ไม่พบผลการค้นหา
ตำรวจเกาหลีใต้เผยการจับกุมต่างชาติที่ก่ออาชญากรรมช่วงเดือนเม.ย.-มิ.ย. พบส่วนใหญ่เป็นพลเมืองชาวไทย

โคเรียไทมส์ รายงานว่าสำนักงานตำรวจเกาหลีใต้ได้เปิดเผยข้อมูลการปราบปรามการก่ออาชญากรรมโดยชาวต่างชาติ ซึ่งรวมถึงการกระทำผิดทางอาญาเกี่ยวกับการข้ามพรมแดนนผิดกฎหมายตั้งแต่ช่วงสิงหาคมถึงเดือนตุลาคมปีนี้พบว่า องค์กรอาชญากรรมที่เป็นเป้าหลักซึ่งถูกจับกุมมากสุดมักเกี่ยวข้องกับการกู้ยืมเงิน การค้ายาเสพติด การพนันผิดกฎหมาย ตลอดจนธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ผิดกฎหมาย

หน่วยงานตำรวจเกาหลีใต้ระบุว่า ในบรรดาองค์กรอาชญากรรมเหล่านี้ พบความเชื่อโยงที่เกี่ยวข้องกับชาวต่างชาติมากขึ้น โดยเฉพาะความผิดที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและการดำเนินธุรกิจที่ผิดกฎหมาย

จากข้อมูลตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายนปีนี้ พบชาวต่างชาติ 391 ถูกจับกุมฐานเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมประเภทดังกล่าว ในจำนวนนี้ 133 คนถูกควบคุมตัว ตามข้อมูลของตำรวจ ประมาณหนึ่งในสามหรือร้อยละ 34 ขององค์กรเหล่านี้ เกี่ยวข้องกับหนึ่งในห้าประเภทอาชญากรรมตามข้างต้น จำนวนนี้ร้อยละ 46.8 กระทำความปิดเกี่ยวกับยาเสพติด, 18.7 เกี่ยวข้องกับการข้ามพรมแดนเข้าประเทศผิดกฎหมาย, 18.4 เกี่ยวข้องกับการพนัน และ 4.9 ก่ออาชญากรรมทางการเงิน

หากแบ่งเป็นตามสัญชาติแล้วจะพบว่าจากจำนวน 391 คนที่ถูกจับ ร้อยละ 17.6% เป็นพลเมืองสัญชาติไทย รองลงมาคือเวียดนาม อุซเบกิสถาน ร้อยละ 14.1% ตามด้วยพลเมืองรัสเซีย 7.7% จากจีน 5.1% ปากีสถาน 4.6% ไลบีเรีย 2% และชาติอื่นๆอีก 4.2%

ช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ตำรวจเกาหลีใต้จับกุมชาวต่างชาติที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมมากถึง 14,977 ถือว่าลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญเนื่องจากการระบาดทำให้การเดินทางข้ามพรมแดนซับซ้อนมากขึ้น และมีจำนวนลดลงเมื่อเทียบกับตัวเลขผู้กระทำผิดช่วงสามปีที่ผ่านมาคือ 34,832 ในปี 2561, 39,249 คน ในปี 2562 และ 39,139 คน ในปี 2563 

ปี 2563 มีจำนวนชาวต่างชาติที่พำนักในเกาหลีใต้เป็นเวลานานกว่า 3 เดือน มากถึง 1.7 ล้านคนจากจำนวนประชากรทั้งสิ้นของประเทศราว 50.1 ล้านคน

รายงานยังระบุว่า สำนักงานตำรวจนครบาลกรุงโซลเคยมีการจับกุมการก่ออาชญากรรมของชาวต่างชาติครั้งใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา อาทิ การจับกุมสมาชิก 60 คนของงองค์กรอาชญากรรมแห่งหนึ่งที่ดำเนินการโดยชาวฟิลิปปินส์ เปิดเว็บไซต์การพนันกีฬาที่ผิดกฎหมายสำหรับผู้ใช้ชาวเกาหลี สร้างรายได้ 1.3 ล้านล้านวอน (ราว1.13 พันล้านดอลลาร์)

อีกหนึ่งการจับกุมคือการจับ ชาวไทย 22 คนที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบนำเข้าและจำหน่ายยาเสพติดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมของปีนี้ ขณะที่มีการจับกุมชาวไลบีเรีย 8 คนในข้อหาฉ้อโกงตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่ถึงพฤษภาคมปีนี้