ไม่พบผลการค้นหา
คณะแพทย์ฯ รามา จับมือ กระทรวงพม. สสส. ออกแถลงสร้างความตระหนักรู้ “ยุติความรุนแรงจากควันบุหรี่” หลังพบเด็กและผู้หญิงต้องได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้านมากถึงกว่า 10 ล้านคน และเปิดเผยผลสำรวจล่าสุด พบแม่บ้านไทย 96% ต้องการเห็นบ้านปลอดบุหรี่ 74%

ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัว (กสค.) กล่าวว่า องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดให้วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี สากล และรัฐบาลไทยได้กำหนดให้เดือนพฤศจิกายน เป็นเดือนแห่งการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี โดยในส่วนของประเทศไทยได้มีการสำรวจความรุนแรงในครอบครัวไทยต่อผู้หญิงและบุคคลในครอบครัว ปี 2560 พบความรุนแรงต่อผู้หญิงและบุคคลในครอบครัว จำนวน 874,295 ครัวเรือน ทั้งนี้องค์การ

ศ.นพ.รณชัย กล่าวว่า สหประชาชาติระบุว่าประเทศไทยติดอันดับสถิติคดีความรุนแรงต่อเด็กและสตรี เป็นอันดับ 1 ใน 10 ของโลก “ประเด็นที่น่าเป็นห่วงของสังคมไทยและอาจจะเป็นภัยเงียบ นั่นก็คือการกระทำความรุนแรงต่อสุขภาพคนในครอบครัวที่มี สาเหตุมาจากการสูบบุหรี่

จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2560 ซึ่งศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ทำการวิเคราะห์พบว่า มีครัวเรือนที่มีคนสูบบุหรี่มากถึง 4,962,045 ครัวเรือน คนที่ไม่สูบบุหรี่จึงได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้านโดยเฉลี่ยมากถึง 10,333,653 คน

ผลการวิจัยในวารสารก้าวทัน วิจัยกับ ศจย. ปี 2562 พบว่า 81% บ้านเป็นสถานที่รับควันบุหรี่มือสองจากคนในครอบครัวมากที่สุด โดยผู้หญิงที่มีสามีสูบบุหรี่หรือผู้ที่ทำงานในสถานที่ที่มีคนสูบบุหรี่มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น 24% และ 19% ตามลำดับ

ทั้งนี้เด็กทารกที่มีผู้ปกครองสูบบุหรี่ มีโอกาสเกิดภาวะไหลตายเพิ่มขึ้น 2 เท่า มีโอกาสเกิดหลอดลมอักเสบหรือปอดอักเสบเพิ่มขึ้น 47% และ มีโอกาสเป็นโรคหอบหืดเพิ่มขึ้น 39% ดังนั้นควันบุหรี่เป็นภัยร้ายต่อชีวิตคนในครอบครัวเพราะต้องใช้อากาศในบ้านร่วมกัน

1.jpg

ผศ.ดร.นรีมาลย์ นีละไพจิตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้สำรวจความคิดเห็นแม่บ้านเรื่องสุขภาพคนในครอบครัวกับการสูบบุหรี่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปี 2562 พบว่า แม่บ้านถึงร้อยละ 96.2 มีความเห็นว่าไม่ควรสูบบุหรี่ในบ้าน ร้อยละ 74.3 เห็นว่าการสูบบุหรี่จัดเป็นความรุนแรงในครอบครัวเพราะทำอันตรายต่อสุขภาพคนในบ้าน

เมื่อถามเจาะลงไปเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า ร้อยละ 86.7 เห็นว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นอันตรายกับสุขภาพ

ทั้งนี้ นางอรุณี ชื่นชนม์ หัวหน้างานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า โรงพยาบาลรามาธิบดี มี “ศูนย์ช่วยเหลือผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว” ในรูปแบบ One Stop Service ภายใต้ชื่อ “ศูนย์นารีรักษ์” พร้อมให้ความช่วยเหลือผู้หญิงที่ถูกกระทำรุนแรง ในครอบครัว ทั้งการรักษาร่างกาย บำบัดฟื้นฟูจิตใจ การช่วยเหลือและพิทักษ์ในด้านกฎหมาย รวมถึงการบำบัดและควบคุมความประพฤติของผู้ชาย

ผศ.ดร.นรีมาลย์ กล่าวว่า ที่เป็นผู้กระทำรุนแรงให้ได้รับผลเด็ดขาด โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้หญิงที่ได้รับความรุนแรงสามารถกลับไปใช้ชีวิตในครอบครัวได้ และลดปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมไทย เป็นความร่วมมือของทีมสหวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ จิตแพทย์ พยาบาล นักสังคม สงเคราะห์ นักจิตวิทยา และนักกฎหมาย โดยมีทีมนักสังคมสงเคราะห์เป็นแกนกลางในการประสานงาน ช่วยเหลือ ติดตาม อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการบริการของศูนย์นารีรักษ์ จะประเมินความเสี่ยงด้านสังคม อารมณ์ จิตใจ และเศรษฐกิจ โดยให้บริการปรึกษา แนะนำ สนับสนุน เพื่อสร้างเสริมพลังใจและช่วยเหลือตามสภาพปัญหา ให้คำแนะนำด้านสิทธิเบื้องต้นทางกฎหมาย และติดต่อประสานงานเพื่อให้เข้าถึงแหล่งทรัพยากรทางสังคม

นายกันตพงศ์ รังษีสว่าง ผู้อำนวยการกองส่งเสริมสถาบันครอบครัว กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวได้ดำเนินการ การจัดกิจกรรม และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์รณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัวทั่วประเทศ ตลอดทั้งเดือนพฤศจิกายนประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สังคมได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่มีแนวโน้มสูงขึ้น พร้อมทั้งเป็นการสร้างกระแสทางสังคมในการสร้างความร่วมมือจากประชาชนในการยุติปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ที่มีผลกระทบทั้งต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ซึ่งในประเด็นสุขภาพของคนในครอบครัวก็เป็นสิ่งที่น่าห่วงใยมาก

“ปัจจุบันแม้จะมีพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ.2562 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2562 โดยสาระสำคัญของพระราชกำหนดฉบับนี้ คือให้ยกเลิกการบังคับใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ.2562 ออกไปก่อน จนกว่าจะมีการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และให้มีผลย้อนหลังไปวันที่ 20 สิงหาคม 2562 ซึ่งในระหว่างนี้ให้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 ยังคงมีผลใช้บังคับ โดยในกรณีนี้หาได้กระทบกระเทือนต่อการรณรงค์ห้ามการสูบบุหรี่ในบ้านแต่อย่างใด เนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าว ยังคงมีการให้นิยามใน มาตรา 3 คำว่า “ความรุนแรงในครอบครัว” เช่นเดียวกับ พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ.2562” นายกันตพงศ์ กล่าว

ศ.นพ.รณชัย กล่าวทิ้งท้ายว่า ต้อง ยุติความรุนแรงจากควันบุหรี่ “คนที่สูบบุหรี่ควรเลิกสูบเพื่อสุขภาพที่ดีของตนเอง และต้องเลิกสูบบุหรี่ในบ้านเพราะผลกระทบรุนแรงต่อคนในครอบครัวที่คุณรัก ถึงเวลาที่บ้าน ที่พักอาศัย เช่น คอนโดมีเนียม ต้องปลอดบุหรี่ 100%”