นอกจากการกู้เงิน-การออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 1 ล้านล้านบาท เพื่อเยียวยาผลกระทบแล้ว ยังปรับลด-หั่น-ตัดงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 กว่า 100,395 ล้านบาท ประกอบด้วย
สำนักนายกรัฐมนตรี 1,417 ล้านบาท กระทรวงต่างประเทศ 78 ล้านบาท กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 267 ล้านบาทกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 749 ล้านบาท กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2,617 ล้านบาท กระทรวงกลาโหม 18,082 ล้านบาท
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 865 ล้านบาท กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 688 ล้านบาท กระทรวงพลังงาน 37 ล้านบาท
กระทรวงพาณิชย์ 364 ล้านบาท กระทรวงยุติธรรม 553 ล้านบาท กระทรวงแรงงาน 70 ล้านบาท กระทรวงการคลัง 36,100 ล้านบาท
กระทรวงคมนาคม 11,165 ล้านบาท กระทรวงวัฒนธรรม 296 ล้านบาท กระทรวงสาธารณสุข 1,132 ล้านบาท กระทรวงอุตสาหกรรม 201 ล้านบาท
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 2,199 ล้านบาท กระทรวงมหาดไทย 6,340 ล้านบาท กระทรวงศึกษาธิการ 5,045 ล้านบาท
ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือ ทบวง และหน่วยงานภายใต้การควบคุมดูแลของนายกรัฐมนตรี 1,256 ล้านบาท หน่วยงานของรัฐสภา 432 ล้านบาท หน่วยงานของศาล 48 ล้านบาท หน่วยงานขององค์กรอิสระและองค์กรอัยการ 218 ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจ 2,949 ล้านบาท สภากาชาดไทย 97 ล้านบาท หน่วยงานอื่นของรัฐ 12 ล้านบาท จังหวัดและกลุ่มจังหวัด 2,537 ล้านบาท องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1,942 ล้านบาท และกองทุนและเงินทุนหมุนเวียน 2,622 ล้านบาท
สำหรับ 10 อันดับสูงสุด ที่ถูกตัด-หั่น-ลดมากที่สุด เพื่อโอนมาเป็นงบกลาง-พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) โอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ... หรือ การโอนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 ได้แก่
อันดับที่ 1 กระทรวงการคลัง 36,100 ล้านบาท
อันดับที่ 2 กระทรวงกลาโหม 18,082 ล้านบาท
อันดับที่ 3 กระทรวงคมนาคม 11,165 ล้านบาท
อันดับที่ 4 กระทรวงมหาดไทย 6,340 ล้านบาท
อันดับที่ 5 กระทรวงศึกษาธิการ 5,045 ล้านบาท
อันดับที่ 6 รัฐวิสาหกิจ 2,949 ล้านบาท
อันดับที่ 7 กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน 2,622 ล้านบาท
อันดับที่ 8 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2,617 ล้านบาท
อันดับที่ 9 จังหวัดและกลุ่มจังหวัด 2,537 ล้านบาท
อันดับที่ 10 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 2,199 ล้านบาท
กระทรวงกลาโหม-กองทัพบกกลายเป็น “ตำบลกระสุนตก” ภายหลังมีข่าวจัดซื้อรถถังยานเกราะสไตรเกอร์ 50 คัน สวนกระแสสังคมที่ต้องการนำเงินมาเยียวยาผลกระทบจากโรคโควิด-19
(เอกสาร การโอนงบประมาณรายจ่าย ปี 2563 : กระทรวงกลาโหม)
ชำแหละไส้ในงบกระทรวงกลาโหมที่ถูกหั่น ประกอบด้วย
สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม 367 ล้านบาท อาทิ 1.แผนงานยุทธศาสตร์รักษาความสงบภายในประเทศ คือ การสนับสนุนการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ 1 ล้านบาท
2.แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศและความพร้อมเผชิญภัยคุกคามทุกมิติ 101 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและศึกษาต่างประเทศ 2.912 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการฝึก ศึกษา ทางการทหาร 6.148 ล้านบาท และ สป.149 จำนวน 92 ล้านบาท
