ไม่พบผลการค้นหา
4 นักการเมืองรุ่นใหม่ 'เพื่อไทย-อนาคตใหม่-ประชาธิปัตย์-รวมพลังประชาชาติไทย' พลิกบทบาทวิจารณ์ 5 นโยบายแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ส่องบทบาทคอมเมนเตเตอร์ จาก 4 ตัวแทนนักการเมืองรุ่นใหม่ อาทิ นายพริษฐ์ วัชรสินธุ พรรคประชาธิปัตย์ นางสาวพรรณิการ์ วานิช พรรคอนาคตใหม่ นายเขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ พรรครวมพลังประชาชาติไทย นางสาวขัตติยา สวัสดิผล พรรคเพื่อไทย ผ่านเวที Thammasat Resolution Talk 2018 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ด้วยการปราศรัยนโยบายของ 5 นักศึกษา ภายใต้หัวข้อ “นโยบายใดคือนโยบายแรก หากคุณเป็นนายกรัฐมนตรี” โดยภายในมีเยาวชนคนรุ่นใหม่จากหลายสถาบันการศึกษาเข้าร่วมรับฟังวิสัยทัศน์เป็นจำนวนมาก 

ขัตติยา.JPG

(ขัตติยา สวัสดิผล)

โดยตามกติกาของเวทีนี้คือการให้ 5 แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงนโยบายสำคัญในเวลาคนละ 10 นาที และให้ 4 นักการเมืองวิจารณ์และแนะนำแนวทางการต่อยอดไอเดียคนละ 1 นาที 

พรรณิการ์.JPG

(พรรณิการ์ วานิช)

แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี หมายเลข 1 'เศวตโชติ วิชาชัย' นักศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์ ได้ชูนโยบาย 'TRUST THAI ทัดเทียมโลก' โดยเล่าว่าตนได้เข้าเรียนในคณะรัฐศาสตร์ตลอดสี่ปีที่ผ่านมา ตนต้องเรียนหลักการระบอบประชาธิปไตย แต่มองออกไปกับอยู่ภายใต้การปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และเป็นที่น่าอับอายของประชาคมโลก

ซึ่งนโยบายนี้เป็นนโยบายต่างประเทศที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ที่เป็นการทูตเข้าถึงประชาชน "เราต้องแปรเปลี่ยนสี่ปีแห่งความอับอาย โดยมีสามกุญแจสำคัญคือ ประชาชาติ ประชาธิปไตย ประชาชนเป็นศูนย์กลาง” แคนดิเดตหมายเลข 1 กล่าว

จะเห็นได้ว่าปัจจุบันโลกกำลังล้อมไทย และถือเป็นโอกาสไทย ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญในการเลือกนโยบายการทูตในการเป็นผู้นำอาเซียน และมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งภูมิภาค และเป็นเมืองหลวงแห่งการท่องเที่ยวโลก 

'ขัตติยา' ให้ความเห็นว่า เมื่อใดที่ผู้นำมาจากเผด็จการ ก็คงไม่สามารถเป็นที่ยอมรับได้ในเวทีโลก อีกสิ่งสำคัญคือการผลักดันเรื่องสิทธิมนุษยชนจะทำให้ประเทศกลายเป็นประเทศที่มีสิทธิมนุษยชนประสิทธิภาพและการยอมรับในเวทีโลกได้

'พริษฐ์' ระบุว่าประเทศเรามีศักยภาพพอ ที่สามารถเป็นผู้นำภูมิภาคใด้ และเชื่อว่าวัฒนธรรมของประเทศไทยคือสิ่งสำคัญที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามา

'เขตรัฐ' ให้ความเห็นต่อว่าสิ่งที่อยากเสริมคือ การออกแบบโครงสร้างของประเทศในการจัดการการส่งออก เพื่อแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค

'พรรณิการ์' ระบุว่า นโยบายที่ศูนย์กลางประชาชนเป็นสิ่งที่น่าประทับใจ เพราะการทูตไม่ควรรับใช้รัฐบาล ส่วนความเป็นไทยไม่ใช่วัฒนธรรมอันสวยงามเท่านั้น แต่ความสำคัญคือการใช้คุณค่าวัฒนธรรมที่เชื่อมร้อยกับสากล

สำหรับแคนนิเดตนายกฯ หมายเลข 2 'ณฐนก ศรัทธาธรรม' วิทยาลัยสหวิทยาการ กล่าวว่านโยบายที่จะทำคือการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงประเทศ คือ Smart city, Decentralize Thailand 76 จังหวัด 76 อัตลักษณ์ ตามศาสตร์พระราชา ที่มุ่งเน้นการพัฒนาและการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นเข้าถึง และต้องมีการดึงอัตลักษณ์ท้องถิ่นขึ้นมาเป็นจุดขาย เพื่อการกระจายอำนาจให้แต่ละจังหวัดค้นหาอัตลักษณ์ เพื่อตกผลึกกลายเป็น

พริษฐ์.JPG

(พริษฐ์ วัชรสินธุ)

'พรรณิการ์' มีการนำเสนอที่เป็นรูปธรรม แต่ควรเสริมการจัดการเรื่องอำนาจจากรัฐบาลกลางไปสู่รัฐบาลท้องถิ่นอย่างไรซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก

'เขตรัฐ' เห็นด้วยกับที่กล่าวถึงศูนย์การเรียนรู้ในท้องถิ่น แต่อยากให้ศึกษาเพิ่มเรื่องการรองรับสินค้าท้องถิ่นด้วย เพื่อป้องกันสินค้าล้นตลาด

'พริษฐ์' เห็นว่าควรต่อยอดเรื่องกฎหมายในการเลือกตั้งผู้ว่าทุกจังหวัด ในส่วนกฎหมายกระจายอำนาจ

'ขัติยา' ระบุว่าควรต่อยอดให้เกิดการผสมผสานเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาพรวม

แคนดิเดตหมายเลข 3 'กรวิชญ์ อินทางษ์' คณะรัฐศาสตร์ ชูนโยบายเปลี่ยนขยะเป็นเม็ดเงินเสริมรากฐานด้านเศรษฐกิจ โดยยกโมเดลมาจากประเทศสวีเดน พร้อมยกตัวอย่างประเทศในอาเซียนที่เริ่มใช้การจัดเก็บค่าธรรมเนียมขยะ อาทิ กัมพูชา และอินโดนีเซีย

เขตรัฐ.JPG

(เขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์)

'เขตรัฐ' ควรเสริมเรื่องการเก็บภาษี แต่ควรมีการลดหย่อนภาษีและอาจจะลดปริมาณการใช้พลาสติก

'พริษฐ์' ควรต่อยอดเรื่องการแก้ปัญหาพลาสติก ด้วยการเริ่มต้นจากในหน่วยงานราชการเป็นตัวอย่างให้เป็นรูปธรรมก่อน

'ขัตติยา' ประเด็นของการลดจำนวนการปลูกฝังจิตสำนึก เสนอให้ต้องมีการบรรจุในการเรียนการสอนด้วย 

'พรรณิการ์' สิ่งหนึ่งที่ควรเพิ่มเติมคือการแยกขยะ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มากในสังคมไทย รวมถึงเรื่องพลังงานที่ควรมีการแก้ปัญหาให้ครบวงจร

แคนดิเดตนายกฯ หมายเลข 4 'ศุภณัฐ กิ่งแก้ว' วิทยาลัยสหวิทยาการ นโยบายยกเครื่องโครงสร้างพื้นฐานใหม่ เชื่อมอนาคตไทยให้ใกล้ขึ้น เพื่อปูทางสู่รัฐสวัสดิการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ที่กระจุกความเจริญไว้ที่กรุงเทพมหานคร

โดยมีขั้นตอนด้วยการศึกษาผังเมืองและรื้อปรับใหม่ มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการทำประชาพิจารณ์ โดยนำการใช้ไฮเปอร์ลูปและรถไฟฟ้าความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม

'พริษฐ์' เห็นว่าแนวทางในการแก้ปัญหาด้านคมนาคม ที่ต้องควบคู่ไปกับการกระจายความเจริญให้ประชาชนเข้าถึง

'ขัตติยา' เห็นควรว่าการพัฒนาของระบบคมนาคม โดยเฉพาะรถไฟความเร็วสูง ต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านบริหารจัดการน้ำ และในอดีตพรรคเพื่อไทยได้นำเสนอแนวทางนี้ไปแล้ว แต่ก็ถูกยุติไป  

'พรรณิการ์' ได้สนับสนุนแนวทางการพัฒนาการคมนาคม เพราะคือการกระจายอำนาจ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงความเจริญ เพื่อจัดสรรรัฐสวัสดิการ

'เขตรัฐ' เป็นนโยบายที่เป็นแนวทางเดียวกับพรรครวมพลังประชาชาติไทย ที่จะเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟความเร็วสู่จากภาคอีสานสู่พื้นที่อีอีซี

_MG_3502.JPG

ด้านแคนดิเดตนายกฯ คนที่ 5 'ตติยา ปัฐยาวัต' คณะสังคมวิทยาและมานุษวิทยา นโยบายกองกำลังพิทักษ์ประชาธิปไตย เพื่อปกป้องและคุ้มครองรัฐบาลพลเรือนที่มาตามระบอบประชาธิปไตย เพื่อลดการทำรัฐประหาร 

'ขัตติยา' เห็นด้วยกับการปกป้องประชาธิปไตย แต่ควรปล่อยให้กลไกตามระบอบประชาธิปไตยรัฐบาลอยู่แล้ว ซึ่งการจัดกองกำหลังขึ้นมาอาจไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ประเทศไทยเผชิญ 

'พรรณิการ์' กองทัพโดยหน้าที่แล้วต้องเป็นกองทัพของประชาชน โจทย์ใหญ่คือจะทำอย่างไรให้เป็น 'ทหารอาชีพ' ที่ปกป้องประชาชน และควรปฏิรูปกองทัพและลดอำนาจของผู้บัญชาการทหารเพื่อตัดวงจรในการทำรัฐประหาร

'เขตรัฐ' ชี้ว่าต้นเหตุของการรัฐประหาร เกิดจากความขัดแย้งในรัฐสภา สิ่งที่ควรแก้คือการรับฟังเสียงส่วนน้อยเช่นกัน นั้นคือการปัญหาที่ต้นเหตุ

'พริษฐ์' เรื่องการตั้งกองทัพควรมีสองแนวต้องตัดบทบาททางการเมืองของทหาร และจะทำอย่างไรให้งบประมาณของสภากลาโหมให้โปร่งใสตรวจสอบได้ 

สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ผู้ที่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผลประกฎว่าได้แก่ ผู้สมัครหมายเลข 4 ศุภณัฐ กิ่งแก้ว ได้คะแนน 27.9 เปอร์เซ็นต์ ส่วนหมายเลข 1, 2, 3 ได้ไป 21.3 เปอร์เซ็นต์ ส่วนหมายเลข 5 ได้ 8.2 เปอร์เซ็นต์