ท่ามกลางการระบาดของเชื้อไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตา ซึ่งพบครั้งแรกในประเทศอินเดีย ที่กำลังสร้างความกังวลแก่หลายประเทศอยู่ในขณะนี้นั้น ในขณะเดียวกันนักวิทยาศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ต่างก็กำลังให้ความสนใจและจับตาเป็นพิเศษต่อเชื้อโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่ที่เรียกว่าสายพันธุ์แลมบ์ดา (C.37) ซึ่งพบครั้งแรกในประเทศเปรูช่วงปลายปีที่แล้ว โดยไวรัสชนิดใหม่ดังกล่าวถูกตรวจพบระบาดแล้วใน 30 ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาติในกลุ่มละตินอเมริกา รวมถึงยังมีการพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ดังกล่าวแล้วในสหราชอาณาจักร และที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ของสหรัฐฯ
องค์การอนามัยโลกระบุถึงความสำคัญของตัวแปรเชื้อแลมบ์ดาไว้ในรายงานซึ่งเผยแพร่เมื่อ 15 มิถุนายนที่ผ่านมาว่า "พันธุ์แลมบ์ดามีความเกี่ยวข้องกับอัตราการแพร่เชื้อในชุมชนอย่างมีนัยยะสำคัญของหลายประเทศ โดยความถี่ของการพบเชื้อเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปพร้อมกับการกรณีการติดเชื้อพันธุ์ดังกล่าวที่เพิ่มขึ้น"
"แลมบ์ดามีลักษณะการกลายพันธุ์ในหลายส่วนโดยเฉพาะลักษณะของฟีโนไทป์ (รูปแบบปรากฏ) ที่มีลักษณะรูปร่าง การพัฒนา คุณสมบัติทางสรีรวิทยา และคุณสมทางเคมีที่เปลี่ยนไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะส่งผลให้ไวรัส มีการแพร่กระจายที่เพิ่มขึ้นหรือความต้านทางต่อแอนติบอดีที่เพิ่มขึ้น"
อย่างไรก็ตาม อนามัยโลกชี้ว่า ขณะนี้ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสพันธุ์แลมบ์ดาที่จำกัด และยังคงไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าการกลายพันธุ์นี้ส่งผลกระทบหรือมีนัยยะสำคัญในเชิงระบาดวิทยาอย่างไร จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม
องค์การอนามัยโลกกล่าวว่าขณะนี้มีหลักฐานจำกัดว่าผลกระทบของการกลายพันธุ์เหล่านี้จะหมายถึงอะไร และจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจวิธีควบคุมการแพร่กระจายและวิธีที่วัคซีนจะต้านทานตัวแปรดังกล่าวได้ดียิ่งขึ้น
สอดคล้องกับ ไจโร เมนเดช-ริโก นักไวรัสวิทยาของอนามัยโลก เผยกับสื่อของเยอรมนีว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่มีข้อบ่งชี้ใดๆ อย่างชัดเจนว่าตัวแปรแลมบ์ดามีอันตรายหรือนำไปสู่การเสียชีวิตที่สูงขึ้น
จนถึงขณะนี้องค์การอนามัยโลกได้กำหนดสถานะของแลมบ์ดาอยู่ใน “ตัวแปรที่น่าสนใจ” โดยขณะนี้อนามัยโลกยังเชื่อว่าสายพันธุ์ดังกล่าวเป็นภัยคุกคามน้อยกว่า "สายพันธุ์ที่น่ากังวล" ทั้งสี่ คืออัลฟ่า, เบตา, แกมมา และเดลตา ที่ตรวจพบในสหราชอาณาจักร, แอฟริกาใต้, บราซิลและอินเดียตามลำดับ สำหรับแลมบ์ดานั้นยังต้องได้รับการตรวจสอบ อย่างใกล้ชิด
