ไม่พบผลการค้นหา
6 ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. แสดงวิสัยทัศน์ผ่านเวทีเสวนานโบายสังคมของผู้ว่าฯกทม. โดย 'สุชัชวีร์' เน้นเปลี่ยนเมืองสร้างงานให้ผู้สูงอายุ น้อมนำพระราชดำรัส 'ขาดทุนคือกำไร' ด้าน 'วิโรจน์' ย้ำคนเท่ากัน เพิ่มสวัสดิการ ขณะที่ 'ศิธา' ขอดันโรงเรียน กทม.เทียบเท่าเอกชน - 'รสนา' ชูหยุดโกง จัดสรรงบฯ - 'สกลธี' ขอทลายกำแพงงบฯ กทม. - 'อัศวิน' โชว์ดันเงินอุดหนุนเด็ก

วันที่ 6 เม.ย. 2565 ที่สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ แห่งประเทศไทย Homenet Thailand กลุ่ม WeMove วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต และภาคีเครือข่าย ร่วมกันจัดเวทีสาธารณะ 'เสนอไป-แถลงมา นโยบายทางสังคมของผู้ว่าฯ กทม.' เพื่อส่งมอบข้อเสนอนโยบายทางสังคมต่อผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพทหานคร ภายใต้ความคาดหวัง "เมืองหลวงที่ผู้ว่ากล้าหาญ สร้างสวัสดิการเพื่อคุณภาพชีวิตคน ทุกเพศ ทุกวัย เมืองแห่งความเสมอภาค เป็นธรรม พัฒนาระบบการมีส่วนร่วมของประชาชน และเป็นเมืองที่คนมีความสุข" 

โดยภายในงาน ได้มีการเสนอนโยบายจากตัวแทนกลุ่มต่างๆ ประกอบด้วย กลุ่มผู้หญิง กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ กลุ่มแรงงาน และกลุ่มเด็กเล็ก เพื่อสะท้อนปัญหาและแนวทางการแก้ไข ก่อนจะเปิดโอกาสให้ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.6 คนได้ขึ้นแสดงวิสัยทัศน์อย่างพร้อมเพรียง ขาดเพียงแต่ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) หมายเลข 8 ในนามอิสระ ที่ติดภารกิจ

สตรี คนพิการ เวที ผู้ว่า กทม -A3BC-4583-AFE4-FFBEA9B2A25C.jpegคนพิการ สตรี ผู้ว่า กทม นโยบาย -54D6-4CB0-87EB-81E9415944B3.jpegสกลธี -A924-65B5B67275D5.jpegวิโรจน์ ศิธา สุชัชวีร์ รสนา อัศวิน สกลธี -08EB-4E74-89B0-19C1770DDCF2.jpeg

'สกลธี’ มุ่งทลายกำแพงงบประมาณ กทม.

สกลธี ภัททิยกุล ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) หมายเลข 3 ในนามอิสระ มองว่า ทางแก้ปัญหาสังคมอยู่ที่การจัดสรรงบประมาณ ที่ผ่านมา สำนักงานพัฒนาสังคม ได้งบเพียง 200 ล้านบาทต่อปีเท่านั้น นับแล้วคือไม่ถึง 1% จากงบประมาณทั้งหมด 8 หมื่นล้านของ กทม. ถ้าตนมีโอกาสได้เป็นผู้ว่าฯ กทม. จะต้องปรับปรุงการจัดสรรงบประมาณ เพราะ 200 ล้าน ไม่มีทางพอ รวมถึงต้องแก้กฎหมายบางส่วนเพื่อให้ กทม. สามารถแรงงานนอกเพิ่มได้ ต้องทลายกำแพงการใช้งบประมาณของ กทม. ให้ได้ 

สำหรับปัญหาของผู้สูงอายุนั้น สกลธี เผยว่า หลายนโยบายของตนมุ่งไปที่การดูแลผู้สูงอายุ อาทิ การปรับ ศูนย์สาธารณสุขชุมชนทั้ง 69 แห่ง ให้เป็น smart clinic ใช้ระบบ telemedicine รวมทั้งการดูแลผู้สูงอายุติดเตียง โดยการติดตั้งระบบเช่น นาฬิกาแจ้งเตือนติดตัว ให้หน่วยงานเข้าหาได้ แทนการใช้คนเฝ้า และจะพยายามผลักดันการจ้างงานผู้สูงอายุ 

รสนา ผู้สมัครผู้ว่า กทม D7-87CA-F2D30AC9FCAB.jpeg

'รสนา’ ชี้ต้องหยุดโกง จัดสรรงบฯ ได้

ด้าน รสนา โตสิตระกูล ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 7 ในนามอิสระ กล่าวว่า นโยบายที่ตั้งใจทำคือด้านคุณภาพชีวิต โดยสังคมไทยนั้นมีความเหลื่อมล้ำมากที่สุด เช่น คนพิการที่ต้องเดินทางบนถนน เกิดจากความคิดคนเดินทางด้วยรถสำคัญ ตนจะให้ความสำคัญเช่นการติดกล้อง CCTV กทม.ต้องเป็นเจ้าภาพสร้างความปลอดภัยทั้งทางบกเเละทางน้ำ ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุเช่นที่ผ่านมาอีก

นอกจากนี้ รสนา ยังเสนอไอเดียเเก้ปัญหาศูนย์รับเลี้ยงเด็กเล็ก โดยให้มีระบบจัดส่งอาหาร เเละนมถึงบ้าน เพื่อให้เด็กเล็กได้รับสารอาหารที่เพียงพอ โดยไม่เป็นภาระของผู้ปกครอง ในส่วนของนโยบายเพื่อผู้สูงอายุ เสนอนโยบายบำนาญ 3,000 บาท ต่อเดือน เเต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้นั้นจะต้อง หยุดการโกงและการทุจริตให้ได้ ถึงจะสามารถจัดสรรเงินงบประมาณได้ถึงทุกคน

อัศวิน ผู้ว่า กทม -F29B-4B30-ABDE-0AC4EE2B3A02.jpegอัศวิน ผู้สมัคร ผู้ว่า กทม -4C6B-4801-9E33-59DC25FB93DA.jpeg

'อัศวิน’ โชว์ผลงานให้เงินอุดหนุนเด็กขึ้นเป็น 40 บ.

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 6 ในนามอิสระ ระบุถึงวิสัยทัศน์ด้านความเท่าเทียมทางเพศว่า ตนมีความเข้าใจในเรื่องนี้ เพราะบางทีเวลาอยู่บ้านตนก็ไม่ได้รับความเท่าเทียม ตอนอยู่ข้างนอกเป็นเจ้านายคนอื่น แต่พอกลับถึงบ้านก็เหลือตัวเล็กนิดเดียว และได้เสนอนโยบาย ย. 4 ตัว คือ ยิ้มแย้ม ยกย่อง ยืดหยุ่น และยิมยอม เพื่อให้เกิดความราบรื่นในครอบครัว

ด้านนโยบายสำหรับเด็กนั้น พล.ต.อ.อัศวิน กล่าวว่า ตนมาจากโรงเรียนวัด เข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ เพื่อหาความหวัง จึงเข้าใจเด็กๆ ดี และยืนยันจะไม่ทอดทิ้ง ก่อนหน้าที่ตนเป็นผู้ว่าฯ กทม. รัฐบาลให้เงินอุดหนุนสำหรับเด็กเพียง 20 บาท ต่อวัน พอตนเข้ามาเป็นผู้ว่าฯ กทม. ได้ขอสภากรุงเทพมหานครเพิ่มเป็น 40 บาท

วิโรจน์ -F512-493A-A6ED-51B36F451232.jpeg

’วิโรจน์’ ชูนโยบายคนเท่ากัน ให้ประชาชนมีสิทธิฝัน

วิโรจน์ ลักขณาอดิสร ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 1 พรรคก้าวไกล กล่าวว่า คน กทม.ตกอยู่ภายใต้มายาคติว่าต้องขยันถึงจะรวย คนกรุงเทพฯ อยู่ในระบบนิเวศเเละกติกาที่ไม่เป็นธรรม นโยบายคนเท่ากัน คือการเพิ่มสวัสดิการ โปรดอย่าคิดว่าเป็นการสงเคราะห์ เเต่คือเป็นหน้าที่ที่ผู้ว่าฯ กทม.ต้องทำ ต้องคิดว่าเมืองนี้ดูเเลคนเมืองนี้ได้ดีกว่านี้ 

วิโรจน์ กล่าวต่ออีกว่าในประเด็นเเรกที่ต้องผลักดันคือให้ความสำคัญผู้สูงอายุ การฉีดวัคซีนปอดให้ผู้สูงอายุเพื่อครอบครัว การอุดหนุนเงินทุนให้ศูนย์เด็กเล็กซึ่งจะต้องให้มากกว่านี้ สร้างสวัสดิการให้ทุกคนซึ่งจะทำให้ทุกคนรู้สึกมั่นคง จะทำให้เมืองมีกำลังซื้อ นี่คือเมืองที่น่าลงทุน พร้อมทั้งกระจายงบประมานลงสู่ชุมชน ให้ชุมชนสร้างความฝัน เนื่องจากมีภาคีประชาชนสามารถทำงานกับชุมชนได้เลย ไม่ต้องร้องขอเพราะท่านคือคนมีอำนาจสูงสุด นี่เป็นกระดุมเม็ดเเรก 

ศิธา ไทยสร้างไทย -261B-4A29-8668-21581B26B27F.jpeg

’ศิธา’ พลิกคุณภาพโรงเรียน กทม.เทียบเท่าเอกชน ดูแลคนทุกกลุ่ม

น.ต.ศิธา ทิวารี ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 11 พรรคไทยสร้างไทย กล่าวว่า ตนเคยเป็น ส.ส.กทม. เขตคลองเตย เคยลงไปคลุกคลีกินนอนอยู่ใต้ทางด่วนกับชาวบ้าน เข้าใจความรู้สึกของคนทำงานอาสาสมัครเป็นอย่างดี ในประเด็นนโยบายเพื่อเด็กเล็ก มองว่าต้องให้ความสำคัญกับผู้หญิงให้มีโอกาสเลี้ยงลูกอย่างเต็มที่ จะผลักดันให้โรงเรียน กทม.ทุกโรงเรียน มีคุณภาพเทียบเท่าโรงเรียนเอกชน โดยไม่ได้มุ่งเน้นแต่ความเป็นเลิศทางวิชาการ เพราะความเป็นเลิศอาจเป็นบ่อเกิดของความเหลื่อมล้ำ แต่ต้องมีคุณภาพในการดูแลและให้ความปลอดภัย

ด้านนโยบายเพื่อคนพิการ น.ต.ศิวารี ระบุว่า คนพิการไม่ได้มีทักษะด้อยไปกว่าคนอื่นๆ ตนจะใช้งบประมาณในการดูแลคนที่มีอัตลักษณ์แตกต่างซับซ้อน ให้เขามีโอกาสใช้ชีวิตได้เหมือนทุกคน ในส่วนนโยบายเพื่อผู้ค่าหาบเร่แผงลอย ตนจะเปลี่ยนบทบาทของเทศกิจ จากผู้คุมกฏและผู้ตรวจตรวจสอบ กลายเป็นผู้สนับสนุนให้ประชาชนสามารถค้าขายได้อย่างไม่ผิดกฏหมาย ประชาชนทุกคนจะต้องทำมาหากินได้

สุชัชวีร์ ประชาธิปัตย์ -A282-4A9A-86BA-045FCA039111.jpeg

’สุชัชวีร์’ ดันกทม.ใช้เน็ตฟรี เน้นสร้างงาน น้อมนำพระราชดำรัส “ขาดทุนคือกำไร”

สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 4 พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า นโยบายของตนจะเปลี่ยนเมืองอย่างชัดเจน เปลี่ยนชีวิต เปลี่ยนเมือง หยุดปัญหาซ้ำซาก ประการเเรก คนกทม.ต้องได้ใช้อินเทอร์เน็ตฟรี นี่คือโอกาสในการเปลี่ยนเเปลงชีวิต ตนเดินทางไปทุก 50 เขตเเล้ว พบเห็นปัญหามากมาย พร้อมเสนอนโยบายเงินเต็มบ้านงานเต็มเมือง เมืองต้องสามารถสร้างงาน เเละจ้างงานผู้สูงอายุ ไม่ให้เฉาอยู่ที่บ้าน กทม. ต้องมองว่า สตรี ผู้พิการ และผู้สูงอายุ คือหุ้นส่วนที่มาร่วมกันพัฒนากทม.

สุชัชวีร์ กล่าวทิ้งท้ายว่า "ขอน้อมนำพระราชดำรัส ร.9 พระองค์ท่านสอนว่า ขาดทุนคือกำไร ทุกวันนี้หากกรุงเทพฯยังมองว่าทุกเรื่องคือกำไร ผมว่าไม่ใช่เเล้ว ผมมองว่ากำไรที่เเท้จริงคือการที่ประชาชนทุกคนอยู่ดีมีสุข เเละผมขอน้อมนำพระราชดำรัสเป็นตัวอย่างวิสัยทัศน์เเละนโยบายของผู้ว่าฯ กทม."