อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก ประธานาธิบดีเผด็จการของเบลารุส กุมอำนาจการปกครองที่รวบแน่นมากขึ้น นับตั้งแต่การเลือกตั้งเบลารุสในปี 2563 ซึ่งถูกมองว่าเกิดการโกงการเลือกตั้งอย่างเป็นวงกว้าง นอกจากนี้ ลูคาเชนโกยังได้ให้การสนับสนุนรัสเซียในการทำสงครามรุกรานยูเครนด้วย
ผู้เชี่ยวชาญต่างอธิบายว่า การสั่งแบนบทกวีนับเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ลัทธิเผด็จการ เนื่องจากฝ่ายตรงข้ามของรัฐบาลเบลารุสจำนวนมาก ล้วนเป็นนักชาตินิยมที่ไม่ชอบท่าทีการสนับสนุนรัสเซียของลูคาเชนโก อย่างไรก็ดี นักชาตินิยมชาวเบลารุสส่วนใหญ่ในตอนนี้ต้องลี้ภัยหนีออกนอกประเทศ หรือไม่ก็ถูกจองจำอยู่ในคุก
คำประกาศการแบนบทกวีในครั้งนี้ มีออกมาโดยสำนักงานอัยการในกรุงมินสก์ เมืองหลวงของเบลารุส เมื่อวันพฤหัสบดี (17 ส.ค.) เพื่อสั่งแบนบทกวี 2 บท ได้แก่ สายลมล่องลอย และการสนทนาของชายชรา พร้อมด้วยคำปรารภถึงผลงานที่รวบรวมโดยผู้แต่ง จาก ยาเซป ยานุชเควิช นักวิจารณ์วรรณกรรม ซึ่งล้วนได้รับการประกาศให้เป็น "เนื้อหาของพวกหัวรุนแรง"
บทกวีเหล่านี้ได้รับการเขียนขึ้นในช่วงการก่อจลาจลของ คัสตัส คาลินอฟสกี ในปี 2406 โดยชาวเบลารุสและชาวโปแลนด์ ในพื้นที่ที่ขณะนั้นเป็นโปแลนด์และเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย โดยในตอนนั้น ดูนิน-มาร์ตซิงเควิช ได้รับการกล่าวหาว่าเป็นผู้เผยแพร่แนวคิดอัน “อันตรายต่อทางการ” อย่างไรก็ดี ดูนิน-มาร์ตซิงเควิชถูกจับและถูกคุมขัง แต่ข้อกล่าวหาการมีส่วนร่วมโดยตรงในการจลาจลยังคงไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นจริง
ปัจจุบันนี้ ผลงานของ ดูนิน-มาร์ตซิงเควิช เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรในโรงเรียน และมีการแสดงละครจากบทกวีของเขาเป็นประจำ ยังมีถนนหลายสายที่ตั้งชื่อตามดูนิน-มาร์ตซิงเควิช ทั้งนี้ เขามีชื่อเสียงในเมืองโบบรูสก์ บ้านเกิดของเขา ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเบลารุส
นอกจากนี้ คำสั่งแบนจากทางการเบลารุสในครั้งนี้ ยังครอบคลุมการสั่งแบนเน็กซ์ตา ร้านค้าหนังสืออิสระ ซึ่งมีการวางขายงานเขียนของกวีในคริสตศตวรรษที่ 20 หลายคน ได้แก่ ลาริซา เกนิยุช, วลาดิเมียร์ นิกลยาเยฟ, ลีเดีย อาโรเบล และ นาตัลยา อาร์เซนเยวา
ที่มา: