'โจ ไบเดน' ผู้นำสหรัฐฯ คนที่ 46 เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ พิธีสาบานตน (Inauguration) ถือเป็นขั้นตอนเชิงพิธีการ ที่บุคคลผู้ได้รับการรับเลือกให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ กล่าวคำปฏิญาญตนต่อรัฐธรรมนูญ ก่อนปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการ ซึ่งสำหรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ นั้น ว่าที่ผู้นำคนใหม่จะวางมือข้างหนึ่งบนพระคัมภีร์ไบเบิล และยกมืออีกข้างอยู่ในระดับศีรษะ โดยมีประธานศาลสูงสุด เป็นผู้นำกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณ (Oath of office) เข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งถูกระบุไว้ในหมวด 2 มาตรา 1 ข้อ 8 ของรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐ ว่า ..
"ข้าพเจ้า .. (ตามด้วยชื่อ) .. ขอให้คำสาบาน (หรือยืนยัน) ว่า จะปฏิบัติหน้าที่ของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ด้วยความซื่อสัตย์ อย่างสุดความสามารถเพื่อดำรง ปกป้อง และพิทักษ์รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา ขอพระเจ้าทรงเมตตา"
เมื่อไบเดนกล่าวคำปฏิญาณนี้ เขาก็จะขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 46 อย่างเป็นทางการ ทั้งทางนิตินัย และพฤตินัย และพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งถือเป็นอันสมบูรณ์
อย่างไรก็ตาม ธรรมเนียมการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับตำแหน่ง ไม่ได้กระทำเพียงเฉพาะประมุขของรัฐที่เป็นพลเรือนเท่านั้น ธรรมเนียมการขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์ในบางประเทศ ก็มีการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาญก่อนขึ้นเสวยราชย์เช่นกัน 'วอยซ์' พาไปสำรวจบริบทอันน่าสนใจในการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาญตนก่อนรับตำแหน่งของในแต่ละชาติว่า องค์พระประมุข หรือ ประธานาธิบดี มีรูปแบบที่คล้ายหรือแตกต่างกันอย่างไร
จีน - ภายใต้มติเมื่อปี 2559 ของคณะกรรมการประจำสภาประชาชนแห่งชาติจีน ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบคำสัตย์ปฏิญาณของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งระดับสูงในรัฐบาลปักกิ่งใหม่ โดยเมื่อปี 2561 ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ได้เข้าพิธีสาบานตนเป็นผู้นำจีนอีกสมัย ท่ามกลางที่ประชุมสภาประชาชนแห่งชาติจีน โดยวางมือข้างหนึ่งบนรัฐธรรมนูญพร้อมกล่าวคำปฏิญาณรูปแบบใหม่ ว่า
ไต้หวัน - มาตรา 48 ของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐจีน (ROC) ระบุคำสาบานตนของว่าที่ประธานาธิบดีอย่างน่าสนใจในตอนหนึ่ง ที่ผู้เป็นประธานาธิบดียินยอมรับโทษหนักเป็นสองเท่าหากกระทำความผิด ว่า
อินโดนีเซีย - รัฐธรรมนูญอินโดฯ กำหนดคำสัตย์ปฏิญาณรับตำแหน่งของผู้นำอินโดนีเซียจะมีอยู่ 2 รูปแบบ สำหรับประธานาธิบดีผู้เป็นชาวมุสลิม และที่ไม่ใช่ชาวมุสลิม โดยการกล่าวทั้งสองรูปแบบนั้นจะต้องกระทำต่อหน้าที่ประชุมใหญ่ของรัฐสภา โดยคำสาบานของประธานาธิบดี / รองประธานาธิบดี (ผู้เป็นชาวมุสลิม) จะกล่าวว่า
ส่วนคำปฏิญาณของผู้ไม่ได้เป็นชาวมุสลิมจะกล่าวในอีกรูปแบบที่คล้ายกันว่า
สิงคโปร์ - คำสาบานตนผู้ที่จะขึ้นเป็นประธานาธิบดีสิงคโปร์ มีบริบทของพรรคการเมืองอยู่ในคำสัตย์ปฏิญาณอย่างน่าสนใจว่า
เยอรมนี - ตามบทบัญญัติของกฎหมายพื้นฐานแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มาตรา 56 ระบุว่า ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี, นายกรัฐนตรี และคณะรัฐมนตรี ต้องกล่าวคำสาบานตนก่อนรับตำแหน่งในรูปแบบเดียวกัน ต่อรัฐธรรมนูญในที่ประชุมรัฐสภา ว่า
ธรรมเนียมกล่าวคำสัตย์สาบานตน ไม่เพียงกระทำเฉพาะประมุขของรัฐที่เป็นพลเรือนอย่างประธานาธิบดีเท่านั้น แต่พิธีการนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์หลายชาติในยุโรป ซึ่งจะทรงกล่าวคำสัตย์สาบานต่อรัฐธรรมนูฐท่ามกลางที่ประชุมรัฐสภา
เบลเยียม - พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของกษัตริย์เบลเยี่ยม ไม่ได้มีธรรมเนียมการสวมมงกุฎ โดยที่ผ่านมาสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเบลเยียมจะทรงปฏิญาณตนตามรัฐธรรมนูญต่อหน้าที่ประชุมรัฐสภาในกรุงบรัสเซลส์ ด้วยการกล่าวคำสัตย์ประโยคเดียวกันในภาษาราชการทั้ง 3 ภาษา คือ ฝรั่งเศส ดัตช์ และ เยอรมัน ว่า
สเปน - มาตรา 61 ของรัฐธรรมนูญสเปน กำหนดให้รัชทายาทที่เตรียมขึ้นเป็นกษัตริย์ต้องเข้าพิธีสาบานตนต่อที่ประชุมรัฐสภาให้เร็วที่สุด ก่อนทรงเริ่มปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ในฐานะกษัตริย์ ว่า
เนเธอร์แลนด์ - มาตรา 32 ของรัฐธรรมนูญเนเธอร์แลนด์ ระบุว่า รัชทายาทที่จะขึ้นครองราชย์จะต้องให้คำสัตย์สาบานพระองค์ต่อที่ประชุมใหญ่ของรัฐสภาก่อนทำหน้าที่ประมุข ซึ่งพิธีการนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยรัฐธรรมนูญระบุคำสัตย์ที่รัชทายาทต้องกล่าวสาบานพระองค์ ว่า
มาเลเซีย - เป็นอีกประเทศที่มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนตำแหน่งประมุขของรัฐ หรือ 'ยังดีเปอร์ตวนอากง' ทุกๆ 5 ปี ตามมาตรา 37 ของรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐ กำหนดให้พระราชพิธีบรมราชาภิเษก หรือ 'เดาลัด ตวนกู' (Daulat Tuanku) ผู้ปกครองรัฐที่จะขึ้นครองราชย์จะต้องกล่าวคำสัตย์สาบานต่อหน้าสภาที่ประชุมผู้ปกครอง สมาชิกรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี ด้วยคำสัตย์สาบานอันยาวเหยียดที่เป็นบริบทเชิงศาสนาซึ่งถูกผนวกรวมกับรัฐอย่างน่าสนใจ ว่า
อย่างไรก็ตาม คำสัตย์เหล่านี้คงเป็นเพียงคำเลื่อนลอย ไร้ซึ่งความหมาย หากผู้ปกครองรัฐนั้นๆ ไม่ได้กระทำตัวอย่างเหมาะสม หรือปฏิบัติหน้าที่ให้สมกับที่ได้ให้สัญญาประชาคมไว้กับรัฐธรรมนูญและประชาชน และผู้นั้นที่ไม่ว่าเป็นประมุขรัฐที่เป็นพลเรือน หรือกษัตริย์ ก็จะไร้ซึ่งศรัทธาจากประชาชนเช่นกัน