รัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยจะประกันสิทธิเสรีภาพไว้หลายประการ เช่น ประชาชนย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การแสดงออก การชุมนุมโดยสงบ การนับถือศาสนา การตั้งพรรคการเมือง และอื่นๆ
ขณะเดียวกัน รัฐธรรมนูญก็จะวางกลไกป้องกันตัวเอง (Militant Democracy) ไม่ให้เสรีภาพที่ให้ประชาชนย้อนกลับมาทำลายรัธรรมนูญหรือระบอบการปกครองของรัฐธรรมนูญนั้น และนี่คือหน้าที่ของ รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 49 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่อยู่ในหมวด 3 ว่าด้วยการใช้สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
มาตรา 49 บัญญัติเพียงว่า “บุคคลจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้"
การตีความมาตรา 49 นั้นขึ้นอยู่กับศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีอำนาจสั่งให้ยุติการกระทำที่ศาลเห็นว่าเป็น ‘การล้มล้างการปกครอง’ ได้
ในรัฐธรรมนูญฉบับอื่นๆ อาทิ รัฐธรรมนูญปี 2495 หรือรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 ก็มีการบัญญัติมาตราในลักษณะนี้
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ไม่เคยชัดเจนคือ นิยามของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขคืออะไร แล้ว ‘การล้มล้างการปกครอง’ นั้นหมายถึงอะไร
เราลองมาดูกันว่า กรณีถูกร้องด้วยข้อหา ‘ล้มล้างการปกครอง’ ที่ผ่านมา มีเหตุแห่งการฟ้องร้อง และแนวคำวินิจฉัยอะไรที่น่าสนใจบ้าง
ปีที่ตัดสินคดี - 2563
ผู้ร้อง - ณฐพร โตประยูร
ผู้ถูกร้อง - พรรคอนาคตใหม่, ธนาธร จึงรุงเรืองกิจ, ปิยบุตร แสงกนกกุล และคณะกรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่
เหตุแห่งการร้อง
คำวินิจฉัย - ไม่มีความผิด
เหตุผลในคำวินิจฉัย
สรุป
คดีนี้เริ่มต้นจาก ณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อ 15 พ.ค.2562 กล่าวหาพรรคอนาคตใหม่ว่า ‘มีแนวคิดและเจตนาล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข’ โดยขอให้ศาลมีคำสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ รวมทั้งเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของ ธนาธร ,ปิยบุตร และกรรมการบริหารพรรค
ตอนแรก ณฐพร ไปร้องต่ออัยการสูงสุดแล้ว แต่อัยการสูงสุดไม่ดำเนินการภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ ผู้ร้องจึงไปยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องและไม่เปิดให้มีการไต่สวนพยาน ทำให้พยานหลักฐานที่จะใช้ในการพิจารณาคดีหลักๆ มีเพียงคำร้องของณฐพรและเอกสารชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาจากพรรคอนาคตใหม่เท่านั้น
"ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเห็นว่า คดีนี้มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้โดยไม่จำเป็นต้องทำการไต่สวน ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง จึงมีคำสั่งไม่รับคำร้องขอทั้งสองฉบับ" ศาลรัฐธรรมนูญระบุ
ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัยโดยใช้เวลาประมาณ 10 นาที มีข้อสรุปว่า ข้อกล่าวหาทั้งหมดไม่เป็นการกระทำที่ล้มล้างการปกครองแต่อย่างใด
“ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยวา การกระทําของผูถูกรองทั้งสี่ ตามที่ผูร้องกล่าวอ้างไม่เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๔๙ วรรคหนึ่ง” คําวินิจฉัยระบุ
ปีที่ตัดสินคดี - 2564
ผู้ร้อง - ณฐพร โตประยูร
ผู้ถูกร้อง - อานนท์ นำภา, ภาณุพงศ์ จาดนอก, ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล
เหตุแห่งการร้อง - เนื่องจากการปราศรัยของผู้ถูกร้องทั้ง 3 บนเวที ‘ธรรมศาสตร์จะไม่ทน’ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วันที่ 10 สิงหาคม 2563 ผู้ร้องเห็นว่าการปราศรัยในวันเวลาและสถานที่ต่างๆ ของคณะบุคคลดังกล่าว มีเนื้อหาบิดเบือน จาบจ้วง ล้อเลียน หมิ่นพระบรมเดชานุภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างรุนแรง เป็นการกระทำมีเจตนาล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ได้บรรยายคำฟ้องของจำเลยที่ 1 คือ อานนท์ นำภา, จำเลยที่ 2 ภาณุพงศ์ จาดนอก และจำเลยที่ 3 ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล โดยวารสาร 'จุลนิติ' ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้สรุปไว้ดังนี้
คำวินิจฉัย - มีความผิด
เหตุผลในคำวินิจฉัย
สรุป
10 พ.ย. 2564 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกนั่งบัลลังก์เพื่ออ่านคำวินิจฉัย ระบุว่า การใช้สิทธิเสรีภาพของผู้ถูกร้องทั้ง 3 คน ไม่เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย เป็นการอ้างสิทธิเสรีภาพเพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึงหลักเสมอภาค โดยคำวินิจฉัยสรุปได้ว่า
การใช้สิทธิหรือเสรีภาพเรียกร้องเพื่อให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยพระราชสถานะขอพระมหากษัตริย์ ที่ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและอยู่เหนือความรับผิดชอบทางการเมืองตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนููญที่ว่า พระมหากษัตริย์ทรงกระทำผิดมิได้ และให้มีการยกเลิกกฎหมายที่ห้ามผู้ใดล่วงละเมิด หมิ่นประมาท หมิ่นพระบรมเดชานุภาพสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายดังกล่าวจะส่งผลให้สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่อยู่ในสถานะที่เคารพสักการะอันนําไปสู่การสร้างความ ปั่นป่วนและความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพที่เกินความพอเหมาะ พอควรโดยมีผลทำให้กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน และจะนําไปสู่การบ่อนทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในที่่สุด ทั้งนี้ เพราะพระมหากษัตริย์กับชาติไทย ดำรงอยู่คู่กันเป็นเนื้อเดียวกันนับแต่อดีตถึงปัจจุบัน และจะดำรงอยู่ด้วยกันต่อไปในอนาคต แม้ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแล้ว ปวงชนชาวไทยยังเห็นพ้องร่วมกันอัญเชิญพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นสถาบันหลักคู่ชาติไทยและถวายความเคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้
ข้อเรียกร้องที่ให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ให้ การรับรองพระราชสถานะขององค์พระมหากษัตริย์ว่าทรงเป็นประมุุขของรัฐที่ผู้ใดจะกล่าวหาหรือละเมิดมิได้นั้น จึงเป็นการกระทำที่มีเจตนาทำลายล้างสถาบันพระมหากษัตริย์โดยชัดแจ้ง
การกระทำ ของผู้ถูกร้อง เป็นการเซาะกร่อนบ่อนทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การออกมาเรียกร้องโจมตีในที่สาธารณะโดยอ้างการใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนููญ นอกจากเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง ใช้ถ้อยคําหยาบคาย และยังไปละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของประชาชนอื่นที่เห็นต่างด้วย อันจะเป็นกรณีตัวอย่างให้บุคคลอื่นกระทำตาม
ยิ่งกว่านั้น การกระทำของผู้ มีการดําเนินงานอย่างเป็นขบวนการเพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย แม้การปราศรัยของผู้ถููกร้อง เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ณ เวทีธรรมศาสตร์จะไม่ทน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศููนย์รังสิต จังหวัดปทุุมธานี จะผ่าน ไปแล้ว ภายหลังจากที่ผู้ร้องยื่นคําร้องต่อศาลรัฐธรรมนููญ ยังปรากฏว่า ผู้ถููกร้อง ยังคงร่วมชุมนุมกับกลุ่มบุคคลกลุ่มต่างๆ โดยใช้ยุทธวิธีเปลี่ยนแปลงรูปแบบการชุมนุม วิธีการชุมนุม เปลี่ยนตัวบุุคคลผู้ปราศรัย ใช้กลยุุทธ์เป็นแบบไม่มีแกนนําที่ชัดเจน แต่มีรูปแบบการกระทำอย่างต่อเนื่องโดยกลุ่มคนที่มีแนวคิดเดียวกัน การเคลื่อนไหวของผู้ถูกร้องและกลุ่มเครือข่ายที่เกี่ยวข้องมีลักษณะเป็นขบวนการที่มีเจตนาเดียวกันตั้งแต่แรก ผู้ถูกร้องมีพฤติการณ์กระทำซ้ำและกระทำต่อไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีลักษณะของการปลุกระดมและใช้ข้อมูลที่เป็นเท็จ มีลักษณะของการที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายและใช้ความรุนแรงในสังคม
ปรากฏข้อเท็จจริงประจักษ์ว่า การกระทำของผู้ถูกร้อง มีการจัดตั้งกลุ่มในลักษณะองค์กรเครือข่ายกระทำการใช้ความรุนแรงต่อเนื่อง บางเหตุุการณ์ ผู้ถูกร้องมีส่วนจุดประกายโดยการปราศรัยปลุุกเร้าให้เกิดความรุนแรงในบ้านเมือง ทำให้้เกิดความแตกแยก ของคนในชาติ อันเป็นการทำลายหลักการความเสมอภาค และภราดรภาพ ผลของการกระทำของผู้ถูกร้อง นําไปสู่การล้มล้างระบอบประชาธิปไตยในที่สุด
นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงยังปรากฏว่า การชุุมนุุมหลายครั้ง มีการทำลายพระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ การแสดงออกโดยลบ แถบสีน้ำเงินซึ่งหมายถึงองค์พระมหากษัตริย์ออกจากธงไตรรงค์ ข้อเรียกร้อง 10 ประการ ของผู้ถูกร้อง เช่น การยกเลิกมาตรา 6 ของรัฐธรรมนููญ การยกเลิกการบริจาค และรับบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศล การยกเลิกพระราชอำนาจในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในที่สาธารณะ เป็นข้อเรียกร้องที่ทำให้สถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่เป็นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของชาติไทยที่ยึดถือปฏิบัติกันตลอดมา ทั้งพฤติการณ์และเหตุการณ์ ต่อเนื่องจากการกระทำของผู้ถูกร้อง แสดงให้เห็นมููลเหตุจูงใจของผู้ถูกร้อง ว่าการใช้สิทธิหรือเสรีภาพของผู้ถูกร้อง มีเจตนาซ่อนเร้นเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ใช่เป็็นการปฏิรูป
ศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก จึงวินิจฉัยว่า การกระทำของทั้ง 3 คน ‘เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข’ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง และสั่งการให้ทั้ง 3 คน รวมทั้งกลุ่มองค์กรเครือข่ายเลิกกระทำการดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตด้วยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคสอง
ในคดีนี้ มีหลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยและข้อสังเกต ต่อปัญหาในทางกฎหมายในการพิจารณาคดีไว้หลายประการ อาทิ
ปีที่ตัดสินคดี - 2556
ผู้ร้อง - เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ, สิงห์ทอง บัวชุม, กิตติ อธินันท์ และ วิชาญ นุ่มมาก
ผู้ถูกร้อง - สุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำ กปปส.
เหตุแห่งการร้อง - การกระทำบุกยึดสถานที่ราชการ เสนอตั้งสภาประชาชน ให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากการรักษาการ ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำ กปปส. เข้าข่ายเป็นการกระทำล้มล้างการปกครองและกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิถีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่
คำวินิจฉัย - ไม่รับคำร้อง
เหตุผลในคำวินิจฉัย - ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า การชุมนุมของประชาชนตามคำร้อง เป็นการใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ เพื่อแสดงเจตนารมณ์ทางการเมือง โดยมีเหตุผลมาจากความไม่ไว้วางใจในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล ถือเป็นการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และเป็นการเรียกร้องและแสดงพลังด้วยการสนับสนุนของประชาชนจำนวนมาก ประกอบกับสถานการณ์ตามคำร้องได้พัฒนาไปสู่การยุบสภาและเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งแล้ว ไม่มีมูลตามคำร้องดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของมาตรา 68
สรุป
คดีนี้ เริ่มจากการที่ เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต สว.สรรหา, สิงห์ทอง บัวชุม สมาชิกพรรคเพื่อไทย กิตติ อธินันท์ และ วิชาญ นุ่มมาก ยื่นคำร้องรวม 7 คำร้อง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การกระทำบุกยึดสถานที่ราชการ เสนอตั้งสภาประชาชน ให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากการรักษาการ ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำ กปปส. เข้าข่ายเป็นการกระทำล้มล้างการปกครองและกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิถีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่
ต่อมา 26 ธ.ค.สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเผยแพร่เอกสารข่าวระบุว่าคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติ ‘ไม่รับคำร้อง’ เนื่องจากเห็นว่า การชุมนุมของประชาชนตามคำร้อง เป็นการใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ เพื่อแสดงเจตนารมณ์ทางการเมือง โดยมีเหตุผลมาจากความไม่ไว้วางใจในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล ถือเป็นการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และเป็นการเรียกร้องและแสดงพลังด้วยการสนับสนุนของประชาชนจำนวนมาก ประกอบกับสถานการณ์ตามคำร้องได้พัฒนาไปสู่การยุบสภาและเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งแล้ว ไม่มีมูลตามคำร้องดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของมาตรา 68 ส่วนกรณีการออกหมายจับ นายสุเทพ และพวกเป็นเรื่องที่ผู้ต้องรับผิดชอบในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย
ปีที่ตัดสินคดี - 2556
ผู้ร้อง - พลเอกสมเจตน บุญถนอม กับคณะ, วิรัตน์ กัลยาศิริ, สาย กังกเวคิน กับคณะ, พีระพันธุ สาลีรัฐวิภาค กับคณะ
ผู้ถูกร้อง - ประธานรัฐสภา, รองประธานรัฐสภา, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา
เหตุแห่งการร้อง
คำวินิจฉัย - มีความผิด แต่ไม่ยุบพรรค
เหตุผลในคำวินิจฉัย
สรุป
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2556 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ทูลเกล้าฯ ถวายร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมเรื่องรูปแบบของสมาชิกวุฒิสภา (สว.) อย่างเช่นการแก้ไขคุณสมบัติและให้ ส.ว. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
กระทั่งเรื่องการแก้ไขที่มา ส.ว. ถูกร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าประธานรัฐสภา สส. และ สว.ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขที่มา ส.ว. ในขณะนั้นใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมทั้งขอให้ยุบพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้อง ตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 68
ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้อง ด้วยเหตุว่าที่มาของ ส.ว.ดังกล่าว อาจเข้าข่ายเป็นการทำลายระบบตรวจสอบและถ่วงดุลตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2550 จึงอาจจะเป็นการกระทําเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2556 ด้วยมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 4 เสียง วินิจฉัยว่าการแก้ไขที่มา ส.ว. มีเนื้อความที่เป็นสาระสําคัญขัดแย้งต่อหลักการพื้นฐานและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 อันเป็นการกระทําเพื่อให้ผู้ถูกร้องทั้งหมดได้มาซึ่งอํานาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 68
ส่วนในกรณียุบพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องศาลเห็นว่ายังไม่เข้าเงื่อนไข จึงให้ยกเลิกคำร้องในส่วนนี้
ทั้งนี้ มาตรา 68 วรรค 1 ในรัฐธรรมนูญ ปี 2550 บัญญัติว่า บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้
และได้กำหนดให้สามารถเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าวได้ และศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้ ซึ่งหากศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมือง ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบ
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 6 ต่อ 3 วินิจฉัยให้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของสว.จากการแต่งตั้ง ให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ ศาลรัฐธรรมนูญยังมีมติ 5 ต่อ 4 วินิจฉัยว่า เนื้อความที่เป็นสาระสำคัญ ขัดแย้งต่อหลักการพื้นฐานและเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ 2550 “เป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”
ส่วนในกรณียุบพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องศาลเห็นว่ายังไม่เข้าเงื่อนไข จึงให้ยกเลิกคำร้องในส่วนนี้
ปีที่ตัดสินคดี - 2562
ผู้ร้อง - กกต.
ผู้ถูกร้อง - พรรคไทยรักษาชาติ
เหตุแห่งการร้อง
คำวินิจฉัย - ยุบพรรคไทยรักษาชาติ ตัดสิทธิ์ทางการเมืองผู้บริหารพรรค
เหตุผลในคำวินิจฉัย
สรุป
คดีนี้ เกิดขึ้นในช่วงระหว่างการประกาศพระราชกฤษฎีกา ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป 2562 โดยเกิดเหตุการณ์สำคัญ จากกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช) ซึ่งมีผลให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งแบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตเลือกตั้งมีผลให้ถูกยกเลิกไปก่อนที่จะถึงวันลงคะแนนเลือกตั้ง
เหตุการณ์นี้ เริ่มจากพรรคไทยรักษาชาติ ได้เสนอพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นนายกรัฐมนตรีในบัญชีของพรรคการเมือง ทำให้ กกต. พิจารณาคำร้องที่ขอให้ตรวจสอบว่าการกระทำดังกล่าวของพรรคไทยรักษาชาติเข้าข่ายผิดพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 92 (2) กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือไม่
ต่อมา ที่ประชุม กกต.เมื่อ 12 ก.พ.2562 มีมติว่า การกระทำดังกล่าว เป็นเหตุให้ต้องยื่นศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยสั่งยุบพรรคการเมืองได้ต่อไป ซึ่งมติของ กกต.เกิดขึ้นหลังจากมีพระราชโองการ ประกาศสถาบันพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งประกาศเผยแพร่ต่อสาธารณชนในวันที่ 8 ก.พ.2562
ต่อมาวันที่ 7 มี.ค. 2562 ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ 9 เสียง วินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักษาชาติตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 92 (2) กรณีกระทำการอันอาจเป็น ‘ปฏิปักษ์’ ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และพิจารณาเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งและการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ของกรรมการบริหารพรรคไทยรักษาชาติ ภายในกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งยุบพรรค
คำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญยังอธิบายการกระทำการ ‘ล้มล้างการปกครอง’ และนิยามของคำว่า ‘อันอาจเป็นปฏิปักษ์’ ซึ่งน่าจะเป็นบรรทัดฐานในคดีที่ถูกร้องในข้อกล่าวหาเดียวกัน
“ถึงแม้กฎหมายจะไม่ได้ให้นิยามศัพท์คำว่า ‘ล้มล้าง’ และ ‘ปฏิปักษ์’ ไว้ แต่ทั้งสองคำนั้นก็เป็นคำในภาษาไทยธรรมดาที่มีความหมายตามที่ใช้และรู้กันอยู่ทั่วไป ซึ่งศาลย่อมรู้ได้เองด้วยว่า ‘ล้มล้าง’ หมายถึง การกระทำที่มีเจตนาเพื่อทำลายหรือล้างผลาญให้สูญสลายหมดสิ้นไป ไม่ให้ดำรงอยู่หรือมีอยู่อีกต่อไป”
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบ ทษช. ยังชี้ว่าการกระทำของพรรคไทยรักษาชาติ เป็นการนำสมาชิกชั้นสูงในพระบรมราชวงศ์มาเป็นฝักฝ่ายในทางการเมือง เป็นการกระทำที่วิญญูชนคนทั่วไป ย่อมรู้สึกได้ว่าสามารถทำให้พระมหากษัตริย์ของไทยที่เป็นศูนย์รวมใจของคนไทยทั้งชาติต้องถูกนำไปใช้เพื่อความได้เปรียบทางการเมืองอย่างแยบยลให้ปรากฏผลเสมือนเป็นฝักฝ่ายทางการเมือง และมุ่งหวังผลประโยชน์ทางการเมืองโดยไม่คำนึงถึงหลักการพื้นฐานสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียสถานะที่จะต้องอยู่เหนือการเมือง และดำรงความเป็นกลางทางการเมือง อันเป็นจุดเริ่มต้นของการเซาะกร่อนบ่อนทำลาย เป็นเหตุให้ชำรุดทรุดโทรม เสื่อมทราม หรืออ่อนแอลง เข้าลักษณะของการกระทำที่อาจเป็นปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ปีที่ตัดสินคดี - 2567
ผู้ร้อง - ธีรยุทธ สุวรรณเกษร
ผู้ถูกร้อง - พรรคก้าวไกล, พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
เหตุแห่งการร้อง
คำวินิจฉัย - ยังไม่ตัดสิน
เหตุผลในคำวินิจฉัย - ยังไม่ตัดสิน
สรุป
คดีนี้ เริ่มจาก ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายความอิสระ และเคยเป็นทนายของ(อดีต)พุทธะอิสระ ไปยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยพฤติการณ์ 2 กรณีของพรรคก้าวไกล คือ
โดยขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พฤติการณ์ทั้ง 2 กรณีของพรรคก้าวไกลเข้าข่ายล้มล้างการปกครอง หรือไม่?
โดย ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ได้ใช้แนวคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ 2 คดี มาเป็นแนวทางในการยื่นคำร้อง นั่นคือ
ธีรยุทธ ระบุว่า คำวินิจฉัยของ 2 คดีนี้มีความคล้ายกัน คือ ต้องตัดไฟเสียแต่ต้นลม และกล่าวว่า
“คำร้องของผม ขอให้พรรคก้าวไกลหยุดเรื่องนี้ หยุดใช้ 112 ในการหาเสียง แต่เมื่อวันนี้การหาเสียงเลือกตั้งจบไปแล้ว ก็ขอให้พรรคก้าวไกลหยุดที่จะแสดงความเห็น หยุดการเผยแพร่ใดๆ ในเรื่องมาตรา 112 เพราะผมตีความจากคำวินิจฉัยที่ยกมา 2 คดีข้างต้นที่่ว่า ตัดไฟเสียแต่ต้นลม ไม่ให้ลุกลาม คือไม่ให้พูดต่อ ให้หยุดเสีย ให้มันหายไปเลย ไม่ต้องพูด ไม่ให้แสดงความเห็นหรือเผยแพร่ข้อความใด รวมถึงไม่สามารถเสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขมาตรา 112 ต่อรัฐสภาด้วย”
สำหรับแนวทางในการวินิจฉัยคดีล้มล้างการปกครอง วันที่ 31 ม.ค. นี้ ผศ.ศร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ชี้ความเป็นปได้ใน 3 แนวทางด้วยกันคือ
นอกจากนั้น หากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า การที่ สส.ก้าวไกลสมัยที่แล้ว ร่วมกันลงชื่อแก้ 112 เป็นพฤติการณ์ ‘ล้มล้างการปกครอง’ ก็อาจทำให้ฝ่ายตรงข้ามนำเรื่องไปขยายผล ยื่นเรื่องเอาผิด สส.ก้าวไกลที่ร่วมกันลงชื่อว่า ทำผิดมาตรฐานจริยธรรม โดยใช้กรณีที่ศาลฎีกาเคยมีคำพิพากษา ให้ ช่อ-พรรณิการ์ วานิช อดีต สส.อนาคตใหม่ มีความผิดฐานฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรงกรณีโพสต์ข้อความพาดพิงสถาบัน ที่ศาลตัดสินให้ถอนสิทธิ์รับสมัครเลือกตั้งตลอดชีวิต และไม่มีสิทธิ์ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อนำมาเทียบเคียงว่าจะสามารถเอาผิดได้หรือไม่
แต่หากศาลรัฐธรรมนูญ ‘ยกคำร้อง’ โดยเห็นว่าพรรคก้าวไกลไม่ได้มีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครอง สิ่งที่อาจจะตามมาคือ พรรคก้าวไกลเดินหน้าลงชื่อเสนอร่างแก้ไขมาตรา 112 เข้าสภาทันที เพื่อทำตามที่ได้หาเสียงไว้ก่อนหน้านี้ และจะทำให้การพูดเรื่องการแก้ 112 ถูกโหมโรง เพราะถือว่าศาล รธน.ไฟเขียวแล้วว่าทำได้ ไม่ถือว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบการปกครอง\
อ้างอิง