ไม่พบผลการค้นหา
“รองนายกฯสมศักดิ์” สั่งเกาะติดสถานการณ์แล้ง หลังลงพื้นที่ชุมชนโต๊ะบาหลิวเกาะลันตา มอบ สทนช. จับมือ วว. นำร่องใช้เทคโนโลยีผลิตน้ำประปาจากน้ำฝนมาแก้ปัญหาน้ำกร่อย สร้างความมั่นคงด้านน้ำให้ชุมชนและภาคการท่องเที่ยว พร้อมเดินหน้าลงพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งทั่วประเทศ แก้ปัญหาในเชิงรุก ป้องกันเหตุก่อนเกิดภัย

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า จากการที่ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่เพื่อติดตามสถานการณ์พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ณ ชุมชนโต๊ะบาหลิว ตำบลศาลาด่าน อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เมื่อเร็วๆ นี้ และพบว่า ชุมชนโต๊ะบาหลิวประสบปัญหาคุณภาพน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภคที่ใช้มาตั้งแต่เดิมนั้นเป็นน้ำกร่อย ส่วนระบบประปาที่นำมาใช้ มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ รองนายกฯ จึงได้มอบหมายให้ สทนช. นำข้อจำกัดด้านน้ำของชุมชนมาพิจารณาเพื่อหาแนวทางแก้ไขโดยเร่งด่วน

ทั้งนี้ ชุมชนโต๊ะบาหลิว ตั้งอยู่บนเกาะลันตา เป็นพื้นที่ที่ล้อมรอบด้วยน้ำเค็มและมีปริมาณฝนตกเฉลี่ยมากกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปี แต่ชาวบ้านไม่มีแหล่งเก็บน้ำเป็นของตัวเอง จึงประสบปัญหาด้านน้ำดังกล่าว สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหา สทนช. เตรียมหารือกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เพื่อพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพน้ำต้นทุนของชุมชน โดยการนำเทคโนโลยีการผลิตน้ำประปาจากน้ำฝนเข้ามาติดตั้งให้ชุมชน นอกจากจะช่วยสร้างความมั่นคงด้านน้ำให้ชาวบ้านกว่าร้อยครัวเรือน รวมถึงความมั่นคงด้านน้ำให้กับภาคการท่องเที่ยวในหมู่เกาะลันตาแล้ว ยังเป็นการนำเทคโนโลยีสีเขียวเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกด้วย

269950_0.jpg

“สทนช. ร่วมกับ วว. จะเร่งนำเทคโนโลยีการผลิตน้ำประปาจากน้ำฝนเข้ามาติดตั้งให้ชุมชนโต๊ะบาหลิว เพื่อแก้ไขปัญหาตามข้อสั่งการของรองนายกฯ และจะใช้เป็นพื้นที่นำร่องต้นแบบให้กับชุมชนที่ประสบปัญหาด้านน้ำในลักษณะเดียวกัน ซึ่งนอกจากจะแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นการขยายผลพื้นที่ชุมชนสีเขียวในระดับตำบล อำเภอ จนถึงระดับจังหวัดอีกด้วย” เลขาธิการ สทนช. กล่าว

ในส่วนการติดตาม 9 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/67 สทนช. ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ีมีความเสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในเชิงรุก จนสามารถป้องกันพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น พื้นที่อำเภอโพธิ์ไทรและอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งนายกรัฐมนตรี (นายเศรษฐา ทวีสิน) มีความเป็นห่วงประชาชนขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค โดยปัจจุบันกรมทรัพยากรน้ำได้ดำเนินการสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคแล้ว โดยสูบจากแหล่งน้ำกุดเป่ง ส่งไปยังแหล่งน้ำห้วยกาหลง ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ระยะทาง 750 เมตร นอกจากนี้ ในพื้นที่หมู่ 8 ตำบลโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา กรมทรัพยากรน้ำได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำจากสระดอนทะยิงไปเติมแหล่งน้ำดิบผลิตประปาหมู่บ้านแล้วจำนวน 30,000 ลูกบาศก์เมตร สามารถช่วยเหลือประชาชนให้มีน้ำอุปโภคบริโภคใช้เพียงพอตลอดฤดูแล้งนี้อย่างแน่นอน

269948_0.jpg


“ในช่วงฤดูแล้งปีนี้ ซึ่งประเทศไทยยังอยู่ในสภาวะเอลนีโญ สทนช. ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตาม 9 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/67 อย่างเคร่งครัด พร้อมวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์น้ำที่เป็นปัจจุบัน และคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์น้ำฝนน้ำท่าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อเตรียมปรับแผนจัดสรรน้ำให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ ใข้องในการขับเคลื่อนมาตรการรองรับฤดูแล้งในเชิงรุก ทั้งกรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัห้มีน้ำเพียงพอต่อทุกกิจกรรมการใช้น้ำตลอดทั้งปี โดย สทนช. ยังคงเดินหน้าบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวพยากรน้ำบาดาล กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยวางแผนในการลงพื้นที่จังหวัดลำปาง นครสวรรค์ สุพรรณบุรี ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น สกลนคร และนครพนม ซึ่งเป็นการทำงานในเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุภัยแล้ง ลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนให้เหลือน้อยที่สุด” เลขาธิการ สทนช. กล่าวทิ้งท้าย

269945_0.jpg269946_0.jpg269951_0.jpg