ไม่พบผลการค้นหา
ภาคประชาชน จี้ นายกฯ ทบทวนปัดตกร่างกฎหมายบำนาญแห่งชาติ ดูแลประชาชน 3,000 ต่อเดือนแบบถ้วนหน้า ชี้ถือเป็นการปฏิเสธความเห็นประชาชน

ที่หน้าประตู 3 ทำเนียบรัฐบาลเครือข่ายประชาชนเพื่อสวัสดิการ นำโดย นิมิตร์ เทียนอุดม, อภิวัฒน์ กวางแก้ว และ นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ นำมวลชนและตัวแทนเครือข่ายเดินทางมายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อให้ทบทวนการตัดสินใจที่ไม่ลงนามรับรองร่าง พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติฉบับประชาชน โดยมี สมพาศ นิลพันธ์ ที่ปรึกษาสำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้มารับหนังสือ

20210208_03.jpg

โดยก่อนยื่นหนังสือมีตัวแทนทั้งจากเครือข่ายสลัม 4 ภาค,เครือข่ายแรงงาน,ตัวแทนคนรุ่นใหม่และผู้สูงอายุ สลับกันปราศรัยยืนยันหลักการและความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนเบี้ยยังชีพชราภาพเป็นบำนาญแห่งชาติ และหลักการ "ลดความเหลื่อมล้ำด้วยบำนาญถ้วนหน้า" โดยเป็นบำนาญให้ประชาชนอายุ 60 ปีขึ้นไปเดือนละ 3,000 บาทต่อเดือน 

ตัวแทนภาคประชาชนบางส่วนมองว่า พล.อ.ประยุทธ์เพียงคนเดียวไม่มีความชอบธรรม ที่จะปัดตกร่างกฎหมายที่รวบรวมรายชื่อประชาชนมากกว่า 13,000 รายชื่อ ขณะที่นิมิตรระบุว่า นายกรัฐมนตรีมีหนังสือมาถึงตนว่าได้ปรากฏหมายดังกล่าวเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลังจากใช้เวลาพิจารณากว่า 1 ปี


ปฏิเสธความเห็นประชาชน

อภิวัฒน์ เป็นตัวแทนอ่านแถลงการณ์ ซึ่งมีใจความว่า เครือข่ายประชาชนและองค์กรแนวร่วม ขอประณามและคัดค้าน การบัญชาของพล.อ.ประยุทธ์ รวมทั้ง 7 หน่วยงานราชการ ที่ไม่รับรองร่างกฎหมายนี้หลังจากประธานรัฐสภาส่งให้นายกรัฐมนตรีลงนาม เนื่องจากเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเงิน ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะรับฟังหน่วยงานรัฐแล้วปัดตก โดยไม่ส่งร่างกฎหมายให้สภาฯพิจารณา ถือว่าเป็นการปฏิเสธความเห็นของประชาชนที่เป็นเจ้าของประเทศไทย และขอให้ประชาชนจับตามองและส่งเสียงถึงนายกรัฐมนตรีให้นำร่าง พ.ร.บ.บํานาญแห่งชาติฉบับประชาชนกลับมาพิจารณาใหม่โดยเร็ว

20210208_06.jpg

สำหรับวาทกรรม 'ทิชชู่' สืบเนื่องจากพล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์กรณีการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเปรียบเปรยกับของใช้ในบ้านซึ่งถึงเวลาต้องซ่อมบำรุง เช่นเดียวกับทิชชู่เมื่อเข้าห้องน้ำก็ต้องใช้

อ่านเพิ่มเติม