ไม่พบผลการค้นหา
รองนากยกฯ ชู 3 ปัจจัยผลักดันประเทศ เน้นเป็นศูนย์กลาง CLMVT-ดันเกษตรท้องถิ่น-ช่วยสตาร์ทอัพ ด้านเลขบีโอไอรับเม็ดเงินลงทุนปีนี้อาจหดตัวแต่มีหวังจากญี่ปุ่นอยู่บ้าง

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวหลังการประชุมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวถึงภารกิจสำคัญที่ตนเองมอบหมายให้บีโอไอไปศึกษาแนวทางดำเนินการเพื่อต่อยอดและผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ 3 ประเด็น

ในมิติที่หนึ่ง นายสมคิดชี้ว่าตนเองต้องการชูให้ไทยเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจในภูมิภาค 'ซีแอลเอ็มวีที' (CLMVT) ซึ่งประกอบไปด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนามและไทย โดยให้เน้นตรงนี้เป็นหลักจากข้อได้เปรียบเชิงที่ตั้งมากกว่าการมองอาเซียนในภาพรวม พร้อมย้ำว่าต้องเปลี่ยนผ่านจากแนวคิดอุตสาหกรรมการผลิตแบบเดิมไปยังอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูปซึ่งต่างประเทศให้ความไว้วางใจในเรื่องมาตรฐานและความสะอาดของไทยมากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ขณะประเด็นเรื่องการท่องเที่ยว การขนส่ง และแพลตฟอร์มดิจิทัลต้องเข้ามาเป็นส่วนชูโรงเสริมให้ครบทั้งองคาพยบเพื่อดึงดูดนักลงทุนใหม่ๆ หรือผู้ประกอบการที่กำลังวางแผนย้ายฐานการผลิตออกจากจีน

รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ แจงแนวทางมอบหมายประเด็นต่อมา มุ่งเน้นไปที่การสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่น (Local Economy) เน้นให้บีโอไอมองหาแพคเกจส่งเสริมการลงุทนต่างๆ ที่จะเป็นการต่อยอดช่วยเหลือสมาร์ทฟาร์มเมอร์ซึ่งนายสมคิดชี้ว่าเป็นความหวังของระบบเศรษฐกิจท้องถิ่น เนื่องจากเกษตรกรที่มีความรู้และเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถช่วยเกษตรกรที่ยังใช้กระบวนการผลิตแบบดั้งเดิมได้ และยังเป็นการช่วยเหลือประชาชนจำนวนหนึ่งให้มีอาชีพหลังจากที่ต้องกลับคืนถิ่นจากวิกฤตโรคระบาด

นายสมคิดเสริมว่า ตนเองพยายามมอบหมายขอบเขตโครงการให้มีการสร้างงานจริงในท้องถิ่นโดยเน้นไปที่ความร่วมมือจากในประเทศเอง มากกว่าต้องไปรอความช่วยเหลือหรือเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ผ่านการเชื่อมดยงท้องถิ่นเข้ากับมหาวิทยาลัยต่างๆ ก่อนที่จะนำเอกชนไทยเข้าไปร่วม และย้ำว่านี้เป็นการคิดจากฝั่งเกษตรกรขึ้นไปหาร้านค้าปลีกไม่ได้เป็นการช่วยเหลือผู้ค้าปลีกรายใหญ่แต่อย่างใด

ประเด็นสุดท้าย ที่นายสมคิดหยิบขึ้นมาในวันนี้คือความพยายามผลักดันวิสาหกิจชุมชนและสตาร์ทอัพของประเทศให้มีศักยภาพสามารถขึ้นไปสู่ระบบดับยูนิคอร์น หรือการเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (31,000 ล้านบาท) ผ่านการผลักดันจากทั้งบีโอไอและกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

นายสมคิด กล่าวว่า "ที่ผ่านมาเราเน้นเรื่องการผลิตและการบริการ โดยเน้นการลงทุนจากต่างประเทศเป็นหลัก แล้วเอาเข้ามาเป็น Joint Venture (กิจการร่วมค้า) แต่จากนี้ต่อไป ตั้งเป้า 5 ปีข้างหน้า จะต้องเป็นยูนิคอร์นของไทยเองให้ได้" โดยรัฐต้องมีหน้าที่ในการสนับสนุนและช่วยเหลือกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ ซึ่งหากไทยเชื่อมโยงแบบนี้ บริษัทเหล่านี้ก็จะเติบโตได้

"เป็นได้แค่เบี้ยใต้ถุนร้าน ผมไม่ชอบ" สมคิด กล่าว

รองนายกฯ ปิดท้ายว่าสิ่งที่กล่าวมาเป็นเพียงกรอบใหม่ๆ ที่หวังให้เกิดขึ้น แต่ปัจจุบันที่สถานการณ์วิกฤตโรคระบาดในภูมิภาคเริ่มเบาบางลงบ้างแล้ว บีโอไอก็ยังจำเป็นต้องตามติดความคืบหน้ากับการเจรจาเดิมที่เคยทำมา ทั้งจากฮ่องกง จีนแผ่นดินใหญ่ ญี่ปุ่น และไต้หวัน เพื่อสานต่อโครงการให้เร็วที่สุดเช่นเดียวกัน 

สมคิดตามยอดลงทุน BOI
  • ดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

ด้านนางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ให้รายละเอียกเพิ่มเติมว่า ตามข้อมูลจาดการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังค์ถัด (UNCTAD) มีความเป็นไปได้สูงที่เม็ดเงินลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศ (FDI) จะหดตัวในระหว่างร้อยละ 30 - 40 ซึ่งก็มีความเป็นประได้ที่ประเทศไทยจะได้รับกระแสลบไปด้วย

อย่างไรก็ตาม เลขาฯ บีโอไอ ชี้แจงว่า ล่าสุดสำนักงานฯ มีการเจรจาพูดคุยกับฝั่งเรื่องการย้ายฐานการผลิตกับหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC) และเจโทร กรุงเทพฯ (JETRO) ซึ่งพบว่าผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่นโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารยังเล็งเห็นศักยภาพของประเทศแม้จะต้องสู้กับค่าแรงที่ค่อนข้างสูง รวมถึงฝั่งนักธุรกิจด้านอุปกรณ์การแพทย์ก็กำลังทำงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)  

ฝ่ายแผนสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมอื่นๆ บีโอไอกำลังประชุมเพื่อพิจารณาปรับเกณฑ์และข้อเสนอต่างๆ ให้ผ่อนปรมมากขึ้น แต่ก็ยังได้ประโยชน์กับประเทศอยู่ เช่น กระจายอุตสาหกรรมไปตามพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทยนอกเหนือจากแค่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ พิเศษภาคตะวันออก อีอีซี เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่ทั่วประเทศไทยยกเว้นเฉพาะกรุงเทพมหานครเป็นเขตส่งเสริมการลงทุนซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคคลตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตราที่ 35 แล้วทั้งสิ้น