ไม่พบผลการค้นหา
นักวิทยาศาสตร์ตรวจจับสัญญาณวิทยุที่มาไกลถึง 1.5 พันล้านปีแสงได้

นักดาราศาสตร์ออกมาเปิดเผยว่ามีการจับสัญญาณวิทยุลึกลับจากกาแล็กซีที่ห่างไกลได้โดยกล้องโทรทรรศน์ในประเทศแคนาดา โดยแหล่งที่มาชัดเจนของคลื่นวิทยุนี้ยังไม่สามารถระบุได้ 

ท่ามกลางคลื่นวิทยุความเข้มข้นสูง (Fast Radio Burst: FRB) ทั้ง 13 ครั้งที่ส่งมายังโลก มีคลื่นผิดปกติที่ส่งมาซ้ำจากที่เดียวกันซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 1.5 พันล้านปีแสง

เอฟอาร์บี มีลักษณะเป็นคลื่นสั้นและมีความเข้มข้นสูง ซึ่งดูเหมือนว่าจะมาจากอีกฟากหนึ่งของจักรวาล ปัจจุบันนี้ นักวิทยาศาสตร์สามารถตรวจจับคลื่นวิทยุได้ประมาณ 60 คลื่นและมี 2 คลื่นที่ซ้ำกัน นักวิทยาศาตร์เชื่อว่าคลื่นวิทยุเอฟอาร์บีเหล่านี้ น่าจะมีมากกว่าหนึ่งพันคลื่นต่อวันบนท้องฟ้า

"การรับรู้ว่ามันมีอยู่ชวนให้คิดว่ามันอาจจะมีมากกว่านี้" อิงกริด แสตร นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย กล่าว

อิงกริดกล่าวเสริมว่า เนื่องด้วยมีการส่งสัญญาณซ้ำและแหล่งที่มาเพื่อการศึกษา เราอาจะสามารถเข้าใจปริศนาคลื่นวิทยุคอสมิก เพื่อรู้ว่าสัญญานวิทยุเหล่านั้นมาจากไหนและเพื่ออะไร

หอสังเกตุการณ์ชิม (CHIME: Canadian Hydrogen Intensity Mapping Experiment) ที่ตั้งอยู่ในโอกานากัน วัลเลย์ รัฐบริติชโคลัมเบีย ประกอบไปด้วยเสาอากาศครึ่งทรงกระบอกความสูง 100 เมตร 4 ต้น เพื่อสำรวจท้องฟ้าตอนเหนือในแต่ละวัน

กล้องโทรทัศน์ได้รับการติดตั้งเมื่อช่วงปีที่แล้ว และสามารถตรวจจับคลื่นวิทยุได้ทั้งหมด 13 ครั้งในแทบจะทันทีหลังมีการติดตั้ง มีหลายทฤษฎีเกี่ยวกับที่มาของคลื่นวิทยุเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น การที่ดาวนิวตรอนเกิดการหมุนอย่างรุนแรง การรวมตัวกันของดาวนิวตรอน 2 ดวง และสัญญาณบางอย่างจากยานอวกาศของเอเลี่ยน

อ้างอิง; BBC, CNN