ไม่พบผลการค้นหา
55 แพทย์-นักวิชาการ-ภาคประชาชน รวมชื่อหนุน 'ชูวิทย์' ชี้หากศรัทธากัญชาการแพทย์ ควรช่วยกันต่อต้านกัญชาเสรี ปิดช่องใช้สันทนาการ ย้ำอย่าเชื่อคนป้ายสีให้กัญชากลับไปเสพติด

วันที่ 21 เม.ย. เครือข่ายแพทย์ นักวิชาการ และภาคประชาชน รวมรายชื่อเผยแพร่เอกสารในหัวข้อ 'นโยบายกัญชามีแปดระดับ ประเทศไทยต้องการระดับไหน'

สืบเนื่องจากเหตุการณ์ที่ ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ไปเดินรณรงค์ต่อต้านนโยบายกัญชาเสรีที่ถนนข้าวสาร วันที่ 20 เม.ย. 2566 โดยมีประเด็นรณรงค์หลัก คือ นโยบายกัญชาเสรีในปัจจุบันเสรีเกินไป ต่อมามีกลุ่มผู้ศรัทธากัญชาทางการแพทย์มาแสดงความคิดเห็นว่ากัญชามีข้อดีในการเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย โดย ชูวิทย์กล่าวตอบว่า เห็นด้วยกับกัญชาทางการแพทย์ แต่ไม่เห็นด้วยกับกัญชาเสรี จึงเกิดคำถามว่า ตกลงคุณชูวิทย์และกลุ่มผู้ศรัทธากัญชาทางการแพทย์มีจุดยืนต่อนโยบายกัญชาที่เหมือนหรือต่างกัน

นโยบายกัญชามีสามกลุ่มใหญ่และแปดนโยบายระดับย่อย 

(ก) กลุ่มห้ามใช้กัญชาเลย (กัญชาเป็นยาเสพติด 100%) มีนโยบายย่อยสองระดับ คือ 

(1) กัญชาเป็นภัยร้ายแรง โทษอาญาเต็ม (criminalization) มีโทษอาญาทั้งผู้ค้าและผู้เสพ และ 

(2) กัญชาเป็นภัยร้ายแรง แต่ลดทอนโทษอาญาสำหรับผู้เสพ (decriminalization) ผู้ค้ามีโทษอาญา แต่ผู้เสพอาจลดโทษเหลือถูกปรับหรือบังคับรักษา 

(ข) กลุ่มใช้ประโยชน์กัญชาในทางการแพทย์ (แต่กัญชายังเป็นยาเสพติด) มีนโยบายย่อยสองระดับ คือ 

(3) กัญชาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ โดยอยู่ในการดูแลของแพทย์ (medical cannabis) แต่ไม่มีการอนุญาตให้ผู้ป่วยปลูกเอง 

และ (4) กัญชาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ โดยอยู่ในการดูแลของแพทย์ และผู้ป่วยสามารถปลูกกัญชาที่บ้านในจำนวนจำกัด หากแพทย์อนุญาต (medical cannabis with patient growing) 

(ค) กลุ่มใช้ประโยชน์กัญชาเพื่อสันทนาการ (กัญชาไม่เป็นยาเสพติด) มีนโยบายย่อยสี่ระดับ คือ

(5) กัญชาใช้ประโยชน์เพื่อสันทนาการได้ แต่มีมาตรการคุมเข้ม (recreational cannabis with strict controls)  

(6) มีมาตรการควบคุมบ้าง (partial control)  

(7) เพิ่มให้ประชาชนปลูกเองได้โดยไม่ต้องขออนุญาต (no-regulation home growing)  

และ (8) เพิ่มให้ปลูกเชิงพาณิชย์ได้ไม่ต้องขออนุญาต (no-regulation commercial growing) 

ขณะนี้นโยบายกัญชาเสรีของประเทศไทย (หลังจากปลดกัญชาเสรีด้วยประกาศกระทรวงสาธารณสุข ลงนามโดย อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข) คือ นโยบายกลุ่ม (ค) คือสามารถใช้กัญชาเพื่อสันทนาการได้ (เพราะกัญชาไม่ใช่ยาเสพติดแล้ว แม้กระทรวงสาธารณสุขจะพูดตลอดเวลาว่าสันทนาการไม่ใช่วัตถุประสงค์) และอยู่ที่นโยบายระดับย่อยที่ 8 คือ มีมาตรการควบคุมเล็กน้อย และประชาชนปลูกเองได้และธุรกิจก็ปลูกได้โดยไม่ต้องขออนุญาตและไม่จำกัดจำนวน  

ชูวิทย์ รณรงค์ว่ารับนโยบายกัญชาเพื่อสันทนาการขณะนี้ไม่ได้ และเสนอให้กลับไปที่นโยบายกัญชาทางการแพทย์ที่อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ (คือ นโยบายกลุ่ม ข ระดับ 3) ส่วนกลุ่มศรัทธากัญชาทางการแพทย์ได้เสนอตัวอย่างผู้ป่วยที่ปลูกกัญชาใช้เองแล้วได้ประโยชน์ในการรักษา ซึ่งคือนโยบายกัญชาทางการแพทย์ที่ผู้ป่วยปลูกเองได้ (คือ นโยบายกลุ่ม ข ระดับ 4)  

ดังนั้น กลุ่มศรัทธากัญชาทางการแพทย์กลุ่มนี้และกลุ่มอื่นใด ควรสนับสนุนคุณชูวิทย์ต่อต้านนโยบายกัญชาเสรี หากไม่ต้องการกัญชาเพื่อสันทนาการจริงๆ 

ข้อสังเกตสำหรับประชาชน คือ ควรรับรู้ความจริงว่า 

1) การต่อต้านกัญชาเสรี โดยสนับสนุนกัญชาทางการแพทย์ ไม่ใช่การทำให้กัญชากลับไปเป็นยาเสพติด 100% แต่การรณรงค์นี้มักถูกกลุ่มสนับสนุนกัญชาเสรีป้ายสีว่าต้องการให้กัญชาไม่ถูกใช้ประโยชน์เลย ดังนั้น ยิ่งป้ายสีมากเท่าไหร่ แสดงว่าผู้ป้ายสีต้องการกัญชาเสรีเพื่อสันทนาการ เพราะเขาไม่ต้องการให้มีการต่อต้านกัญชาเสรี  

และ 2) การให้เหตุผลว่ากัญชามีประโยชน์ในทางการแพทย์หรือสุขภาพ คือเหตุผลสนับสนุนนโยบายกัญชาทางการแพทย์ ไม่ใช่เหตุผลที่สนับสนุนนโยบายกัญชาเสรี  

ยิ่งมีผู้ออกมาให้เหตุผลถึงประโยชน์ของกัญชาในทางการแพทย์มากเท่าไหร่ ยิ่งหมายความว่าประเทศไทยต้องรีบยกเลิกนโยบายกัญชาเสรี แล้วหันกลับไปทำนโยบายกัญชาทางการแพทย์เร็วขึ้นเท่านั้น เพื่อให้ประเทศไทยได้ประโยชน์สองทางพร้อมกัน คือ

1) ใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์จากกัญชา และ 2) ปิดข้อเสียของกัญชาจากการใช้แบบสันทนาการ 

ท้ายเอกสารลงนามรายชื่อ เครือข่ายแพทย์ นักวิชาการ และภาคประชาชน ประกอบด้วย 

1. นพ.ชาตรี บานชื่น อดีตกรรมการแพทยสภา อดีตอธิบดีกรมสุขภาพจิต และอดีตอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

2. นายนิยม เติมศรีสุข อดีตเลขาธิการ ป.ป.ส. และ อดีตรองปลัดกระทรวงยุติธรรม

3. นายเพิ่มพงษ์ เขาวลิต อดีตเลขาธิการ ป.ป.ส. 4. ดร.วิโรจน์ สุ่มใหญ่ ที่ปรึกษาคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศ สหประชาชาติ

5. นางทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก

6. ดร.นพ.บัณฑิต ศรไพศาล นักวิทยาศาสตร์ Centre for Addiction and Mental Health, Canada

7. รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) กุมารแพทย์ผู้เชียวชาญด้านการแพทย์วัยรุ่น และ ผู้จัดการโครงการต้นทุนชีวิต ประเทศไทย

8. ศ.นพ.มานิต ศรีสุรภานนท์ ศาสตราจารย์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

9. ศ.นพ.ชวนันท์ ชาญศิลป์ ศาสตราจารย์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

10. พล.ต.นพ.พิชัย แสงชาญชัย ประธานชมรมจิตเวชศาสตร์การเสพติดแห่งประเทศไทย

11. รศ.ดร.ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และ อาจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

12. ผศ.นพ.สมิทธิ์ ศรีสนธิ์ นายกสมาคมแพทย์นิติเวชแห่งประเทศไทย

13. ผศ.นพ.สหภูมิ ศรีสุมะ อายุรแพทย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

14. ศ.พญ.สาวิตรี อัษณางค์กรชัย ศาสตราจารย์ สาขาระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

15. ผศ.ดร.อุษณีย์ พึ่งปาน ที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยยาเสพติด วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

