นางศุกร์ศิริ บุญญเศรษฐ์ รองอธิบดีด้านที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2561 เห็นชอบกรอบการดำเนินโครงการ 'บ้านคนไทยประชารัฐ' และให้กระทรวงการคลังดำเนินการ โดยกรมธนารักษ์คัดเลือกที่ราชพัสดุที่มีศักยภาพและเหมาะสมทำโครงการนำร่อง ในพื้นที่ 8 แปลง ครอบคลุม 4 ภาค ได้แก่ ที่ราชพัสดุในจังหวัดชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ขอนแก่น อุดรธานี และนครพนม
ปัจจุบัน กรมธนารักษ์ ได้ดำเนินการเปิดประมูลหาผู้ลงทุนก่อสร้างและบริหารโครงการที่อยู่อาศัยตามนโยบายรัฐบาล ภายใต้ชื่อโครงการ 'บ้านคนไทยประชารัฐ' และมีผู้ได้รับสิทธิการพัฒนาที่ราชพัสดุพร้อมทั้งจัดทำสัญญาเช่าที่ดินราชพัสดุ (เช่า 30 ปี) เรียบร้อยแล้ว 5 พื้นที่ และเปิดจองโครงการแล้ว 4 พื้นที่ ได้แก่ ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เชียงใหม่ เชียงราย โดยมีผู้จองสิทธิ 2,249 ราย หรือร้อยละ 98 ของจำนวนยูนิตทั้งหมดที่มีอยู่ 2,302 หน่วย
โดยปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างแล้ว 1 แห่ง บนที่ราชพัสดุในพื้นที่จ.ประจวบคีรีขันธ์ ส่วนในปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ได้ดำเนินการเปิดประมูลเพื่อหาข้อมูลให้ผู้ลงทุนในพื้นที่ จ.นครพนม ซึ่งเป็นที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ นพ.1347 ต.หนองญาติ อ.เมืองนครพนม จ.นครพนม เนื้อที่ 29 ไร่ 2 งาน 29.9 ตารางวา และมีกำหนดยื่นซองประมูลในวันที่ 25 มิ.ย. นี้
นอกจากนี้ กรมธนารักษ์ยังมีแผนคัดเลือกที่ราชพัสดุ เพื่อดำเนินโครงการ 'บ้านคนไทยประชารัฐ' ระยะที่ 2 (เฟส 2) ในปีนี้อีก 8 จังหวัด รวมทั้งในกรุงเทพฯ ด้วย
"เฟส 2 จะมีที่ราชพัสดุในกรุงเทพฯ ด้วย เป็นที่ดินย่านถนนเชื้อเพลิง ช่องนนทรี ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 2 ไร่กว่าๆ จะให้ทำเป็นที่พักอาศัยแนวสูง อย่างไรก็ตาม อันดับแรก กรมฯ ต้องทำ market sounding (รับฟังความคิดของภาคธุรกิจ) ก่อน เมื่อทำเรียบร้อยแล้ว จึงจะเปิดให้เอกชนเข้ามาประมูลพัฒนาพื้นที่" นางศุกร์ศิริ กล่าว
ทั้งนี้ ที่ราชพัสดุที่มีเอกชนจัดทำสัญญาเช่าที่ดินพัฒนาพื้นที่สำหรับทำโครงการ 'บ้านคนไทยประชารัฐ' เรียบร้อยแล้ว 5 พื้นที่ ได้แก่
สำหรับโครงการนี้ มีกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับสิทธิจองทั้งสำหรับพักอาศัยและพื้นที่เชิงพาณิชย์ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.ประชาชนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2.ประชาชนที่มีรายได้ไม่เกินเดือนละ 35,000 บาท และ 3.ประชาชนทั่วไป โดยจะพิจารณาให้สิทธิกับกลุ่มที่ 1 เป็นอันดับแรก และเป็นการผ่อนชำระสู่การเช่าระยะยาว (rent to lease) โดยกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยเป็นของผู้ได้รับสิทธิอยู่อาศัย และผู้ได้รับสิทธิพัฒนาโครงการ
อย่างไรก็ตาม ที่อยู่อาศัยในโครงการจะมีระดับราคาตั้งแต่ 350,000-700,000 บาทต่อหน่วย โดยมีธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารออมสินสนัลสนุนวงเงินสินเชื่อสำหรับการดำเนินโครงการในกรอบวงเงินทั้งสิ้น 4,000 ล้านบาท แบ่งเป็น
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า โครงการนี้จะเป็นการให้สินเชื่อกับผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นอันดับแรก และต่อมาคือผู้ที่มีรายได้ไม่เกินเดือนละ 35,000 บาท ส่วนประชาชนทั่วไปจะเป็นอันดับสุดท้าย ในกรณีที่ยังมีวงเงินสินเชื่อเหลืออยู่ โดยสินเชื่อที่ปล่อยออกไปจะให้ทั้งสำหรับผู้พัฒนาที่ดิน และผู้อยู่อาศัย
"ถ้าบ้าน 7 แสนบาท ก็จะมีค่าผ่อนเดือนละ 3,300 บาท ส่วนบ้านราคา 3.5 แสนบาท ก็จะมีค่าผ่อนเดือนละ 1,700 บาท เราจัดให้ยอดผ่อนไม่มาก เพราะอยากให้คนไทยมีบ้าน" นายชาติชาย กล่าว
นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธอส. กล่าวว่า สินเชื่อดอกเบี้ยผ่อนปรนที่ทั้งสองแบงก์ออกมาสำหรับโครงการนี้ เป็นการผ่อนปรนจากข้อกำหนดอัตราส่วน DSR (Debt Service Ratio) หรืออัตราส่วนการชำระหนี้ต่อรายได้ต่อเดือนของผู้กู้ เพื่อช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยมีโอกาสได้รับเงินกู้ที่เหมาะสม โดยประชาชนที่ได้สิทธิเข้าร่วมโครงการสามารถติดต่อขอยื่นคำขอกู้และทำนิติธรรมกับธนาคารได้ตั้งแต่บัดนี้ถึง 2 ม.ค. 2566
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :