ไม่พบผลการค้นหา
รายงานฉบับใหม่ที่เผยแพร่โดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เตือนว่า วิกฤตค่าครองชีพทั่วโลกกำลังผลักให้ประชากร 71 ล้านคน ในประเทศยากจนที่สุดในโลกเข้าสู่ภาวะยากจนขั้นรุนแรง

อาคิม สไตเนอร์ ผู้อำนวยการ UNDP กล่าวว่า จากผลการวิเคราะห์ประเทศกำลังพัฒนา 159 ประเทศ มีการพบว่า ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ที่จำเป็นซึ่งปรับตัวพุ่งสูงขึ้นในปีนี้ ส่งกระทบต่อพื้นที่ซาฮาราในแอฟริกาใต้ คาบสมุทรบอลข่าน เอเชีย ฯลฯ ซึ่ง UNDP เรียกร้องให้มีการดำเนินการที่เหมาะสมผ่านการมอบเงินให้เปล่าโดยตรงแก่กลุ่มประเทศเปราะบางที่สุด และต้องการให้ประเทศที่ร่ำรวยกว่าขยายโครงการผัดผ่อนหนี้ (DSSI) ที่พวกเขาตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือประเทศยากจนในช่วงการระบาดของโควิด-19

“วิกฤตค่าครองชีพนี้กำลังทำให้ผู้คนหลายล้านคนต้องตกอยู่ในความยากจน และแม้กระทั่งความอดอยากก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเร็วจนน่าตกใจ” สไตเนอร์กล่าว "ด้วยเหตุนี้ ภัยคุกคามจากความไม่สงบทางสังคมจึงเพิ่มขึ้นทุกวัน"

สถาบันต่างๆ เช่น สหประชาชาติ ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศกำหนด 'เส้นแบ่งความยากจน' คือ ประเทศที่ยากจนที่สุด ในอัตรารายได้ 1.90 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 68 บาท) หรือน้อยกว่านั้นต่อคนต่อวัน ประเทศรายได้ปานกลางตอนล่าง ในอัตรารายได้ 3.20 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 115 บาท) ต่อคนต่อวัน และประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง ในอัตรารายได้ 5.50 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 200 บาท) ต่อคนต่อวัน

จากรายงานมีการระบุว่า “เราคาดการณ์ว่าวิกฤตค่าครองชีพในปัจจุบันอาจผลักให้ผู้คนกว่า 51 ล้านคน ต้องตกอยู่ในภาวะยากจนขั้นรุนแรง” โดยมีการประเมินว่าวิกฤตนี้จะผลักประชากรทั่วโลกกว่า 1.7 พันล้านคน ให้กลายเป็นผู้ยากจน

ทั้งนี้ ในรายงายยังระบุว่า การมุ่งเน้นไปที่การมอบเงินให้เปล่าโดยรัฐบาลจะต้องดำเนินการอย่าง "เป็นธรรมและคุ้มทุน" มากขึ้น และต้องให้เงินอุดหนุนอย่างครอบคลุม เช่น พลังงานและราคาอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งที่มีแนวโน้มแพงเกินกว่าที่ควรจะเป็น

จอร์จ เกรย์ โมลินา หัวหน้าฝ่ายการมีส่วนร่วมในนโยบายเชิงกลยุทธ์ของ UNDP กล่าวว่า “ในระยะยาว สิ่งเหล่านี้ (วิกฤตค่าครองชีพ) จะส่งผลให้เกิดความไม่เท่าเทียม ทั้งยังทำให้วิกฤตสภาพภูมิอากาศเลวร้ายลง”


ที่มา:

https://www.reuters.com/world/cost-of-living-crisis-driving-breathtaking-surge-extreme-poverty-undp-2022-07-07/