ไม่พบผลการค้นหา
อดีต รมว.คลัง แนะ แบงก์ชาติลดดอกเบี้ย เหตุทำเงินเฟ้อติดลบสามเดือนติด ธนาคารกำไรเกินปกติ 2.2​ แสนล้าน​บาท แต่เศรษฐกิจโตต่ำ คนจน ไม่มีงาน ขายของไม่ได้

8 ม.ค.​ 2567 ศ.ดร.สุชาติ​ ธา​ดา​ธำ​รง​เวช​ ศาสตราจารย์​ด้านเศร​ษฐศาสตร์​มหภาค​ อดีต​รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวงการคลัง​ แสดงความเห็นถึงกรณีที่ ​แบงก์ชาติ​ขึ้นดอกเบี้ยสูงเกินไป​ ทำให้เงินเฟ้อติดลบติดต่อกันมา​ 3 เดือนแล้ว​ หนสุดท้ายขึ้นดอกเบี้ย​ แม้เห็นตัวเลขเงินเฟ้อติดลบแล้ว​ ทำให้ระบบธนาคารพาณิชย์​มีกำไรมากเกินปกติกว่า​ 2.2​ แสนล้าน​บาท​ แต่ระบบเศรษฐกิจ​ไทยเติบโตต่ำเพียง​ 2.4% ในปี​ 2566 ประชาชนยากจนลง, คนไม่มีงานทำ, ขายของไม่ได้ แบงก์ชาติ​จึงควรหันมาดูแลประชาชน​ให้มากขึ้น

สุชาติ​ ระบุต่อว่า ดูเหมือนแบงก์ชาติจะต้องการกดความเจริญเติบโตทางเศร​ษฐกิจ​ โดยขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย​จนสูงเกินไป ทำให้เงินเฟ้อติดลบ​กว่า​ -​0.5% คิดเฉลี่ย 3 เดือนติดต่อกัน ต่ำกว่ากรอบ​เป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation ​targeting) 1-3% ที่ตกลงไว้กับรัฐบาล​ ความจริง ทั้งผู้ว่าการและคณะกรรมการ​นโยบายการเงิน​ ต้องแสดงความรับผิดชอบแล้ว

เขาย้ำว่า ระบบสถาบันการเงินของไทย​เอง ก็ค่อนข้างผูกขาด​ พอแบงก์ชาติ​ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย​ แบงก์พาณิชย​์ ก็ขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้มากๆ​ แต่ดอกเบี้ยเงินฝากขึ้นน้อยๆ​ ขยาย​ส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินกู้กับดอกเบี้ยเงินฝาก (Spread)​ ในโอกาสต่อไปข้างหน้า​ คณะกรรมการ​นโยบาย​สถาบันการเงิน​ คงต้องติดตาม, ดูแลให้เหมาะสม​ และรายงานเรื่อง​ Spread​ ต่อสาธารณชน​อย่างสม่ำ​เสมอ

วิธีการแก้ไขปัญหาในช่วงเวลานี้​ ก็คือ​ แบงก์ชาติ​ต้องลดดอกเบี้ย​ และเพิ่ม​ปริมาณเงิน (QE)​ ในระบบเ​ศรษฐกิจ รัฐบาลต้องเพิ่มการแข่งขัน​ในระบบแบงก์พาณิชย​์​ จากทั้งภายในและภายนอกประเทศ พร้อมกับพัฒนาตลาดเงินตลาดทุน​ ให้มีหลากหลายทางเลือกยิ่งขึ้น​ ไม่ขึ้นอยู่​กับแบงก์พาณิชย​์​ มากเกินไปเฉกเช่นทุกวันนี้

การลดดอกเบี้ยลง​ จะทำให้การลงทุนเอกชนเพิ่มขึ้น​ และยังทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง​ มีผลให้การส่งออกและการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น​ ซึ่งจะไปเพิ่มอัตราความเจริญเติบโตของชาติ​ (GDP growth)​ เพิ่มรายได้ประชาชน​ ทำให้มีเงินมา​บริโภคและออมเพิ่มขึ้น​ ลดหนี้ครัวเรือน​ รัฐบาลก็จะมีรายได้ภาษีเพิ่มขึ้น​ ลดหนี้ภาครัฐบาล กระผมจึงขอให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลาย​ เร่งรีบพิจารณา​ลดดอกเบี้ย