ไม่พบผลการค้นหา
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานยังมีสถานการณ์อุทกภัยใน 9 จังหวัด พร้อมเร่งช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยโดยเร็ว

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย รายงานอิทธิพลของพายุโซนร้อน “เซินติญ” และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่วันที่ 17 ก.ค. – 4 ส.ค. 2561 ทำให้เกิดสถานการณ์ภัยใน 27 จังหวัด สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 18 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 9 จังหวัด ได้แก่ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี บึงกาฬ สกลนคร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ แลละยโสธร ซึ่ง ปภ. ได้ร่วมกับหน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงแจกจ่ายถุงยังชีพและเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้ประสบภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นแล้ว

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดี ปภ. เปิดเผยว่า อิทธิพลของพายุโซนร้อน “เซินติญ” และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 2561 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มใน 27 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ตาก เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พิจิตร นครสวรรค์ ตราด แพร่ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก ประจบคีรีขันธ์ ระนอง เพชรบุรี ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ อำนาจเจริญ พะเยา เชียงราย กาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี บึงกาฬ สกลนคร ร้อยเอ็ด และยโสธร รวม 85 อำเภอ 303 ตำบล 1,941 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 37,701 ครัวเรือน 99,629 คน ผู้เสียชีวิต 1 ราย สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 18 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 9 จังหวัด รวม 51 อำเภอ 246 ตำบล 1,745 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 34,054 ครัวเรือน 89,241 คน ได้แก่

นครพนม น้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ 12 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครพนม อำเภอเรณูนคร อำเภอปลาปาก อำเภอท่าอุเทน อำเภอโพนสวรรค์ อำเภอธาตุพนม อำเภอบ้านแพง อำเภอนาแก อำเภอวังยาง อำเภอศรีสงคราม อำเภอนาหว้า และอำเภอนาทม รวม 90 ตำบล 878 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 12,256 ครัวเรือน 26,898 คน พื้นที่การเกษตรคาดว่าได้รับความเสียหาย 179,704 ไร่ ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น 

มุกดาหาร น้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอดงหลวง อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอดอนตาล อำเภอหว้านใหญ่ อำเภอหนองสูง และอำเภอคำชะอี รวม 52 ตำบล 406 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 11,443 ครัวเรือน 38,355 คน พื้นที่การเกษตรคาดว่าได้รับความเสียหาย 28,582 ไร่ ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว

อำนาจเจริญ น้ำในลำน้ำโขงล้นตลิ่งในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ อำเภอเสนางคนิคม อำเภอหัวตะพาน อำเภอลืออำนาจ และอำเภอชานุมาน รวม 8 ตำบล 29 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 533 ครัวเรือน 1,922 คน พื้นที่การเกษตรคาดว่าได้รับความเสียหาย 5,548 ไร่ ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว 

อุบลราชธานี น้ำในแม่น้ำโขงล้นตลิ่งในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเขมราฐ อำเภอโพธิ์ไทร อำเภอโขงเจียม อำเภอนาตาล อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอเขื่องใน รวม 14 ตำบล 86 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,627 ครัวเรือน 4,163 คน อพยพ 43 ครัวเรือน 215 คน พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะได้รับผลกระทบ 4,835 ไร่ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง 

บึงกาฬ น้ำในแม่น้ำโขงล้นตลิ่งในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอบุ่งคล้า อำเภอศรีวิไล อำเภอโซ่พิสัย และอำเภอปากคาด รวม 16 ตำบล 79 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 309 ครัวเรือน 2,702 คน พื้นที่การเกษตรคาดว่าได้รับความเสียหาย 2,706 ไร่ ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว 

สกลนคร น้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอเต่างอย อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอเมืองสกลนคร อำเภอโคกศรีสุพรรณ และอำเภอพรรณานิคม รวม 9 ตำบล 14 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 146 ครัวเรือน 473 คน ผู้เสียชีวิต 1 ราย นาข้าวเสียหาย 240 ไร่ ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว 

ร้อยเอ็ด น้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเสลภูมิ และอำเภอโพนทอง รวม 15 ตำบล 80 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,971 ครัวเรือน 9,534 คน ปัจจุบันระดับน้ำลดลง 

กาฬสินธุ์ น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอกมลาไสย และอำเภอฆ้องชัย รวม 18 ตำบล 68 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 877 ครัวเรือน 1,646 คน ปัจจุบันระดับน้ำลดลง 

ยโสธร น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองยโสธร อำเภอไทยเจริญ อำเภอป่าติ้ว อำเภอกุดชุม และอำเภอคำเขื่อนแก้ว รวม 24 ตำบล 105 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,892 ครัวเรือน 3,548 คน ปัจจุบันระดับน้ำในลุ่มน้ำเซบายลดลง ส่วนระดับน้ำในลุ่มน้ำชีทรงตัว 

ทั้งนี้ ปภ. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงแจกจ่ายถุงยังชีพและเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้ประสบภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นแล้ว ท้ายนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป