ล่าสุด ป.ป.ช.มีมติให้ไต่สวนแล้ว 5 กรณีคือ
โดยทั้ง 5 กรณี จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น ปรากฏพยานหลักฐานเพียงพอในการไต่สวนต่อไปได้ เห็นควรรับเรื่องไว้ดำเนินการไต่สวนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 49 วรรคสาม ประกอบระเบียบคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่าด้วยการตรวจสอบและไต่สวน พ.ศ. 2561 ข้อ 45 (2) โดยมี น.ส.สุภา ปิยะจิตติ และ นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข 2 กรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้รับผิดชอบสำนวนไต่สวนคดีนี้ ซึ่งเป็นการไต่สวนตามมาตรา 51 กับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
นายวัชระ กล่าวว่า กรณีดังกล่าวนี้ ตนได้รับการร้องเรียนจากข้าราชการ กกต. ซึ่งเห็นว่าอยู่ในอำนาจของ ป.ป.ช. ที่จะตรวจสอบ เมื่อ ป.ป.ช.มีมติให้ไต่สวน จึงต้องขอบคุณที่ได้ทำหน้าที่ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยไม่ได้ละเว้น และขอให้กันพนักงาน กกต.ที่ร้องเรียนเป็นพยานด้วย อย่างไรก็ตาม จากกรณีของนายสันทัดซึ่งเป็นเรื่องการกระทำผิดจริยธรรม ซึ่งเป็นกรณีเดียวกับที่ตนได้ร้องเรียนต่อ ป.ป.ช.เมื่อวันที่ 14 ส.ค.64 ให้สอบนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ที่ได้จัดงานเลี้ยงสงกรานต์ ท่ามกลางสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด -19 ประพฤติฝ่าฝืนกฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉิน กฎหมายอื่นๆและประพฤติผิดมาตรฐานจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2561 ทำให้ผู้ร่วมงานติดโรคโควิด-19จำนวน 21 คน มีผู้เสียชีวิต 3 คน และแพร่ไปทั่วจังหวัดสุโขทัย จำนวน 55 คน จนถึงขณะนี้เวลาได้ล่วงเลยมาเกือบ 1 ปี แต่ยังไม่มีความคืบหน้าหรือมีมติให้ไต่สวนนายสมศักดิ์แต่อย่างใด และอีกกรณีนายวัชระได้ร้องเรียนป.ป.ช.นายสรศักดิ์ เพียรเวช ในขณะดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กรณีใช้รถยนต์หลวงในภารกิจส่วนตัวหลายครั้งเช่นเดียวกับนายสันทัด ตั้งแต่เมื่อวันที่30 ก.ย.63 ก็ไม่มีความคืบหน้าแต่ประการใดเช่นกัน จึงอยากถามป.ป.ช.ถึงการปฏิบัติให้เป็นไปในมาตรฐานเดียวกันว่าต้องใช้เวลานานเท่าใด ไม่เช่นนั้นนายสันทัดจะกล่าวอ้างได้ว่า แล้วคนอื่นทำไมไม่โดนบ้าง