ไม่พบผลการค้นหา
'EEC' ลงนาม MOU 'ZEAZ' หวังเปลี่ยนสนามบินอูตะเภา เป็นศูนย์กลางมหานครการบิน เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจไทย

เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) คือโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 650,000 ล้านบาท ที่รัฐบลหวังใช้เป็นตัวเร่งกระตุ้นและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไปข้างหน้า โดยประกอบไปด้วยหลายโครงการย่อย 

ล่าสุด 'อีอีซี' หวังยกระดับสนามบินอู่ตะเภา โครงการมูลค่า 290,000 ล้าน เป็นศูนย์กลางมหานครการบินภาคตะวันออก โดยลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ (MOU) กับ คณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษอากาศยานเจิ้งโจว (Zhengzhou Airport Economy Zone: ZAEZ) เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ส่งเสริมการลงทุน เชื่อมโยงการบินครบวงจร และสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร 

EEC MOU มหานครการบินเจิ้งโจว-คณิศ แสงสุพรรณ

'คณิต แสงสุพรรณ' เลขาธิการคณะกรรมการนโยบาย เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กล่าวว่า ด้วยศักยภาพของ ZAEZ ที่ใช้เวลาเพียง 3 ปี ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางธุรกิจขนส่งสินค้า (Cargo)ของประเทศจีน ด้วยสัดส่วนร้อยละ 60 หรือคิดเป็นจำนวน 515,000 ตัน ทั้งยังรองรับผู้โดยสารถึง 27 ล้านคน

'เจิ้งโจว' โมเดล

'หม่า เจี้ยน' ผู้อำนวยการเขตเศรษฐกิจพิเศษอากาสยานเจิ้งโจว กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้ ZAEZ ประสบความสำเร็จด้วยความรวดเร็วมาจากการใช้ประโยชน์จากพื้นที่โดยรอบสนามบินอย่างเต็มศักยภาพ

EEC MOU มหานครการบินเจิ้งโจว

จำนวนที่ดินทั้งหมด 415 ตารางกิโลเมตร ถูกแบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 

(1) เขตสนามบินที่ใช้เป็นพื้นที่ประกอบธุรกิจโลจิสติกส์ โดยเป็นการรวมตัวของสนามบิน ศูนย์ขนส่งผู้โดยสารทางบก ทั้งรถไฟใต้ดิน รถไฟความเร็วสูง และรถโดยสาร นอกจากนี้เขตสนามบินยังมีคลังสินค้าอีคอมเมิร์ซ และศูนย์ขนส่งและกระจายสินค้าทางอากาศ

(2) พื้นที่พัฒนาธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ปัจจุบัน ZEAZ รองรับทั้งเทคโนโลยีการผลิตชีวการแพทย์และวัคซีน โดยหนึ่งในโรงพยาบาลเฉพาะทางโรคมะเร็งที่มีรายได้ต่อปีถึง 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 46,000 ล้านบาท นอกจากนี้พื้นที่ดังกล่าวยังรองรับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนกว่า 60 ราย โดยหนึ่งในนั้นคือ Foxconn ซึ่งผลิตสมาร์ทโฟนกว่า 299 ล้านเครื่อง/ปี หรือคิดเป็นร้อยละ 14 ของการผลิตสมาร์ทโฟนทั่วโลก

(3) เขตพื้นที่อาศัย การศึกษาและการบริการ ที่ประกอบไปด้วยอาคารสำนักงาน สถาบันการศึกษา โรงเรียน และศูนย์พัฒนาบุคลากร รวมทั้งโรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์

(4) เขตพื้นที่การเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงซึ่งจะมีการพัฒนาต่อเป็นศูนย์กลางคมนาคมที่สามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 100,000 คน/วัน 

พื้นที่ทั้ง 4 โซน มีการเชื่อมต่อกันด้วยโครงข่ายถนนขนาดใหญ่ โดยในทุกโซนจะแทรกพื้นที่เปิดโล่ง พื้นที่สีเขียว แหล่งน้ำ และสวนสาธารณะคิดเป็นพื้นที่รวมราวร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด

'ZEAZ' VS 'EEC'

'คณิต' ชี้ถึงความเป็นไปได้ในการนำโมเดลเจิ้งโจวมาปรับใช้กับอีอีซีของไทยว่า ด้วยตัวอย่างการประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วของเจิ้งโจวจากประสิทธิภาพของการวางผังเมือง หากอีอีซีนำมาปรับใช้จะเป็นการเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจเพิ่มให้กับไทย

โดยพื้นที่โดยรอบของสนามบินอู่ตะเภาพื้นที่ราว 400 ตารางกิโลเมตร จะถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้เป็นมหานครแห่งการบินอย่างแท้จริง "มีสนามบินอู่ตะเภาเป็นศูนย์กลาง แต่ไม่ได้มีแค่สนามบินอู่ตะเภา"

สมคิด สภา  mplate.jpg

'สมคิด จาตุศรีพิทักษ์' รองนายกรัฐมนตรี ย้ำว่า โมเดลดังกล่าวเป็นหนึ่งใน "ความฝัน" ที่อยากให้เป็นจริงเพราะจะสามารถช่วยเชื่อมโยงทั้งองค์ความรู้และการเชื่อมโยงการค้าระหว่างไทยและจีน อย่างไรก็ตาม ความสามารถและความรวดเร็วในการพัฒนาโครงการอีอีซีขึ้นอยู่กับทุกภาคส่วน

"อย่าถามผม ต้องถามคนไทยว่าจะทำได้เร็วไหม" สมคิด กล่าว

ไทม์ไลน์ที่เป็นไปได้

'คณิต' กล่าวว่า แนวทางการพัฒนาธุรกิจขนส่งสินค้าจะเป็นโครงการแรกที่มีการพัฒนา โดยจะสามารถเริ่มได้ทันทีหลังสนามบินอู่ตะเภาได้เอกชนผู้ชนะประมูลพัฒนาโครงการ ซึ่งคาดว่าจะรู้ผลในช่วงเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ หลังจากนั้นอีกประมาณ 1 เดือน จะสามารถเริ่มโครงการธุรกิจขนส่งได้

คำชี้แจงจาก 'คณิต' ย้ำว่า คำสั่งศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2562 ทำให้การเดินหน้าหาผู้ชนะการประมูลยังสามารถดำเนินต่อไปได้ และเพราะเหตุนี้โครงการพัฒนามหานครการบินภาคตะวันออกจึงสามารถดำเนินต่อได้ด้วยความรวดเร็วเช่นเดียวกัน

สำหรับแผนการพัฒนาในระยะต่อไป จะเป็นการพูดคุยและดึงสายการบินเข้ามายังสนามบินอู่ตะเภา รวมทั้งบริษัทผู้ผลิตสินค้าที่ต้องพึ่งการขนส่ง อาทิ ผู้ผลิตสมาร์ทโฟน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง;