ไม่พบผลการค้นหา
‘ปิยบุตร’ แจงปิดท้ายนำเสนอร่างแก้ไข รธน.ฉบับภาคประชาชน หยุดวงจรรัฐประหาร วอน ส.ส.-ส.ว.โหวตรับหลักการ ยกโมเดลต่างประเทศ เขียน รธน.หยุดยั้งยึดอำนาจ หวังให้ไทยมีอนุสรณ์เตือนหากอนาคตเกิดการรัฐประหาร ด้าน 'สุทิน' แนะรัฐสภาโหวตผ่านทั้ง 3 วาระ ให้ประชาชนตัดสินชี้ขาดผ่านประชามติ

เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2564 ที่รัฐสภา ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา พิจารณาเรื่องด่วน ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (ยกเลิกมาตรา 65 แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 7 มาตรา 159 วรรคแรก เพิ่มมาตรา 193/1 มาตรา  193/2 แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 11 หมวด 12 มาตรา 256 หมวด16 ยกเลิกมาตรา 269 มาตรา 270 มาตรา 271 มาตรา 272 และมาตรา 279) ฉบับ 'รื้อระบอบประยุทธ์' ที่นำโดยพริษฐ์ วัชรสินธุ ปิยบุตร แสงกนกกุล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในนามกลุุ่ม Re-Solution จำนวน 135,247 คนเป็นผู้เสนอ โดยได้อภิปรายตั้งแต่เวลา 09.00 น. จนดำเนินถึงช่วงท้ายของการอภิปรายข้ามวันมาจนถึงเวลา 01.00 น. วันที่ 17 พ.ย. 2564 

'สุทิน'แนะรัฐสภาโหวตผ่าน 3 วาระให้ประชาชนชี้ขาดผ่านประชามติ

โดย สุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย และประธานวิปฝ่ายค้าน อภิปรายปิดท้ายว่า ถ้าปิดโอกาสวันนี้ ปิดโอกาสให้ร่างรัฐธรรมนูญนี้ตกไปตั้งแต่วาระแรก ปิดโอกาสคน 16 ล้านเสียงที่ลงประชามติ องค์สถาปนารัฐธรรมนูญคือประชาชน ใจตน รัฐสภาจะผ่านให้ในวาระแรก และผ่านวาระที่สาม แล้วไปตัดสินที่องค์สถาปนารัฐธรรมนูญ เหตุผลที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เพื่อตอกย้ำแสดงจุดยืนเราพูดตลอดว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ดีมีข้อบกพร่องต้องแก้ไข โดยยืนยันว่ารัฐธรรมนูญที่ดี ประชาชนต้องยอมรับ ประชาชนเขียนยอมรับที่่สุด

สุทิน ระบุว่า "ประเทศไทยควรมีกี่สภา แล้วทำไมต้องมี หนึ่งสภา ผมนั่งฟังแต่ไหนแต่ไรก็มีสอง ต้นสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองมีหนึ่งสภา หลังๆมีสองสภา ตอนแรกจะมีสภาเดียวก็ไม่เห็นด้วย แต่ดูที่ไปที่มาก็มีเหตุผล ในโลกนี้ ไม่มีอะไรยึดติด แรกเริ่มเรียกสภาสูง สภาต่ำ ประชาชนคนไทยยังขาดความรู้ประสบการณ์ เลือกส.ส.มาอาจขาดความรู้ จำเป็นต้องมีสภาสูง มีวัยวุฒิในยุคนั้น พอยุคหลังๆ วันนี้เช็ควัยวุฒิว่า ส.ส.และ ส.ว. เช็ควุฒิการศึกษาก่อนแล้วเช็ควุฒิภาวะ อีกทั้ง ส.ว.ทั่วโลกตรวจสอบ กรองกฎหมาย ถ่วงดุลรัฐบาล แต่เอาเข้าจริงเป็นอย่างนั้นหรือไม่ ถ้าไม่ได้ทำหน้าที่นี้ก็ชอบที่จะยุบเสีย"

ทำนายอนาคตอาจไร้ระบบสภา ให้ประชาชนกดโหวตทางบ้านผ่านกฎหมาย

“อย่าว่าเหลือแต่สภาเดียว ในอนาคตอาจไม่มีสักสภา โลกเปลี่ยนเร็ว ระบบโซเชียลขนาดนี้ แสดงมติกดผ่านในจอ ในอนาคตอาจเป็นประชาธิปไตยทางตรง 100% ก็ได้ จะโหวตกฎหมายแต่ละฉบับ อาจกดกันทั้งบ้าน รัฐธรรมนูญผ่านไม่ผ่าน ประชาชนทางบ้านกดเลย อนาคตอาจมีคนออกแบบระบบอาจไม่มีสภาฯ วันหนึ่งอาจไม่มีสภาฯ แล้ว ไม่ต้องกินเงินเดือน อย่าไปติดยึด วันหนึ่งบอกว่าไม่มีสภาฯแล้ว ชาวบ้านกดบัตรโดยตรงจากบ้าน เราต้องยอมรับ นี่คือเหตุผลสภาเดียว หรือไม่มีสภาเลยก็เป็นไปได้ทั้งน้ัน” สุทิน ย้ำ

สุทิน อภิปรายว่า ประเด็นเดียวที่ชอบธรรมจะรับด้วยความเคารพ 16 ล้านเสียง และอาณัติสัญญารับประชาชนมาจากการเลือกตั้ง จึงขอบคุณคนเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้เข้ามา จึงต้องรับหลักการนี้เพื่อส่งต่อไปยังวาระที่ 2 -3 จึงหมายปลายทางอยากให้ไปถึงประชาชน 65 ล้านชีวิต เคารพประชาชน นับถือประชาชน คนที่มาจากประชาชนก็พูดเคารพประชาชน คนไม่่ได้มาากประชาชนก็เคารพ ถ้าไม่เคารพประชาชน กฎหมายทุกฉบับก็ตกไปวาระแรก ถ้าขอสักฉบับ ร่างรัฐธรรมนูญผ่านเข้าไป คุยกันแบบน้ำใจ ถ้าให้โอกาสผ่านเข้าไปพิจารณาในวาระที่ 2 ถ้าไม่ดีจริงๆ วาระที่ 3 ก็จะให้ตกก็ตก กับเราปิดโอกาสตั้งแต่วาระแรก เราเคารพน้ำใจเขาจริงไหม ถ้าผ่านไปถึงวาระที่ 3 เสียหายอะไร และให้ประชาชน 65 ล้านคนลงประชามติ

ไอติม พริษฐ์ ปิยบุตร ประชุุมรัฐสภา รัฐสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ 4DA-93AF-E577EC95B5C1.jpegปิยบุตร แสงกนกกุล

'ปิยบุตร' แจงปิดท้ายย้ำยกร่าง รธน.ใหม่หยุดยั้ง รปห.

เวลา 01.20 วันที่ 17 พ.ย. 2564 ที่รัฐสภา ปิยบุตร แสงกนกกุล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ในฐานะผู้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ อภิปรายในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา พิจารณาเรื่องด่วน ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ที่เสนอให้หยุดยั้งการสืบทอดอำนาจรัฐประหาร โดยสรุปปิดท้ายว่า ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่รัฐสภา อดตาตาหลับตานอนจนข้ามวัน กระบวนการในวันนี้คือการสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตนถูกกล่าวหาพวกเรารณรงค์ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญถูกกล่าวหาสารพัดอย่าง บางท่านกล่าวตรงๆ และอ้อมๆ ถอนคำพูดเป็นครั้งคราวไป ส่วนตัวยึดถือคติ เมื่อเราเป็นบุคคลสาธารณะ ถูกตำหนิด่าทอได้เสมอ หากใครต้องการให้ใครเคคารพเราเราจำเป็นต้องให้มีคนวิพากษ์จิวจราณ์ ไม่เคยคิดฟ้องหมิ่นประมาทใคร เพราะเข้าเหตุทั้งสิ้น เพราะการฟ้องหมิ่นประมาทคือการปิดปาก

ปิยบุตร ระบุว่า หากมีสมาชิกท่านใดคิดว่าร่างนี้สุดโต่ง ท่านใส่แว่นสุดโต่ง มองร่างนี้ปกติ ท่านจึงมองว่าสุดโต่งอีกทางหนึ่ง ร่างนี้มุ่งแก้ไข 4 ประเด็นหลัก ท่านอาาจไม่พอใจ รื้อ โละ ร่าง แต่เป็นเพียงคำที่ใช้ในการรณรงค์ ที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ หากดูตัวร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นไปตามคำที่รณรงค์ เราให้มีสภาเดียว เพราะระบบรัฐสภาไม่จำเป็นต้องมีสองสภาก็ได้ ทั่วโลกประเทศมีสองสภามีเหตุผล คือ เหตุผลประวัติศาสตร์ คือ อังกฤษ ส่วนประเทศสหพันธรัฐ ก็จะมีสองสภา พบในเยอรมนีและสหรัฐอเมริกา ถ้าส.ว.จะมีอำนาจมากก็ต้องมาจากการเลือกตั้ง ถ้าอำนาจน้อยต้องมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม

วุฒิสภาตั้งแต่ 2489 วุฒิสภาหลายครั้งตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2490 ปี 2511 ปี 2517 ปี 2521 ปี 2534 ปี 2550 และ ปี 2560 ถูกออกแบบมาเพื่อสืบทอดอำนานของการยึดอำนาจ มีข้อเสนอให้ยกเลิกวุฒิสภาได้แล้ว ข้อเสนอนี้จะถูกประเมินความเหมาะสมว่าประเทศไทยเหมาะสมจะมีสภาเดี่ยวหรือยัง

การปฏิรูปศาลและองค์กรอิสระ ไม่ใช่การแทรกแซงแต่ต้องการตรวจสอบถ่วงดุลตั้งแต่ปี 2540 ปี 2550 ถ้าผ่านจะมีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย ส่วนการลบล้างผลพวงรัฐประหารนั้น ไม่ได้ยกเลิกประกาศคำสั่ง คสช.ทุกฉบับ เราไม่ได้บอกสิ่งใดๆ ทำมาเสียไปหมด ยกเลิก มาตรา 279 เพียงแต่ให้ยกความคุ้มครองตรงนี้ออกไป ประกาศ คำสั่ง สนช. รวมทั้ง พ.ร.บ.ที่ สนช.ตรามายังอยู่ เพียงแต่บุคคลโต้แย้งได้ว่าสิ่งเหล่านี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ 

ยกโมเดลต่างประเทศ เขียน รธน.หยุดยั้งยึดอำนาจ หวังให้ไทยมีอนุสรณ์เตือน

ปิยบุตร ระบุว่า ประเทศอื่นหยุดรัฐประหารได้ คือ เยอรมนี ฝรั่งเศส ตุรกี กรีซ ประเทศเหล่านี้มีเผด็จการมาเยือนแต่หยุดได้ด้วยวิธีอย่างนี้ ยกร่างรัฐธรรมนูญเพราะไม่อยากเห็นรัฐประหาร ถ้าคนทำรัฐประหารถูกดำเนินคดีก็จะไม่มีใครกล้ารัฐประหารอีกเลย

บทบัญญัติต่างๆ บอกเขียนไปทำไมฉีกฉีกรัฐธรรมนูญเสร็จก็จบ แต่นี่คือเชื้อมูลอยู่ในรัฐธรรมนูญในประเทศไทยมาแล้ว มีตัวบทที่เคยปักในรัฐธรรมนูญ ในวันหน้าหากเกิดเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นก็องค์กรตีความจะใช้บทบัญญัติเหล่านี้ เพื่อหยุดยั้งรัฐประหารก็ได้ เป็นเครื่องมือให้ห้องค์กรผู้ใช้กฎหมายใช้ยันกับรัฐประหาร โดยหากประเทศไม่มีรัฐประหาร ก็เป็นบทบัญญัติอนุสรณ์ว่าประเทศมีรัฐประหารบ่อยครั้งแล้วหยุดมันได้แล้ว เหมือนกรีซที่ไม่มีรัฐประหารเกิดขึ้นแล้วเป็นอนุสรณ์ที่อยู่ในรัฐธรรมนูญ

ปิยบุตร รัฐสภา สภา ประชุมรัฐสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ  8-A6D0-4928BB53971A.jpeg

ปิยบุตร ระบุว่า ข้อเสนอต่างๆ จะต้องประนีประนอมจะต้องพูดคุยกัน ร่างนี้คือความพยายามของการประนีประนอม จะนำสิ่งที่อยู่ข้างนอกรัฐสภา เสียงเรียกร้องนอกรัฐสภา มาคุยกันในรัฐสภา แต่เมื่อเอาเข้ามาก็ได้รับคำถามประชาชนกี่คน ไปถามประชาชนหรือยัง สุจริตหรือไม่ ล้มล้างการปกครองหรือไม่ สุดโต่งมากไป ตลอดการประชุมวันนี้หลายท่านกังวลว่าฝ่ายนิติบัญญัติสภาผู้แทนราษฎรจะเข้าไปแทรกแซง องค์กรอื่นๆ แต่เราไม่กังวลใจเลยว่าศาล องค์กรอิสระก็มีโอกาสแทรกแซงองค์กรอื่นได้

ปิยบุตร ระบุว่า ตลอดการประชุมวันนี้มีสิ่งหนึ่งข้อกังวลใจของเพื่อนสมาชิกจนนำมาสู่การลงมติไม่รับหลักการ กังวลว่าร่างรัฐธรรมนญูจะนำไปสู่การล้มล้างการปกครอง นี่คือความกังวลใจ คำว่าล้มล้างคืออะไร ศาลรัฐธรรมนูญแปลความ กระทำเจตนา ให้สิ่งหนึ่งสูญสิ้นไป ไม่ดำรงอีกต่อไป ร่างนี้ไม่ได้ล้มล้าง ประเทศนี้ปกครองประบอบประชาธิปไตย มีอำนาจนิติบัญญัติสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี ตุลาการที่ตัดสินโดยศาลในพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขต่อ นายกฯ รับผิดชอบบริหารราชการแผ่นดินต่อไป 

"ถ้าหากเราขี้แพ้ชวนตี พี่น้องไม่เห็นดีเห็นงามเขาก็ต่อสู้ในระบบนี้พี่น้องเข้าชื่อ คำถามที่ได้ยินได้ฟัง เราเข้าชื่อเท่าไรไม่ผ่านหรอก แต่เขายืนยันก็จะเข้า เพราะเป็นเพียงเศษเสี้ยวที่ประชาชเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุด ประชาธิปไตย ได้ใช้อำนาจสูงสุดบ้าง ไม่นั้นจะรอเลือกตั้งอย่างเดียว แม้หลายท่านจะรู้ว่าอนาคตร่างนี้ไม่ผ่าน แต่เขาก็พยายามใช้ ความพยายามนี้หรอครับคือการล้มล้างการปกครอง ท่านอาจจะกล่าวหาผมร่างด้วยอคติ ยืนยันว่าไม่ใช่ อยากให้พิจารณาร่างนี้อย่าอคติ ท่านไม่ชอบหน้าผมไม่เป็นไร ท่านดูภาวะวิสัย ดูตัวบทรัฐธรรมนูญ อย่ามองดูหน้าผม ต้องดูจากระบบ"

ปัดร่าง รธน.ล้มล้างปกครอง ขอ ส.ส.-ส.ว.ลงมติรับหลักการวาระที่ 1

ปิยบุตร อภิปรายตอนท้ายว่า ความพยายามความคิดความอ่านพวกเรา เยาวชนรุ่นใหม่ที่กำลังรณรงค์ พวกเราพวกเขาไม่ได้ล้มล้าง พวกเราอยากทำอย่างไรให้ประเทศไทยดีขึ้น ในความคิดเห็นที่แตกต่างได้ อย่ากลัวเราจนเกินไป ความคิดแบบพวกเราจะรักษาประชาธิปไตย รักษาสถาบันพระมหกษัตริย์นี้ได้ ขอสนับในุนจากเพื่อนสมาชิก ส.ว. ร่วมลงมติรับหลักการวาระที่1 เปิดประตูความหวัง การปฏิรูป เปิดประตูสร้างความปลอดภัยแก้ไขปัญหาร่วมกัน เปิดประตูแสวงหาฉันทามติ

เวลา 01.40 น. พรเพชร วิชิตชลชัย รองประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุมแจ้งต่อที่ประชุมนัดหมายสมาชิกร่วมลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ ในวันที่ 17 พ.ย. เวลา 10.00 น. และสั่งปิดการประชุมทันที

พรเพชร ประธานวุฒิสภา ประชุุมรัฐสภา รัฐสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ 5-9942-F58CFCA113B5.jpeg

ข่าวที่เกี่ยวข้อง