3.แผนงานยุทธศาสตร์ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 35.2 ล้านบาท ประกอบด้วย การดำเนินการตามเอกสารแนวความคิดในกรอบการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน และรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจารวมทั้งเอกสารสำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.8 ล้านบาท
การดำเนินงานด้านความร่วมมือด้านความมั่นคงในฐานะประธานอาเซียน 50,700 บาท การดำเนินงานความร่วมมือด้านความมั่นคงกรอบอาเซียน 5.26 ล้านบาท การดำเนินงานในกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านความมั่นคงกับต่างประเทศ 5.9 ล้านบาท การเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการทหารระหว่างประเทศ 21.16 ล้านบาท
4.แผนงานพื้นฐานด้านความมั่นคง 230.1 ล้านบาท ได้แก่ รายการงบประจำ 7.6 ล้านบาท โครงการจัดตั้งศาลทหาร 28.58 ล้านบาท โครงการก่อสร้างอาคารพักอาศัยพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกของ สป. (พื้นที่บางจาก) 94.8 ล้านบาท โครงการก่อสร้างอาคารพักอาศัยพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกของ สป. (พื้นที่ประชาชื่น) ระยะที่หนึ่ง 94.8 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 107,900 บาท การบริหารงานด้านพัฒนางบประมาณ 1.23 ล้านบาท การบริหารงานด้านพัฒนาระบบงานการกำลังพล 342,500 บาท การตรวจสอบภายในสัมพันธ์ กท. 295,200 บาท ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบบริหารราชการ 1.847 ล้านบาท การบริหารงานด้านพัฒนางานการเงินและการบัญชีของ กท. 470,000 บาท
(เอกสาร การโอนงบประมาณรายจ่าย ปี 2563 : กระทรวงกลาโหม)
กองทัพบก 9,017.999 ล้านบาท อาทิ 1.แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 73 ล้านบาท 2.แผนงานบูรณาการการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด คือ รายการงบประมาณ 50 ล้านบาท
3.แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศและความพร้อมเผชิญภัยคุกคามทุกมิติ 6,283 ล้านบาท 4.แผนงานยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหา ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง 250 ล้านบาท 5.แผนงานยุทธศาสตร์ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ วงเงิน 20 ล้านบาท 6. แผนงานพื้นฐานด้านความมั่นคง 2,341.785 ล้านบาท
กองทัพเรือ 4,130.105 ล้านบาท อาทิ 1.แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศและความพร้อมเผชิญภัยคุกคามทุกมิติ 3,814.445 ล้านบาท 2.แผนงานยุทธศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 57.5 ล้านบาท 3.แผนงานพื้นฐานด้านความมั่นคง 69.15 ล้านบาท 4.แผนงานบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 189 ล้านบาท
กองทัพอากาศ 3,301.508 ล้านบาท อาทิ 1.แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศและความพร้อมเผชิญภัยคุกคามทุกมิติ 3,094 ล้านบาท 2.แผนงานยุทธศาสตร์ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 19.950 ล้านบาท 3.แผนงานพื้นฐานด้านความมั่นคง 187.437 ล้านบาท
กองบัญชาการกองทัพไทย 1,205.896 ล้านบาท อาทิ 1.แผนงานบูรณาการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด 10 ล้านบาท 2.แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศและความพร้อมเผชิญภัยคุกคามทุกมิติ 1,112 ล้านบาท 3.แผนงานยุทธศาสตร์ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 9.4 ล้านบาท 4.แผนงานพื้นฐานด้านความมั่นคง 74.420 ล้านบาท
และสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ คือ แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศและความพร้อมเผชิญภัยคุกคามทุกมิติ 60 ล้านบาท
ข่าวที่เกี่ยวข้อง