ไม่พบผลการค้นหา
บุคลากรทางการแพทย์ ขอสิทธิกำหนดชั่วโมงทำงาน ไม่เกิน 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มอง 30 บาท เป็นเรื่องดี แต่ต้องแก้ปัญหาเชิงระบบให้ครอบคลุม ด้าน ‘หมอทวีศิลป์’ ยอมรับ บุคลากร-ค่าตอบแทน-สวัสดิการ สธ. ไม่เพียงพอ

วันที่ 25 ต.ค. 2565 เมื่อเวลา 13.00 น. ที่กระทรวงสาธารณสุข ตัวแทนจากสมาพันธ์แพทย์ผู้ปฏิบัติงาน (สพง.) หรือ Thai Frontline Physician Confederation (TFPC) พร้อมด้วย ตัวแทนจาก สหภาพคนทำงาน สาขาบุคลากรทางการแพทย์ และ Nurses Connect ร่วมประชุมกับตัวแทนกระทรวงสาธารณสุข นำโดย นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ คณะกรรมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฏร นำโดย สุเทพ อู่อ้น ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เพื่อติดตามความคืบหน้าการกำหนดชั่วโมงการทำงานของแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ และหารือปัญหาที่เกี่ยวข้อง

LINE_ALBUM_221025_12.jpg

สืบเนื่องจาก ปัจจุบัน การทำงานของบุคลากรทางแพทย์ที่ทำงานกับรัฐบาล มีจำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่สูงมาก ทั้งในเวลาและเวรนอกเวลาราชการ จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2562 เรื่อง “ภาระงานและภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขและผลกระทบต่อผู้ป่วย” โดย รศ.นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ที่มีแพทย์ร่วมตอบแบบสอบถามมากถึง 1,105 คน พบว่า แพทย์กว่า 60% ทำงานเกิน 80 ส่วนพยาบาลไทยต้องทำงานเฉลี่ยมากถึง 71-80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งจำนวนชั่วโมงการทำงานนี้ถือว่าสูงเกินกว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนดไว้เป็นเท่าตัว ส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตใจของแพทย์และพยาบาลโดยตรง หลายคนต้องพบกับภาวะหมดไฟ หรือเป็นโรคซึมเศร้า แต่ไม่สามารถเลือกได้ว่าจะอยู่เวรหรือไม่ เนื่องจากหลายโรงพยาบาลมีตำแหน่งบุคลากรไม่เพียงพอ และจำเป็นต้องลาออกเนื่องจากไม่สามารถฝืนทำงานภายใต้แรงกดดันด้วยสภาพร่างกายที่อ่อนแรงได้ อย่างไรก็ตาม ผลเสียที่สำคัญที่สุด ก็คือความเสี่ยงต่อผู้ป่วยนั่นเอง

LINE_ALBUM_221025_7.jpg

ที่ผ่านมา บุคลากรทางการแพทย์ พยายามเรียกร้องให้มีการกำหนดชั่วโมงการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์มาอย่างยาวนาน โดยในการประชุมแต่ละครั้งได้ ผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ แพทยสภา สภาการพยาบาล และ กระทรวงสาธารณสุข ได้เข้ารับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นและข้อเสนอ แต่ในที่สุดแล้วก็ ยังไม่เคยมีข้อตกลงอย่างเป็นทางการ หรือมีการกำหนดเป็นกฎหมายควบคุมการทำงานแต่อย่างใด

เวลา 15.30 น. ภายหลังการหารือ นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สำหรับปัญหาในเรื่องของจำนวนและปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นนั้น รัฐบาลได้ดำเนินการเพิ่มจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ให้สอดคล้อง แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ปัจจุบัน ประเทศไทยมีแพทย์ที่อยู่ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขราว 38,000 คน เมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่มีประชากรใกล้เคียงกัน พบว่าประเทศเหล่านี้มีแพทย์อยู่หลักแสนคน ถือเป็นปัญหาสะสม ยืนยัน กระทรวงสาธารณสุขไม่ได้นิ่งนอนใจ ดังนั้น ข้อมูลจากที่ประชุมในวันนี้จะนำไปวางโรดแมปแก้ปัญหาทั้งในระยะสั้น-กลาง-ยาว ต่อไป

LINE_ALBUM_221025_4.jpg

นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังพูดถึงปัญหาค่าตอบแทนบุคลากรผู้ปฏิบัติงานที่ไม่เพียงพอ เช่น ค่าตอบแทนพยาบาลวิชาชีพ 240 บาท ซึ่งเป็นตัวเลขตั้งแต่ปี 2552 ทั้งที่ ปัจจุบันนี้ ค่าเงินเฟ้อขึ้นมาก จึงเป็นเรื่องที่ สธ. ต้องเร่งผลักดันและช่วยเหลือ เพราะอย่างน้อยถ้าเราไม่สามารถเพิ่มกำลังคนได้ ขวัญกำลังใจที่เกิดจากค่าตอบแทนก็เป็นเรื่องสำคัญ ส่วนปัญหาสุจภาพจิต สธ. มีนโยบายการทำแบบประเมินความสุขของบุคลากร หรือ Happinometer มาหลายปีแล้ว และจะยังคงดำเนินการต่อไป รวมถึงการพิจารณาเพิ่มสวัสดิการรูปแบบอื่นๆด้วย 

ด้าน ชุตินาถ ชินอุดมพร สพง. กล่าวว่า ลักษณะปัญหาการทำงานของบุคลากรจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ อย่างในพื้นที่ทุรกันดาร การทำงานติดต่อกัน 24 ชม. เป็นเรื่องปกติ แต่ว่าจะสามารถสูงสุดได้ถึง 48-72 ชม. โดยไม่มีเวลาพักผ่อน จึงเป็นสาเหตุที่ผู้ป่วยนอกรอพบแพทย์นาน เพราะเราต้องดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในแผนกด้วย และยังต้องทำงานทั้งใน-นอกเวลาราชการ ทั้งหมดเกิดจากปัญหาบุคลากรไม่เพียงพอ ทั้งในแง่การผลิตบุคลากร ตำแหน่งที่เปิดให้บรรจุ พ่วงด้วยปัญหาการกระจายบุคลากรที่ไม่ทั่วถึง 

ทั้งนี้ ข้อเรียกร้องหลักเรื่องการกำหนดช่วงโมงทำงานคือ 8-8-80 หมายถึง บุคลากรต้องได้รับการพักผ่อน 8 ชม. หลังเข้าเวรดึก หรือพักผ่อน 8 ชม. หลังทำงานติดต่อกัน 24 ชม. และไม่ควรทำงานติดต่อกันเกิน 80 ชม./สัปดาห์

LINE_ALBUM_221025_11.jpg

เมื่อถามว่า กรณี 30 บาทรักษาทุกโรคทำให้คนไข้ไม่ดูแลสุขภาพและมาหาหมอมากขึ้นจริงหรือไม่ ตามที่เป็นประเด็นในโซเชียลมีเดีย ชุตินาถ ตอบว่า มีส่วน แม้ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข จะมีนโยบายให้ประชาชนส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยโรคไม่หนักสามารถหาได้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) แต่ปัญหาคือ รพ.สต.ก็ขาดแคลนบุคลากรอยู่ ซึ่งนโยบายนี้ดี เพียงแต่ก็ต้องขับเคลื่อนมากขึ้น เพราะปัจจุบันคนเป็นหวัดยังมาหาหมอ รพ.ใหญ่ๆก็ยังมี แต่ส่วนตัวก็มองว่า ระบบ 30 บาทมีย่อมดี ทำให้คนเข้าถึงบริการ แต่ต้องพัฒนาในจุดต่างๆให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

“สิ่งสำคัญต้องแก้ปัญหาให้ตรงจุด มีระบบหลักประกันสุขภาพเป็นสิ่งที่ดี แต่ปัญหาเรื่องกำลังคน หมอ พยาบาล ก็ต้องผลิตและกระจายให้เพียงพอด้วย” ชุตินาถ กล่าวทิ้งท้าย