ไม่พบผลการค้นหา
สวนดุสิตโพล สำรวจความเห็นประชาชนเรื่อง 'ประชาชนคิดอย่างไร? กับการเลื่อนเลือกตั้ง' พบว่า ร้อยละ 63.75 ระบุว่า "ไม่คุ้มค่า" มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและเศรษฐกิจ การเมืองขาดเสถียรภาพ ส่วนร้อยละ 36.25 คิดว่า "คุ้มค่า" เพราะมีเวลาในการเตรียมพร้อม ร้อยละ 49.17 คิดว่าเป็นข้อเสีย และอีกร้อยละ 48.45 เห็นว่า ทั้งผู้สมัครและพรรคการเมืองมีเวลาเตรียมตัว ลงพื้นที่หาเสียงได้มากขึ้น

'สวนดุสิตโพล' มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เผยแพร่ผลสำรวจหัวข้อ "ประชาชนคิดอย่างไร? กับ การเลื่อนเลือกตั้ง" โดยระบุว่า จากกระแสข่าวการเลื่อกเลือกตั้งที่อาจไม่ใช่วันที่ 24 ก.พ. 2562 ตามเดิม ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม หากจะเลื่อนหรือไม่เลื่อนเลือกตั้ง กกต.จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งภายใน 150 วันนับตั้งแต่วันที่ 11 ธ.ค. 2561 ตามกรอบกฎหมายที่กำหนด

ทั้งนี้ 'สวนดุสิตโพล' มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จึงสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,029 คน ระหว่างวันที่ 8-12 ม.ค. ที่ผ่านมา 

โดยมีคำถามว่า ประชาชนคิดอย่างไร กับ การเลื่อนเลือกตั้ง อาจไม่ใช่วันที่ 24 ก.พ. พบว่า ประชาชนร้อยละ 31.50 คิดว่าขอให้ทุกคนทุกฝ่ายเห็นแก่ส่วนรวม ไม่สร้างความวุ่นวายให้บ้านเมือง ร้อยละ 23.32 เห็นว่า กกต.ต้องประกาศวัน เวลา เลือกตั้งที่ชัดเจน ร้อยละ 20.11 เห็นว่า การเลื่อนเลือกตั้งส่งผลกระทบกับรัฐบาลและกกต. มีกระแสข่างในทางลบ ร้อยละ 17.96 คิดว่า ถูกมองเป็นการซื้อเวลา มีนัยยแอบแฝง และร้อยละ 15.68 เห็นว่า ไม่ว่าจะช้าหรือเร็วก็ต้องมีการเลือกตั้ง 

ส่วน 'ข้อดี' ของการเลื่อนเลือกตั้ง ประชาชนร้อยละ 48.45 เห็นว่า ทั้งผู้สมัครและพรรคการเมืองมีเวลาเตรียมตัว ลงพื้นที่หาเสียงได้มากขึ้น ร้อยละ 29.19 เห็นว่า กกต.มีเวลาเตรียมการต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้งอย่างรอบคอบ รัดกุม และร้อยละ 27.95 เห็นว่า ประชาชนมีเวลาในการตัดสินใจมากขึ้น 

ส่วน 'ข้อเสีย' ของการเลื่อนเลือกตั้ง ประชาชนร้อยละ 49.17 เห็นว่า บ้านเมืองขาดเสถียรภาพส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ร้อยละ 44.97 เห็นว่า ทิศทางการเมืองไม่ชัดเจน อึมครึม เสียเวลา และร้อยละ 30.70 เห็นว่า เกิดความขัดแย้ง ใส่ร้าย โจมตีทางการเมืองมากขึ้น 

คำถามสุดท้ายถามว่า เมื่อพิจารณาแล้ว ประชาชนคิดว่า การเลื่อนเลือกตั้งจะทำให้เกิดความคุ้มค่าหรือไม่ ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 63.75 ระบุว่า "ไม่คุ้มค่า" เพราะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและเศรษฐกิจ การเมืองขาดเสถียรภาพ เสื่อมเสียภาพลักษณ์ เป็นประเด็นขัดแย้งทางการเมือง ฯลฯ ส่วนร้อยละ 36.25 คิดว่า "คุ้มค่า" เพราะมีเวลาในการเตรียมพร้อม และพิจารณาดำเนินการเรื่องต่างๆ ได้อย่างรอบคอบมากขึ้น จะได้ไม่เสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ ฯลฯ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :