ไม่พบผลการค้นหา
ธนวัฒน์ วงศ์ไชย เผยยื่นใบลาออกจากตำแหน่งประธานสภานิสิตจุฬาฯ แล้ว เพื่อประท้วงกรรมการสภาจุฬาฯ เลี่ยงก.ม.เปิดทรัพย์สินของ ป.ป.ช. สะท้อนความไม่โปร่งใส โดยจะมีผลตั้งแต่วันนี้ (19 พ.ย. 2561)

นายธนวัฒน์ วงค์ไชยประธานนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่าได้ยื่นตำแหน่งลาออกจากตำแหน่งประธานนิสิต และมีผลทันทีในวันนี้ จากกรณีกรรมการสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบางรายไม่ยอมยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ให้ทางคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบ

ดังนั้นเห็นว่ากรณีดังกล่าวได้สร้างความเสื่อมเสียให้เกียรติภูมิจุฬา ฯ เป็นอย่างยิ่ง เพราะทั้งตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัย และอธิการบดีนั้นมีอำนาจหน้าที่ข้องเกี่ยวกับงบประมาณของมหาวิทยาลัย ควรจะแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินให้ตรวจสอบเพื่อความโปร่งใสและบริสุทธิ์ใจอยู่แล้ว

จากกรณีที่กรรมการสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบางท่านหลีกเลี่ยงไม่ยอมยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ให้ทางคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบ ผมเห็นว่ากรณีดังกล่าวได้สร้างความเสื่อมเสียให้เกียรติภูมิจุฬา ฯ เป็นอย่างยิ่ง เพราะทั้งตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัย และอธิการบดีนั้นมีอำนาจหน้าที่ข้องเกี่ยวกับงบประมาณของมหาวิทยาลัย ควรจะแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินให้ตรวจสอบเพื่อความโปร่งใสและบริสุทธิ์ใจอยู่แล้ว 

เมื่อมีกระแสว่าหลายท่านเลือกที่จะลาออก เพื่อหนีการตรวจสอบ ตนก็ขอลาออกเพื่อประท้วงพฤติกรรมไม่โปร่งใสของกรรมการหลายท่านเหล่านั้น และขอให้ใบลาออกจากตำแหน่งของตนสะกิดใจ ให้กรรมการสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเหล่านั้นรักษาเกียรติภูมิของจุฬาฯ ไม่ให้เป็นที่ดูถูกเหยียดหยามว่าจุฬา ฯ ต่อต้านการตรวจสอบหรือสนับสนุนการทุจริต ทั้งที่นิสิตและบุคลากรจำนวนมากเคยรณรงค์ต่อต้านการทุจริตในภาครัฐมาก่อนครับ

อดีตประธานนิสิตฯ ระบุเพิ่มเติมว่า ตลอดระยะเวลาเกือบ 6 เดือน ที่ผมได้ดำรงตำแหน่งประธานสภานิสิต ตนได้พยายามทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิและส่งเสริมสวัสดิการของนิสิตอย่างถึงที่สุดแล้ว แม้ในหลายๆ ครั้ง ฝ่ายผู้บริหารมหาวิทยาลัยจะไม่เข้าใจหรือไม่เป็นใจ

ดังเช่นกรณีเวลาเข้าออกหอพักนิสิตจุฬา ฯ ที่เป็นข่าวเมื่อเดือนกรกฎาคมนั้น จนถึงทุกวันนี้ ผู้บริหารก็ยังคงไม่ตอบหนังสือที่สภานิสิตได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาไว้ ก่อนหน้านี้ตนและสภานิสิตก็ได้ผลักดันให้แก้ไขระเบียบสโมสรนิสิตจุฬา ฯ เพื่อลดอำนาจอาจารย์ เพิ่มอำนาจนิสิตในการจัดกิจกรรมและผลักดันสิทธิสวัสดิการเพิ่มเติม ก็ยังคงไม่มีความคืบหน้าจากฝ่ายผู้บริหารเท่าที่ควร

"สุดท้าย ผมยังคงเชื่อว่า “เกียรติภูมิจุฬา ฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน” และจะยึดถือตามนี้ ไม่ว่าในตำแหน่งและสถานะใด การรับใช้ประชาชนไม่จำเป็นต้องรอให้เราเรียนจบ แต่การรับใช้ประชาชนสามารถทำได้แม้ขณะที่เป็นนิสิตจุฬาฯ คนหนึ่ง และเมื่อเราจะรับใช้ประชาชน เราจะต้องรับใช้ประชาชนอย่างแท้จริง มิใช่รับใช้เพื่อแสวงหาอภิสิทธิ์ภายใต้หน้ากากคนดีครับ" อดีตประธานนิสิตจุฬาฯ ระบุ