการประปาส่วนภูมิภาค ตามพ.ร.บ.ปรับปรุงทบวงกรม 2545 และพ.ร.บ.การประภาส่วนภูมิภาค 2522 มาตรา 4 และมาตรา 46 ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่กำกับทั่วไปการประปาส่วนภูมิภาค และมีหน้าที่ในการสั่งการให้การประปาส่วนภูมิภาคชี้แจงขอเท็จจริง หรือแสดงความเห็น ยับยั้งการทำงานที่ขัดต่อนโยบายรัฐบาล หรือมติ ครม.
เลิศศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเอกชนที่ร่วมลงทุนน้ำประปา ปทุมธานี-รังสิต ซึ่งรัฐมีความเสี่ยงจะเสียหายกว่า 35,613 ล้านบาท พฤติกรรมกระทำความผิดของ พล.อ.อนุพงษ์ มีดังนี้คือ ในฐานะที่เป็นผู้บริหารราชการแผ่นดิน ไม่สุจริต รอบคอบ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย ให้บุคคลแวดล้อม และพวกพ้องแสวงหาผลประโยชน์บนความทุกข์ยากของพี่น้องประชาชน สอง มีพฤติกรรมจงใจสมคบคิด ตัวการในลักษณะแบ่งแยกหน้าที่กันทำ ทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ในลักษณะช่วยเหลือกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเอกชน ทั้งสองเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ มหากาพย์การโกงทฤษฎีสมรู้ร่วมคิด ทำเป็นขวนการจัดฉากเอื้อประโยชน์ให้เอกชนรายเดียว นั่นคือความพยามต่อสัญญาโครงการน้ำประปาปทุมธานี-รังสิต กับการประปาส่วนภูมิภาไปอีก 20 ปี
เลิศศักดิ์ กล่าวอีกว่า ขาทั้งสองท่านอยู่ในคุกแล้ว รมว.มหาดไทย พฤติการณ์กระทำผิดของท่านมันเสร็จสมบูรณ์แล้ว และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะที่เป็นประธานคณะกรรมการนโนบายร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ถ้ายังไม่ยับยั้งกระบวนการนี้จะถูกกล่าวหาว่า กินแม้กระทั่งน้ำประปา และน้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่รัฐควรจะต้องจัดสรรให้ประชาชนอ่างเท่าเทียมกัน ไม่ควรให้กลุ่มเอกชนมาได้ประโยชน์จากทรัพยากรของชาติเพียงคนเดียว
เลิศศักดิ์ เผยว่า โครงการดังกล่าว เริ่มต้นเมื่อ 31 ส.ค. 2538 ให้เอกชนในการผลิต และจำหน่ายน้ำประปาให้การประปาส่วนภูมิภาค สัญญานี้เขาเรียกว่า BOOT หมายความว่า ให้สิทธิเอกชนในการออกแบบ ผลิต และจำหน่ายน้ำประปาให้แก่การประปาส่วนภูมิภาค เมื่อหมดสัญญา ทรัพย์สินทั้งหมด ตกเป็นของการประกาส่วนภูมิาภค สัญญานี้กำหนดระยะเวลา 25 ปี เริ่มมีการขายน้ำ 15 ต.ค. 2541 จะสิ้นสุดลง 14 ต.ค. 2566 ก็คืออีกหนึ่งปีเศษ สัญญาระบุว่า การประปาส่วนภูมิภาคต้องซื้อน้ำประปาจากเอกชนรายนี้ 288,000 ลบ.ม.ต่อวัน ในราคา 7.89 บาท ต่อ ลบ.ม. ราคาซื้อขายปรับขึ้นได้ทุกปี ตามดัชนีผู้บริโภค (CTI) และตลอดระยะเวลาสัญญามีการปรับการซื้อน้ำ ปัจจุบันนี้ต้องซื้อน้ำจากเอกชนจำนวน 358,000 ลบ.ม.ต่อวัน และราคาซื้อขยับมาที่ 12.73 บาทต่อลบ.ม.
เลิศศักดิ์ เสริมว่า เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการกระทำควมผิดของ พล.อ.อนุพงษ์ คือ เมื่อสิ้นสุดสัญญา 25 ปี เอกชนจะต้องส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดคืนให้การประปาส่วนภูมิภาค อนุพงษ์ ถ้ามีความซือสัตย์ และระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ ต้องยึดหลักกฎหมาย และความคุ้มค่าเป็นสำคัญ ตามบทบัญญัติในมาตรา 49 พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ระบุว่า ให้การประปาส่วนภูมิภาคดำเนินการได้ 2 อย่างคือ ให้การประปาส่วนภูมิภาคไปดำเนินการบริหารจัดการเอง ประการที่สองคือ เปิดประมูลตามพ.ร.บ. ร่วมทุนฯ มีอยู่ 2 วิธีการ ซึ่ง ผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาคได้ดำเนินการตามบทบัญญัติอย่างครบถ้วนก่อนหมดสัญญา 5 ปี การประปาได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ เพื่อศึกษาว่า ถ้าให้การประปาส่วนภูมิภาคเข้าไปดำเนินการเองจะเป็นอย่างไร และให้เอกชนรายเดิมจะดีหรือไม่ สาม ให้เอกชนรายใหม่ดำเนินการ
โดยบอร์ดของการประปาส่วนภูมิภาคนั้นได้เลือกวิธีแรกเพราะให้ความคุ้มค่าทางการเงินมากที่สุด และบอร์ดชุดนั้นมีประธานบอร์ดคือ ฉัตรชัย พรหมเลิศ เป็นประธาน และที่สำคัญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะปฏิเสธไม่ได้ เพราะมีหลักฐานชัดเจนว่าเห็นชอบ
เลิศศักดิ์ กล่าวอีกว่า เมืื่อวันที่ 28 ต.ค. 2563 ฉัตรชัย พรหมเลิศ ประธานบอร์ดการประปาส่วนภูมิภาคในขณะนั้น ลาออกจากตำแหน่งทำให้องค์ประกอบของบอร์ดไม่ครบ และไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ มีใบสั่งหรือไม่ เป็นการลาออกเพื่อเปิดทางหรือเปล่า ดังนั้น พล.อ.อนุพงษ์ จัดบอร์ดชุดใหม่เสนอครม. ให้ ธนาคม จงจิระ เป็นประธานบอร์ด รับไม้ต่อออกมติอัปยศ ปล้นการประปาส่วนภูมิภาค ปรากฎว่า ต่อสัญญาซื้อน้ำประปาจากเอกชนรายเดิม ไปอีก 20 ปี โดยให้ไปทำตามขั้นตอนของพรบ ร่วมทุน โดยไม่ทำตามบอร์ดชุดเดิม ไปต่อสัญญาให้กับเอกชนรายเดิม
คณะกรรมการบอร์ดการประปาส่วนภูมิภาคมีมติอ้างอิง เพียงแค่ ผลการเจรจากับเอกชนเท่านั้นเอง เอกชนยื่นขอความเป็นธรรมต่อ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หมายความว่า ทุกกระบวนการมาสู่รัฐมนตรีฯ เป็น ‘Play Maker’ ของเรื่องนี้โดยตรง ซึ่งมีการสั่งย้าย ข้าราชการในตำแหน่งผู้อำนวยการกองพัฒนาธุรกิจฝ่ายยุทธศาสตร์องค์กรของการประปาส่วนภูมิภาคไปช่วยสำนักนายกรัฐมนตรี และคนนี้ชื่อ มงคล กัลยกฤติ เป็นคนทำบันทึกเพื่อที่จะคัดค้านผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค เรื่องการนำเอาส่วนลดค่าน้ำปรปา และการเพิ่มกำลังการผลิต มาเป็นเงื่อนไขในการต่อสัญญา ซึ่งไม่เป็นไปตามที่มหาดไทยได้สั่งการไว้แล้ว มีหนังสือมอบให้มีการเปลี่ยนแปลงตัว ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นรมยศักดิ์ ธรรมชัยเดชา แทน ศักดา ช่วงรังษี ซึ่งทำหน้าที่ในการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ
เลิศศักดิ์ กล่าวอีกว่า มีการไปสำรวจความพึงพอใจของพี่น้องชาวปทุมธานีรังสิต ต่อการบริหารจัดการของทั้งเอกชน และถ้าเป็นการประปาส่วนภูมิภาคเขาตอบชัดเจนว่า อยากให้ การประปาส่วนภูมิภาคำเนินการเอง 97.18 % ไม่อยากให้เอกชนดำเนินการต่อ เพระา้หวงว่าในอนาคตข้างน้า เพมื่อราคาปรับสูงขึ้น การประปาส่วนภูมิภาคแบกรับมากขึ้น เกิดขาดทุนขึ้นมา การประปาส่วนภูมิภาคมาเก็บค่าน้ำจากประชาชนสูงขึ้นหรือไม่ นำมาสู่พฤติการณ์การกระทำผิดในประการที่ กระทำความผิดต่อหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.157 ประกอบพ.ร.บ.ปปช. ม.172 ประการที่สอง กระทำความผิดพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 ม.4 ฉะนั้น พล.อ.อนุพงษ์ ต้องรับผิดชอบผลของการกระทำของตัวเอง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สิ่งใดก็แล้วแต่จะเกิดขึ้น พี่น้องชาวปทุมธานี-รังสิต จะได้รับประโยชน์จากการตัดสินใจในครั้งนี้ ตนคิดว่า กระบวนการนี้ทำให้โครงการอื่นๆ จะได้คำนึงถึงผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชนมาก่อน
ด้าน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ชี้แจงกรณีผู้อภิปรายกล่าวหากรณีโครงการร่วมลงทุนน้ำประปาปทุมธานี-รังสิต
พล.อ.อนุพงษ์ ยอมรับว่า สัญญาของการประปาส่วนภูมิภาคมีอยู่จริง แต่เกิดขึ้นก่อนที่ตนมารับตำแหน่ง จากผลการศึกษาพบว่าหากการประปาฯ ทำเองจะคุ้มค่าที่สุด ตนจึงยืนยันว่า ยังไม่คิดเปลี่ยนแปลงการกระทำตามสัญญานี้เลย ไม่มีทางเปลี่ยนแปลงแน่นอน ไม่ทราบว่าท่านฟังที่ไหนมา หากเป็นจริงก็จะไม่เกิดการสูญเสีย ที่ผ่านมาซื้อประปาแพงไปขายถูก ตนไม่เห็นชอบแน่นอน หากส่งไปหน่วยงานอื่น ตนก็จะต่อต้าน และจะไม่มีการผ่านเข้า ครม.
“ที่กล่าวอ้างว่าผมปล่อยปละละเลย เป็นเท็จหมด เพราะผมไม่ทำแน่นอน วันไหนที่มาขอผมก็จะไม่เห็นชอบ ตราบที่ผมยังมีหน้าที่ ท่านอย่ามากล่าวร้ายผม ต้องเขื่อใจผม” พล.อ.อนุพงษ์ กล่าว
สำหรับประเด็นของบอร์ดที่เปลี่ยนตัวไป เนื่องจากต้องไปรับตำแหน่งอื่น ไม่ใช่ใครโยกย้าย ส่วนสำนักอัยการสูงสุดขอให้ผู้อภิปรายเรียนถามเอง เนื่องจากเป็นขั้นตอนของหน่วยงาน แต่ยืนยันอีกครั้งว่าการเปลี่ยนแปลงสัญญานี้จะไม่เกิดขึ้นแน่นอน