16. ดร.วศิน พิพัฒนฉัตร หน่วยวิชาการบ่มเพาะเครือข่ายนักจัดการปัจจัยเสี่ยง

17. นายไฟซ้อน บุญรอด ประธานเครือข่ายภาคประชาชนป้องกันภัยยาเสพติด

18. นายวัชรพงศ์ พุ่มชื่น นักพัฒนางานวิชาการ ศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ

19. นพ.ไพศาล ปัณฑุกำพล สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรี-นครินทร์บรมราชชนนี

20. รศ.นพ.วัชรพงศ์ พุทธิสวัสดิ์ สาขาวิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ อดีตประธานราชวิทยาลัยศัลยศาสตร์

21. นพ.วิทยา จารุพูนผล ข้าราชการบำนาญ รพ.ขอนเก่น

22. ศ. คลินิก นพ.อภิชาติ ศิวยาธร อดีตรองคณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

23. นพ.วิโรจน์ เยาวพลกุล แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

24. นพ.วัฒนา สุพรหมจักร แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

25. พล.อ.นพ.ชูศักดิ์ สุวรรณศิริกุล แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

26. พล.อ.ท.นพ.วิศิษฏ์ ดุสิตนานนท์ แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

27. นพ.เจริญ ปฏิภาณเทวา แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

28. พญ.ภาพิส เสงี่ยมพรพาณิชย์ ข้าราชการบำนาญ

29. พญ.อรพินธ์ พจน์พริ้ง อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

30. พล.อ.นพ.อิสสระชัย จุลโมกข์ ผู้อำนวยการฝ่ายแพทย์ รพ.บางโพ และอดีตผู้อำนวยการ รพ.พระมงกุฏเกล้าฯ

31. นพ.พงษ์สันติ์ ลี้สัมพันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายคุณภาพ รพ.หัวเฉียว

32. นพ.ณัฐกุล แย้มประเสริฐ กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ รพ.มหาราชนครราชสีมา 

33. ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม อายุรแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ และ รองผู้อำนวยการ รพ.รามาธิบดี

34. นพ.สรรัตน์ เลอมานุวรรัตน์ แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

35. นพ.อธิคม สงวนตระกูล กลุ่มงานอายุรกรรม รพ.มหาราชนครราชสีมา

36. พญ.สริฐา มหาศิริมงคล นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ รพ.กลาง

37. นพ.ปฏิเวช งามวิจิตวงศ์ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ รพ.กลาง

38. พญ.วิภัสรา สวัสดี นายแพทย์ชำนาญการ รพ.บุรีรัมย์

39. นพ.นริศ รุจนเวช แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

40. พญ.เสาวลักษณ์ นาคะพงษ์ ข้าราชการบำนาญ อดีตผู้อำนวยการ รพ.มหาสารคราม และ รพ.หนองบัวลำภู

41. พญ.กันตินันท์ ลีฬหบุญเอี่ยม แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

42. นพ.ศักดิ์ชัย อติโพธิ กรรมการสมาคมเรือพายแห่งประเทศไทยและสมาคมแคนูแห่งเอเชีย

43. นพ.ภิญโญ เปลี่ยนรังษี แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

44. พล.ต.ต.ธีระยุทธ ธรรมสาโรช อดีตผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.สระแก้ว

45. นางธิดา ธรรมสาโรช อดีตผู้จัดการ ภาค 5 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด

46. พญ.สุรภี เรืองสุวรรณ อดีตผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

47. ศ.พญ.กฤษณา เพ็งสา ข้าราชการบำนาญ แพทย์ศิริราช รุ่น 77

48. พล.ท.พญ.กมลพร สวนสมจิตร อดีตผู้อำนวยการ สำนักงานแพทย์ทหาร

49. พญ.รุ่งเรือง กาญจนภูมิ แพทย์เชี่ยวชาญภูมิแพ้ ประจำ รพ.วิชัยยุทธ กรุงเทพ

50. พล.อ.ต.ศรีชัย ชัยพฤกษ์ อดีตผู้อำนวยการ รพ.ภูมิพล

51. พญ.ดวงเดือน ศิลปสุวรรณ Pediatrics and Neonatology, Calvert Health Medical Center, Maryland, USA.

52. พล.ต.หญิง ยุพาพิน จุลโมกข์ กุมารแพทย์โรคไต รพ.พระมงกุฏเกล้า

53. ศ.พญ.ชลีรัตน์ ดิเรกวัฒนชัย อดีตผู้อนวยการคณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี

54. พญ.วัลภา เจษฎาวนิชกุล กุมารแพทย์ part time รพ.หัวเฉียว