ไม่พบผลการค้นหา
ย้อนรำลึกพระประวัติ 'เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ' 7 ทศวรรษบุรุษผู้เสียสละ เคียงคู่ราชบัลลังก์ 'เอลิซาเบธที่สอง'

บรรดาผู้นำประเทศรวมถึงประชาชนทั่วโลกต่างส่งความปรารณาดีถวายความไว้อาลัยต่อการจากไปของเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ พระสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ที่สิ้นพระชนม์อย่างสงบด้วยพระชนมายุ 99 พรรษา เมื่อวันที่ 9 เม.ษ. ที่ผ่านมา 

ตลอดของเส้นทางชีวิตของเจ้าชาย หลายคนคุ้นเคยพระองค์กับสถานะ "คู่อภิเษก" องค์ประมุขแห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งทรงเคียงข้างสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 มาเป็นเวลายาวนานกว่า 70 ปี แต่ทว่าเส้นทางชีวิตของพระองค์ต้องเผชิญกับความ "ผกผัน" หลายต่อหลายครั้ง บนเส้นทางชีวิตของหลายคนที่คุ้นเคยภาพของเจ้าชาย ในฐานะผู้เคียงข้างพระราชินีอังกฤษนั้น พระองค์ประสบเรื่องราวมากมายมาตลอด 99 พรรษา

เจ้าชายฟิลิป-อังกฤษ


เจ้าชายไร้บัลลังก์

เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ ประสูติเมื่อ 10 มิถุนายน 1921 หรือ พ.ศ. 2464 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระองค์ประสูติที่เกาคอร์ฟู ประเทศกรีซในปัจจุบัน พระองค์เป็นญาติใกล้ชิดกับพระราชวงศ์เดนมาร์ก เยอรมนี ทรงเป็นพระโอรสองค์เดียวของเจ้าชายแดนดรูว์แห่งกรีซ (ในสมัยที่กรีซยังเป็นราชอาณาจักรกรีซ) และเจ้าหญิงอลิซแห่งแบตเทนเบิร์ก (ตระกูลขุนนางเชื้อสายเยอรมัน) ทรงเป็นโอรสพระองค์เดียวของเจ้าชายแอนดรูว์แห่งกรีซ และเจ้าหญิงอลิซแห่งแบตเทนเบิร์ก แม้ตั้งแต่ประสูติจะทรงมีอิสริยยศชั้นเจ้าฟ้า "เจ้าชายฟิลิปแห่งกรีซและเดนมาร์ก" (His Royal Highness Prince Philip of Greece and Denmark) ทว่าช่วงที่พระองค์ยังเป็นทารก เกิดการปฏิวัติในกรีซ กษัตริย์คอนสแตนตินที่ 1 ถูกรัฐบาลทหารปฏิวัติโค่นล้มระบอบกษัตริย์ กดดันให้สละราชสมบัติ ประเทศเดินเข้าสู่รัฐเผด็จการทหาร ราชวงศ์กรีซต้องหลบลี้หนีภัยการเมืองออกจากประเทศ

พระบิดาของพระองค์คือ เจ้าชายแอนดรูว์ แห่งกรีซและเดนมาร์ก ถูกคุมขัง พระราชวงศ์องค์อื่นๆต้องลี้ภัยต่างแดน พี่สาวทั้ง 4 ของเจ้าชาย เสกสมรสกับเจ้าชายเชื้อสายเยอรมัน ย้ายไปอยู่เยอรมนีในห้วงเวลาที่นาซีปกครองประเทศ ส่วนพระมารดาคือ "เจ้าหญิงอลิซ แห่งแบทเทนเบิร์ก" ถูกส่งตัวเข้าโรงพยาบาลจิตเวช

เส้นทางอันผกผัน ทำให้ช่วงวัยเด็กของพระองค์ ต้องย้ายโรงเรียนศึกษาอยู่บ่อยครั้ง กระทั่งพระองค์ถูกส่งตัวไปยังสหราชอาณาจักร ภายใต้การดูแลของพระมาตุลา (ลุง) ของพระองค์คือ 'ลอร์ด หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน' ในฐานะผู้ปกครองที่คอยสั่งสอน และเป็นแรงบันดาลใจให้พระองค์เข้าเดินตามฝันเข้าศึกษาโรงเรียนนายเรือดาร์ทมัธ นับตั้งแต่ที่พระองค์ใช้ชีวิตที่สหราชอาณาจักรนี้เอง ซึ่งตรงกับห้วงที่นาซีเรืองอำนาจ พระองค์ทรงเปลี่ยนมาใช้นามสกุลเมานต์แบ็ตเทน แต่ยังคงไว้ซึ่งอิสริยศที่แสดงความเป็นเชื้อสายกรีซ-เดนมาร์ก

แม้จะประสูตที่กรีซ แต่พระองค์ไม่อาจพูดหรือใช้ภาษากรีกได้ ด้วยความที่ต้องลี้ภัยออกจากประเทศสมัยยังเป็นทารก ครั้งหนึ่งที่พระองค์ให้สัมภาษณ์เมื่อปี 1992 เคยเผยว่า ทรงเข้าใจภาษากรีกอยู่บ้าง คิดว่าตนเองเป็นคนเชื้อสายเดนมาร์กแต่ครอบครัวพระองค์พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมัน

เจ้าชายฟิลิป


ทหารเรือหนุ่มผู้เฉิดฉาย

ช่วงที่พระองค์กำลังศึกษาในวิทยาลัยราชนาวีดาร์ทมัธ ทำให้ "นักเรียนนายเรือ" หนุ่มวัย 18 ปี มีโอกาสรับเสด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 ที่เสด็จเยือนวิทยาลัยราชนาวี พร้อมกับพระราชธิดาองค์โตคือ 'เจ้าหญิงเอลิซาเบธ' ซึ่งขณะนั้นมีพระชนม์เพียง 13 ชันษา โดยเจ้าชายฟิลิป เป็นผู้นำเจ้าหญิงเอลิซาเบธทอดพระเนตรทั่ววิทยาลัย โมเมนต์นั้นนี้เอง นักประวัติศาสตร์ราชวงศ์หลายคนเชื่อว่าเป็น 'รักแรกพบ' ของพระองค์ที่มีต่อว่าที่ราชินีแห่งอังกฤษ

ในห้วงเวลาแห่งที่สงครามโลกครั้งที่สองใกล้ปะทุ เจ้าชายสำเร็จการศึกษาโรงเรียนราชนาวีดาร์ทมัธด้วยผลการเรียนดีเยี่ยมอันดับหนึ่งของรุ่นในปี 1940 ก่อนเข้าประจำการในกองทัพเรือสหราชอาณาจักร โดยออกปฏิบัติภาระกิจในฐานะทหารครั้งแรกในมหาสมุทธอินเดีย ก่อนย้ายไปประจำการในเรือเรือ HMS Valiant สังกัดกองเรือเมดิเตอร์เรเนียน ทั้งเคยร่วมรบกับกองทัพอิตาลีในสมรภูมิแหลมมาทาพัน (Cape Matapan) ทางตอนใต้ของกรีซเมื่อปี 1941 เจ้าชายได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นหนึ่งในผู้บังคับการเรือรบที่อายุน้อยที่สุดของราชนาวีอังกฤษ โดยประจำการในเรือพิฆาต HMS Wallace

ขณะที่สงครามโลกครั้งที่สองกำลังจะปะทุขึ้น เจ้าชายฟิลิปได้ตัดสินพระทัยที่จะดำเนินรอยตามพระญาติทางฝ่ายพระมารดาหลายพระองค์ในเส้นทางอาชีพทหารเรือ โดยทรงเข้าศึกษาที่วิทยาลัยราชนาวีบริแทนเนียในเมืองดาร์ตมัธ ซึ่งที่แห่งนี้เองได้ทำให้พระองค์ทรงมีโอกาสเฝ้ารับเสด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 รวมทั้งพระราชธิดาพระองค์โตคือเจ้าหญิงเอลิซาเบธในวัย 13 พรรษา โดยเจ้าชายฟิลิปทรงเป็นผู้นำเสด็จเจ้าหญิงเอลิซาเบธทอดพระเนตรทั่วบริเวณวิทยาลัย ซึ่งได้สร้างความประทับใจแก่เจ้าหญิงผู้ทรงเป็นรัชทายาทอย่างยิ่ง

เจ้าชายฟิลิปทรงสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยราชนาวีด้วยผลการเรียนดีเยี่ยมเป็นอันดับหนึ่งของรุ่นในปี 1940 จากนั้นได้เข้าประจำการในกองทัพเรืออังกฤษ โดยร่วมออกปฏิบัติการทางทหารครั้งแรกในมหาสมุทรอินเดีย ต่อจากนั้นทรงย้ายไปประจำการในเรือรบ HMS Valiant สังกัดกองเรือเมดิเตอร์เรเนียน และได้เข้าร่วมรบในสมรภูมิแหลมมาทาพัน (Cape Matapan) ทางตอนใต้ของกรีซเมื่อปี 1941 ด้วย ในปีต่อมาเจ้าชายฟิลิปทรงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองผู้บังคับการเรือรบที่มีอายุน้อยที่สุดคนหนึ่งแห่งราชนาวีอังกฤษ โดยประจำการในเรือพิฆาต HMS Wallace กระทั่งปี 1947 เจ้าชายมียศทางทหารเป็น เรือเอก เซอร์ฟิลิป เมานต์แบ็ตเทน

ช่วงเวลาที่เจ้าชายปฏิบัติภารกิจทางทหาร ความสัมพันธ์ระหว่างทหารเรือหนุ่ม กับเจ้าหญิงพระราชธิดาของกษัตริย์จอร์จที่ 6 ดำเนินไปผ่านการส่งจดหมายถึงระหว่างกัน เจ้าชายยังเคยได้รับเชิญเข้าร่วมงานเลี้ยงในราชสำนักหลายต่อหลายครั้ง นักประวัติศาสตร์ราชวงศ์เคยบันทึกความทรงจำไว้ว่า ครั้งหนึ่งที่เจ้าชายฟิลิป มาร่วมงานเลี้ยงที่พระราชวังบักกิงแอม 'เจ้าหญิงมาร์กเร็ต' น้องสาวเจ้าหญิงเอลิซาเบธ มักเย้าหยอกพี่สาวของพระองค์ว่า "ลิลิเบธเขินอายเพราะฟิลิปมาแล้ว" 

เจ้าชายฟิลิป-อังกฤษ


'อภิเษกสมรส' ที่ต้องเสียสละ

ด้วยความที่มีเลือดเนื้อเชื้อไขขุนนางเยอรมัน กลับสร้างความไม่สบายใจให้กับพระบรมวงศานุวงศ์ระดับสูงของอังกฤษบางพระองค์ เนื่องด้วยที่สายตระกูลฝั่งเยอรมันของพระองค์มีความเชื่อมโยงกับนาซีและฮิตเลอร์ ประกอบกับนิสัยของเจ้าชายที่โผงผางและไม่สงบเสงี่ยมเรียบร้อยนัก สองสิ่งนี้ทำให้เจ้าชายเกือบไม่ได้แต่งงานกับเจ้าหญิงเอลิซาเบธ จากสมาชิกราชวงศ์องค์อื่นเสนอหนุ่มเชื้อสายขุนนางคนอื่นๆ ให้แต่งกับเจ้าหญิงแทน

การหมั้นของทั้งสอง เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขที่ว่า เจ้าชายต้องสละทิ้งซึ่งอิสริยยศทั้งหมดที่เกี่ยวโยงกับราชวงศ์กรีซ และเดนมาร์ก รวมถึงนามสกุลเชื้อสายเยอรมัน "แบ็ตเทนเบิร์ก" (Battenberg) เป็นนามสกุลพระญาติฝั่งอังกฤษ "เมานต์แบ็ตเทน" (Mountbatten) (เบิร์ก ในภาษาเยอรมันแปลว่า ภูเขา) รวมถึงเงื่อนไขที่ว่าทั้งสองจะแต่งงงานได้เมื่อเจ้าหญิงเอลิซาเบธ มีอายุครบ 21 ชันษา ทั้งยังต้องเปลี่ยนศานาจากกรีก ออร์ทอดอกซ์ เป็นนิกายเชิร์ช ออฟ อิงแลนด์ พร้อมเปลี่ยนสัญชาติเป็นคนอังกฤษเต็มตัว

แต่ท้ายที่สุดพระเจ้าจอร์จที่ 6 ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ 'ร้อยเอก ฟีลิป เมาท์แบ็ตเทิร์น' อภิเสกสมรสกับ 'เจ้าหญิงเอลิซาเบธ' เมื่อ 20 พฤศจิกายน 1947 ที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ วินส์ตัน เชอร์ชิล อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษแห่งอังกฤษ เคยกล่าวไว้ว่า พิธีเสกสมรสของทั้งสองทำให้บรรยากาศอันหม่นหมองหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หายไปชั่วขณะ ผู้คนอังกฤษต่างยินดีกับงานพิธีเสกสมรสแห่งยุคในขณะนั้น 

เจ้าชายฟิลิป-อังกฤษ


"หมายเลขสอง" แบบ 'กระทันหัน'

หลังอภิเษกสมรสได้ 4 ปี ช่วงปี 1950 ทั้งสองให้กำเนิดทายาทคือ เจ้าชายชาร์ลส์ กับเจ้าหญิงแอนน์ (ยศในขณะนั้น) เจ้าชายฟีลิป ซึ่งยังคงโลดแล่นในเส้นทางราชนาวี จนถึงระดับผู้บังคับการเรือ HMS Magpie ทว่าเจ้าชายต้องสิ้นสุดชีวิตลูกนาวี เนื่องจากพระพลานามัยของพระเจ้าจอร์จที่ 6 กำลังย่ำแย่ เจ้าหญิงเอลิซาเบธต้องเข้ามาปฏิบัติราชกิจต่างๆ แทน 

ปี 1952 ระหว่างที่ทั้งสองเสด็จปฏิบัติพระกรณียกิจแทนพระเจ้าจอร์จ ในการเสด็จเยือนประเทศเครือจักรภพ โดยระหว่างเสด็จประเทศเคนยานั้น พระเจ้าจอร์จที่ 6 สวรรคตแบบกระทันหัน เจ้าชายฟิลิปในฐานะพระสวามีจำเป็นต้องประทับอยู่เคียงข้างองค์เจ้าหญิงรัชทายาทมากกว่าช่วงเวลาใด ๆ ทั้งยังทรงเป็นผู้แจ้งข่าวร้ายต่อเจ้าหญิงเอลิซาเบธด้วยพระองค์เอง

'คู่รักเมานต์แบ็ตเทน' เดินทางออกจากสหราชอาณาจักรในฐานะเจ้าหญิงและดยุก แต่ทั้งสองเสด็จกลับประเทศในฐานะ "สมเด็จพระราชินี" และ ดยุกคู่อภิเษกพระราชินีอังกฤษแบบกระทันหันไม่ได้ตั้งตัว และด้วยสถานะนี้เองเจ้าชายจึงต้องเสด็จพระดำเนินตามหลังสมเด็จพระราชินีในทุกครั้งที่เสด็จออกงานสาธารณะนับตั้งแต่นั้นมาตามธรรมเนียมของราชวงศ์

นักวิจารณ์ราชวงศ์มองว่า ที่ผ่านมาพระองค์เปรียบเสมือน "หมายเลขสอง" ไม่ว่าจะในสถานะของสถาบันกษัตริย์อังกฤษ หรือสถานะในครอบครัวของพระองค์เอง ครั้งหนึ่งหลังการเสด็จขึ้นครองราชย์


"เจ้าชายแห่งอังกฤษ"

ไม่ต่างครอบครัวทั่วไปที่บางครั้งคู่สามีภรรยามีเรื่องราวระหองระแหง หากใครที่เคยชมซีรีส์เรื่องเดอะ คราวน์ (The Crown) จะพบว่า มีบางช่วงที่พระองค์ตกอยูในกระแสข่าวปัญหาด้านชีวิตส่วนพระองค์ระหว่างสมเด็จพระราชินี ด้วยอุปนิสัยที่โผงผางตรงไปตรงมา ทำให้ทรงถูกวิจารณ์หลายครั้ง ครั้งที่สร้างแรงกระเพื่อมไปทั้งราชสำนักคือ ช่วงปี 1956 - 1957 ระหว่างที่เจ้าชายเป็นผู้แทนพระองค์ฯ เยือนกลุ่มประเทศเครือจักรภพ โดยมีนาวาตรี ไมก์ ปาร์เกอร์ เป็นเลขานุการส่วนพระองค์ ทั้งยังเป็นพระสหายคนสนิท ท่ามกลางกระแสข่าวที่นาวาตรี ปาร์กเกอร์ กำลังถูกฟ้องหย่าด้วยเหตุผลมีชู้ จึงสร้างความกระทบกระเทือนต่อเจ้าชายฟิลิป เนื่องความสนิทของทั้งสอง แม้ท้ายที่สุดนาวาตรีปาร์กเกอร์ถูกปลดออกจากตำแหน่งเลขานุการส่วนพระองค์ แต่กระแสข่าวความระหองระแหงระหว่างเจ้าชายกับพระราชินีก็ไม่ได้ลดน้อยลง สื่อในอังกฤษยังคงโหมกระพือข่าวนี้อย่างต่อเนื่องโดยหลายแห่งรายงานอ้างแหล่งข่าวภายในราชสำนัก

22 กุมภาพันธ์ 1957 สมเด็จพระราชินี ได้พระราชทานอิสริยศแก่เจ้าชายฟีลิปในบรรดาศักดิ์ขั้นสูงสุดเป็น "เจ้าชายแห่งสหราชอาณาจักร" (Prince of the United Kingdom) โดยมีพระนามพร้อมอิสริยศเต็มว่า "His Royal Highness The Prince Philip, Duke of Edinburgh" หรือ เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ มีศักดิ์และสิทธิ์เป็นรองเพียงสมเด็จพระราชีนี จากเดิมก่อนหน้านี้ที่พระองค์ไม่ต่างจาก "หมายเลขสาม" ที่ยังมีลำดับชั้นยศต่ำกว่า 'เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์' พระโอรสของพระองค์เองเสียอีก

AFP - เจ้าชายฟิลิป รางวงศ์อังกฤษ


70 ปี "ปรินซ์ คอนสอร์ท" 

 นับตั้งแต่สิ้นพระเจ้าจอร์จที่ 6 พระราชบิดาสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่สอง 'เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ' ในฐานะปรินซ์ คอนสอร์ท (Prince Consort) หรือ คู่อภิเสกขององค์ประมุขแห่งสหราชอาณาจักร ตลอดเวลากว่า 70 ปี ในสถานะนี้ ไม่ว่าสมเด็จพระราชินีจะเสด็จเยือนประเทศใด พระองค์จะทรงเสด็จเดินตามหลังพระราชินีคู่ทุกย์คู่ยากอยู่เสมอ ทั้งทรงอยู่เคียงข้างราชบัลลังก์อังกฤษเสมอ ดั่งเช่นที่เจ้าชายเคยกล่าวคำปฏิญาณในพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระราชินีในตอนหนึ่งว่า "ข้าพเจ้า, ฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ จะเป็นผู้ที่ใช้ชีวิตดั่งแขนขาของสมเด็จพระราชินี ผู้เป็นที่เครพทั้งทางโลก และความศรัทธา ข้าพเจ้าจะแบกรับพระราชินีไม่ว่าจะมีชีวิตหรือตาย" 

พระราชดำรัสของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่สอง เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองการอภิเษกสมรสครบรอบ 50 ปี (Golden Wedding Anniversary) ทรงตรัสถึงพระสวามีซึ่งสนับสนุนพระองค์ตลอดมา ในตอนหนึ่งว่า "ฟิลิป ท่านเป็นผู้ที่ไม่ยอมรับคำชมง่ายๆ แต่แท้จริงแล้วท่านเป็นพลังที่ทำให้ข้าพเจ้ายืนหยัดได้ทุกวันนี้ ข้าพเจ้าและสมาชิกครอบครัวของท่าน รวมถึงประเทศนี้และประเทศอื่นๆ ต่างเป็นหนี้ของท่านอย่างมากเกินกว่าที่คำพูดใดจะเทียบได้" 

กว่า 7 ทศวรรษที่ทรงทำหน้าที่ "หมายเลขสอง" กระทั่ง สิงหาคม 2017 เจ้าชายตัดสินพระทัย 'เกษียณ' พระองค์ออกจากราชกรณียกิจต่างๆ โดยตลอดเวลา 70 ปี ทรงเสด็จเยือนประเทศต่างทั่วโลกแล้วไม่น้อยกว่า 143 ชาติ ปฏิบัติพระกรณียกิจมากกว่า 22,219 งาน ตามข้อมูลของสำนักพระราชวังบักกิงแฮมระบุว่า "ดยุคแห่งเอดินบะระ" ทรงเป็นสมาชิกพระราชวงศ์ปฏิบัติพระกรณียกิจมากที่สุดถึงปีละ 300 งาน เป็นประธานอุปถัมภ์องค์กรต่างๆกว่า 800 แห่ง ทั้งยังถือเป็นคู่อภิเสกที่เคียงข้างองค์ประมุขยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ราชวงศ์ นับจากนี้สมเด็จพระราชินีจะทรงดำรงพระชนม์ชีพโดยปราศจากพระสวามีข้างกาย

ที่มา: ABC , BBC , TheGuardian , RoyalUK