สตีเฟน มนูชิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้เปิดเผยรายงานว่าด้วยประเทศที่บิดเบือนค่าเงิน โดยกระทรวงคลังสหรัฐฯ ได้ขึ้นบัญชีค่า "เงินดง" ของเวียดนาม และ "เงินฟรังก์สวิส" ของสวิตเซอร์แลนด์ อยู่ในโผประเทศ 'ปั่นค่าเงิน' เพื่อหวังผลประโยชน์ทางการค้า และเพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
คลังสหรัฐฯ ให้เหตุผลว่า ตั้งแต่เดือน ม.ค.-มิ.ย. เวียดนามและสวิตเซอร์แลนด์ได้เข้าแทรกแซงตลาดเงินตราเพื่อป้องกันการปรับเปลี่ยนในดุลการค้า โดยเฉพาะเวียดนามยังได้พยายามแทรกแซงทางการค้า เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมในการค้าระหว่างประเทศเช่นกัน
ขณะเดียวกัน คลังสหรัฐฯ ยังได้ขึ้นบัญชีเงินสกุลบาทไทย, ดอลลาร์ไต้หวัน, และรูปีของอินเดีย อยู่ในบัญชีกลุ่มประเทศที่ต้องถูกจับตา (Monitoring List) เนื่องจากต้องสงสัยว่าอาจมีการใช้มาตรการลดค่าเงินเมื่อเทียบกับสกุลดอลลาร์ เป็นสามประเทศล่าสุดที่ถูกจัดให้อยู่ในลิสต์ดังกล่าวอย่างเป็นทางการ ร่วมกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ มาเลเซีย เยอรมนี และอิตาลี ซึ่งติดบัญชีประเทศต้องจับตามองในก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตว่า ช่วง ม.ค. ปี 2562 เงินหยวนของจีนถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศ 'บิดเบือนค่าเงิน' แต่ภายหลังทั้งจีนและสหรัฐฯ หารือคลี่คลายข้อขัดแย้งทางการค้ารวมถึงลงนามข้อตกลงการค้าในเฟสแรก จีนถูกลดระดับให้มาอยู่ในกลุ่มประเทศที่ 'ต้องจับตา' แทน
สำหรับเวียดนาม และสวิตเซอร์แลนด์ อาจได้รับผลที่ตามมาสำหรับการถูกจัดอยู่ในโผประเทศปั่นค่าเงินคือ หากไม่อาจหาข้อตกลงในการเจรจากับสหรัฐฯ ในปีหน้าได้ สหรัฐฯ อาจประกาศมาตรการลงโทษทางการค้าต่อทั้งเวียดนามและสวิตเซอร์แลนด์
หลังสหรัฐฯ เผยรายชื่อดังกล่าว ด้านธนาคารกลางสวิตเซอร์แลน (SNB) ออกแถลงการณ์ตอบโต้คลังสหรัฐฯ ว่า สวิตเซอร์แลนด์ไม่มีนโยบายบิดเบือนค่าเงินฟรังก์ แม้จะเคยเกิดบางกรณีที่ SNB ต้องใช้นโยบายแทรกแวงตลาดการเงิน แต่เป็นไปภายใต้มาตรการรักษาเสถียรภาพให้กับเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ได้ประสงค์เพื่อทำลายสมดุลของตลาดเงินตราต่างประเทศ หรือสร้างความได้เปรียบทางการค้าแต่อย่างใด
ทั้งนี้ คลังสหรัฐฯ ใช้เกณฑ์ตัดสินว่าสกุลเงินใดเข้าข่ายถูกระบุว่า "บิดเบือนค่าเงิน" ในสามประการ คือ
โดยเงินบาทไทยอยู่ในกลุ่มที่ต้องจับตา เนื่องจากมีลักษณะเข้าองค์ประกอบบางประการแต่ไม่ครบทั้งสามข้อ