ท่าทีของอนามัยโลกตรงข้ามกับล่าสุด (7 ก.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุขของอังกฤษ เปิดเผยว่าได้จัดให้ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์แลมบ์ดา (Lambda) มีอันตรายมากกว่าไวรัสสายพันธุ์เดลตา (Delta) ซึ่งมีการตรวจพบแล้วในกว่า 30 ประเทศในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา
กระทรวงสาธารณสุขอังกฤษ ระบุว่า ไวรัสสายพันธุ์แลมบ์ดาซึ่งตรวจพบครั้งแรกในเปรู ซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตจากโควิดสูงที่สุดในโลก โดยขณะนี้มีรายงานผู้ป่วยโควิดจากพันธุ์แลมบ์ดาแล้วถึง 6 รายในอังกฤษ ส่งผลให้บรรดานักวิจัยแสดงความกังวลว่าพันธุ์แลมบ์ดา มีความเสี่ยงจะแพร่เร็วกว่าเชื้อเดลตาซึ่งหลายชาติกำลังกังวลในขณะ ท่ามกลางนโยบายใหม่ของรัฐบาลสหราชอาณาจักรที่เตรียมผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์เกือบทั้งหมด เพื่อปูทางให้ประชาชนเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับชีวิตวิถีใหม่ที่อยู่ร่วมกับโควิด บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่ารัฐบาลได้แจกจ่ายวัคซีนแก่ประชากกรส่วนใหญ่ของประเทศแล้ว ทั้งจะเร่งกระบวนการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมมากขึ้นในอนาคต
โคโรนาไวรัสสายพันธุ์แลมบ์ดา หรือ (C.37) ริ่มพบระบาดครั้งแรกในเปรูตั้งแต่ช่วงปลายปี 2653 พาโบล สึคายามะ แพทย์ด้านจุลชีววิทยาระดับโมเลกุล แห่งมหาวิทยาลัยคาเยตาโน เฮเรเดีย ในกรุงลิมา เปิดเผยว่าไวรัสสายพันธุ์นี้ ได้รับการบันทึกข้อมูลครั้งแรกในเดือนธันวาคม ซึ่งในตอนนั้นพบผู้ติดเชื้อเพียง 1 คน จากการตรวจสอบตัวอย่างจากผู้ติดเชื้อ 200 คน
ทว่าในเดือนมีนาคม อัตราการระบาดของไวรัสสายพันธุ์นี้เพิ่มเป็นราว 50% โดยข้อมูลจากองค์การสุขภาพของภาคพื้นอเมริกา (PAHO) ระบุว่า เกือบ 82% ของผู้ติดเชื้อไวรัสโควิดในเปรูนั้นเป็นไวรัสโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาในช่วงเดือนพ.ค-มิ.ย. นอกจากนี้ ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างชิลีพบว่าการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์นี้คิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ เช่นเดียวกับเอกวาดอร์และอาร์เจนตินา ที่กำลังมีการระบาดอย่างรวดเร็วของไวรัสสายพันธุ์นี้
เปรูเป็นประเทศหนึ่งที่มีอัตราการเสียชีวิตจากโควิดมากที่สุดในโลก แต่ยังไม่ชัดเจนว่าการเสียชีวิตส่วนใหญ่นั้นเป็นเพราะตัวแปรสายพันธุ์จากสายพันธุ์แลมบ์ดาหรือไม่ อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญหลายคนเปิดเผยผลการศึกษาที่สอดคล้องกันว่า สายพันธุ์แลมบ์ดานั้นมีอัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อที่สูงกว่า โควิดสายพันธุ์อื่นๆ รวมถึงเดลตา ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 38%
คำเตือนของสาธารณสุขอังกฤษสอดคล้องกับข้อมูลจากสาธารณสุขมาเลเซียที่เตือนเช่นกันว่า เชื้อโควิดแลมบ์ดานั้นอันตรายกว่าเชื้อโควิดเดลต้า
มาเลเซียระบุข้อมูลเบื้องต้นของเชื้อแลมบ์ดาดังนี้
อนามัยโลกระบุข้อมูลแลมบ์ดาเบื้องต้นดังนี้