ไม่พบผลการค้นหา
ปภ. เผยยังมีพื้นที่ประสบอุทกภัยจากอิทธิพลพายุโพดุลและคาจิกิเหลืออีก 4 จังหวัด 'ยโสธร อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ' แจ้งสถิติตั้งแต่ 29 ส.ค.-20 ก.ย. มีประชาชนทั่วประเทศได้รับผลกระทบ 418,549 ครัวเรือน เสียชีวิต 34 ราย

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า อิทธิพลพายุโซนร้อน "โพดุล" และพายุโซนร้อน "คาจิกิ" ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง ตั้งแต่วันที่ 29 ส.ค. 2562 จนถึงปัจจุบัน (20 ก.ย.) ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินสไลด์ รวม 32 จังหวัด ได้แก่ ภาคเหนือ 6 จังหวัด ได้แก่ แพร่ เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน น่าน และอุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 จังหวัด ได้แก่ อำนาจเจริญ นครพนม ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี มหาสารคาม ขอนแก่น หนองบัวลำภู ยโสธร กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ สุรินทร์ มุกดาหาร ศรีสะเกษ เลย อุดรธานี และสกลนคร 

ส่วนภาคกลาง 4 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก พิจิตร และสุโขทัย ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี สระแก้ว และตราด ภาคใต้ 3 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร กระบี่ และระนอง รวม 182 อำเภอ 969 ตำบล 7,115 หมู่บ้าน 5 เขตเทศบาล 11 ชุมชน

ประชาชนได้รับผลกระทบ 418,549 ครัวเรือน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 3,818 หลัง ผู้เสียชีวิต 34 ราย (ยโสธร 9 ราย ร้อยเอ็ด 6 ราย อำนาจเจริญ 5 ราย ขอนแก่น 3 ราย อุบลราชธานี 3 พิจิตร 2 ราย ราย ศรีสะเกษ 2 ราย พิษณุโลก 1 ราย มุกดาหาร 1 ราย สกลนคร 1 ราย น่าน 1 ราย) ผู้บาดเจ็บ 1 คน (ชัยภูมิ) 

นอกจากนี้ ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ ยโสธร อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด และศรีสะเกษ อพยพประชาชน 19,995 คน ในพื้นที่ 2 จังหวัด รวม 49 จุด ได้แก่ อุบลราชธานี 46 จุด รวม 19,833 คน ศรีสะเกษ อพยพประชาชน 3 จุด รวม 162 คน 

ทั้งนี้ ปภ.ได้ร่วมกับจังหวัด หน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดมเจ้าหน้าที่ วัสดุอุปกรณ์ ยานพาหนะ และเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยและคลี่คลายสถานการณ์ภัย โดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำ รถบรรทุกเครื่องส่งสูบน้ำระยะไกลเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง รวมถึงแจกจ่ายอาหารปรุงสุกน้ำดื่มและถุงยังชีพ ตามวงรอบ อีกทั้งดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ประภัยในศูนย์พักพิงชั่วคราว อำนวยความสะดวกในการขนย้ายสิ่งของและการเดินทางในพื้นน้ำท่วมขัง และให้บริการด้านสาธารณสุขครอบคลุมการดูแลสุขภาพและสภาพจิตใจ 

สำหรับจังหวัดที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว ให้เร่งสำรวจ ประเมินความต้องการการช่วยเหลือของผู้ประสบ พร้อมจัดทำบัญชีความเสียหายให้ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งการประกอบอาชีพ ชีวิตความเป็นอยู่ ที่อยู่อาศัย พื้นที่การเกษตร ปศุสัตว์ สาธารณูปโภค เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ โดยเฉพาะด้านที่อยู่อาศัย แยกเป็น เสียหายทั้งหลัง และเสียหายบางส่วน เพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ตลอดจนซ่อมแซมและฟื้นฟูสิ่งสาธารณประโยชน์ให้สามารถใช้งานได้ตามปกติโดยเ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :