'เมอร์เรียม-เว็บสเตอร์' พจนานุกรมที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐฯ ประกาศตัวเลขผู้ใช้งานเข้ามาค้นหาคำว่า 'coronavirus' (โคโรนาไวรัส) เพิ่มขึ้นถึง 11,000 เท่า นอกจากนี้ ข้อมูลการค้นหาคำศัพท์อื่นๆ อาทิ 'epidemic' (การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว) หรือ 'quarantine' (การกักตัว) ยังเป็นตัวสะท้อนความกังวลของประชาชนได้เช่นเดียวกัน
หลังจากรัฐบาลหลายประเทศเริ่มปรับใช้มาตรการหลายอย่างเพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ฝั่งประชาชนเองก็พยายามทำความเข้าใจกับสิ่งที่ตนต้องเผชิญ ซึ่งนอกจากหันหน้าไปพึ่งเอกสารทางวิทยาศาสตร์ที่มีความน่าเชื่อถือ แต่ก็มาพร้อมกับความซับซ้อน การเข้าไปหาความหมายของคำศัพท์ในเว็บไซต์พจนานุกรมจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำคัญ
ขณะเดียวกัน นอกจากประชาชนจะมองหาความหมายของคำศัพท์ต่างๆ ที่มีเข้ามาอย่างมากมายท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาด ประชาชนยังคงเข้าเว็บไซต์พจนานุกรมเพื่อเช็คตัวสะกดคำศัพท์ทั่วไปอย่าง 'cancelling' ว่าแท้จริงแล้วมีตัวแอลกี่ตัวกันแน่ เช่นเดียวกัน (หากสะกดแบบอเมริกันมีแอลตัวเดียว หากสะกดแบบบริติช แคนาดา หรือในประเทศอื่นๆ มีแอลสองตัว)
'ปีเตอร์ โซโคโลวสกี' จากเว็บไซต์พจนานุกรมเมอร์เรียม-เว็บสเตอร์ กล่าวว่า เป็นเรื่องยากที่จะอธิบายว่าประชาชนเข้ามาหาคำศัพท์ด้วยเหตุผลใดกันแน่ แต่ปีเตอร์ประเมินว่า เมื่อเกิดความกังวล ประชาชนมักต้องการคำจำกัดความของศัพท์ที่เป็นนามธรรม
นอกจากนี้ เมื่อ 18 มี.ค. ที่ผ่านมา เมอร์เรียม-เว็บสเตอร์ ยังได้ออกมาประกาศรวบรวมคำศัพท์ทั้งหมดที่เว็บไซต์ได้เพิ่มเข้ามาระหว่างการแพร่ระบาดครั้งนี้ซึ่งแบ่งเป็น 4 หัวข้อใหญ่คือ
สำหรับข้อมูล ณ 26 มี.ค. พบว่า คำศัพท์ที่ได้รับความนิยมของเว็บไซต์ 5 อันดับแรกซึ่งแต่ละคำล้วนมียอดการค้นหาเพิ่มขึ้นในหลักพันเปอร์เซ็นต์ทั้งสิ้น ได้แก่
อ้างอิง; The Economist, Merriam-Webster