ไม่พบผลการค้นหา
'พวงเพ็ชร' ชมวัดห้วยปลากั้ง ขานรับโครงการสังฆาภิบาล พร้อมเร่งจับมือ สธ.เดินหน้าเชื่อมโยงข้อมูลพระสงฆ์ครอบคลุมทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2566 พวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ ประกอบด้วย กฤช เอื้อวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สุภาภรณ์ คงวุฒิปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรีฐมนตรี เดินทางลงพื้นที่ จ.เชียงราย โดยคณะได้เดินทางไปยังวัดห้วยปลากั้ง อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย เพื่อติดตามการดำเนินงานการพัฒนาวัด ด้านสาธารณสงเคราะห์ ตามโครงการสังฆาภิบาล โดยมีการสงเคราะห์เด็กกำพร้า 300 คน และการพัฒนาวัดตามแนวคิดอารามภิรมย์ โดยมีพระไพศาลประชาทร วิ.(พระอาจารย์ พบโชค ติสสะวังโส) เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้งเป็นผู้ให้ข้อมูล และพาเยี่ยมชมการดำเนินด้านสังคมของทางวัด ได้แก่ สถานรับเลี้ยงเด็กด้อยโอกาส และสถานพักพิงสำหรับคนไร้ที่พึ่ง ตลอดจนเยี่ยมชมโรงพยาบาลวัดห้วยปลากั้ง ที่เปิดให้การรักษาแก่ประชาชนรวมถึงพระสงฆ์ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งวัดห้วยปลาก้างได้เข้าร่วมโครงการสังฆาภิบาล พระสงฆ์อาพาธ ตามนโยบายรัฐบาล .

เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง กล่าวว่า "โรงพยาบาลวัดห้วยปลากั้งเพื่อสังคม" สร้างขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ที่เข้าถึงระบบสาธารณสุขได้ยาก โดยที่ผ่านมาวัดห้วยปลากั้ง เป็นสถานที่ทำบุญแบ่งปันสิ่งต่างๆ แก่ประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าว่าจะสามารถรองรับผู้ป่วยทั่วไปได้วันละประมาณ 500 คน และผู้ป่วยด้านทันตกรรมวันละประมาณ 120 คน สิ่งสำคัญคือการให้บริการ เน้นการทำบุญ โดยรับรักษาฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น โดยมีการให้บริการ ประกอบด้วย ศูนย์ทันตกรรม ศูนย์โพลีคลินิก ศูนย์ฝึกวิชาชีพ เป็นต้น และให้บริการเฉพาะผู้ป่วยนอกโดยไม่มีบริการนอนพัก ผู้ป่วยฉุกเฉินหรือทั่วไปเข้ารับการตรวจรักษาและกลับบ้านได้ หรือหากอาการหนักจะส่งตัวไปรักษาต่อ ณ สถานพยาบาลใกล้เคียง เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา

พวงเพ็ชร กล่าวว่า จากข้อมูลของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) รายงานว่า ปัจจุบันมีพระภิกษุสงฆ์ ทั้งหมดจำนวน 288,956 รูป พระอาพาธทั่วประเทศประมาณ 10,000 รูป ซึ่งบางรูปไม่ได้รับการรักษาตามสิทธิ์ขั้นพื้นฐานของ สปสช. บางรูปไม่มีผู้ดูแล พศ. จึงจัดทำโครงการในการให้ความช่วยเหลือพระสงฆ์ ประกอบด้วย โครงการอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการสังฆาภิบาลเพื่อพระสงฆ์อาพาธ โครงการกุฎิสงฆ์อาพาธร่วมกับโรงพยาบาลสงฆ์

นอกจากนี้ พศ. ยังสร้างกลไกความร่วมมือในการจัดบริการดูแลพระสงฆ์ ทำสถานชีวาภิบาลสำหรับองค์กรพระพุทธศาสนา รวมถึงให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงฐานข้อมูลของเพื่อตรวจสอบสิทธิ์ในการเข้ารับการรักษาพยาบาล ตามข้อกำหนดของ สปสช.