ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในวงเสวนาผ่ากระแสการเลือกตั้ง 2019: การเมืองเปรียบเทียบในอุษาคเนย์ว่าได้ทำงานวิจัยเรื่องการเลือกตั้ง โดยเก็บข้อมูลใน 3 ประเทศ ประกอบไปด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์
โดยพบว่าการเลือกตั้งเป็นกระบวนการทางการเมืองที่เป็นปกติ ที่ถูกยอมรับจากทุกชนชั้น ซึ่งไม่มีการสร้างวาทกรรม ว่ามีเสียงคุณภาพมากกว่าคนต่างจังหวัด เพราะทุกคนยอมรับและลงมาเล่นในกติกาเดียวกัน ปัจจุบันประเทศที่เป็นต้นแบบประชาธิปไตยในอาเซียนคือ 'อินโดนีเซีย' ซึ่งในช่วงเปลี่ยนผ่านมีการทำสัญญาประชาคม ให้ความร่วมมือกันที่ทุกฝ่ายยอมรับผลการเลือกตั้ง ไม่นำไปสู่การก่อจราจล
"หากฝ่ายแพ้การเลือกตั้งไม่ยอมรับผลการตัดสิน ล้มกระดาน ความสงบมันก็เกิดขึ้นได้ยาก" ประจักษ์ กล่าว
ส่วนผลการเลือกตั้งในไทยที่มีหลายคนจับตา จะเห็นว่าไม่มีใครสามารถคาดเดาได้ ว่าผลจะออกมาอย่างไร แม้ผลโพลต่างๆ ที่ออกมาบ่งชี้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะเป็นนายกฯ อีกสมัย
ขณะที่การนำอัตลักษ์มาใช้ในทางการเมือง ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีที่ใช้ในการหาเสียง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนา, ชนชั้น, ชาติพันธุ์ ซึ่งหากมีการนำมาใช้โจมตีกันก็จะทำให้บดบังการถกเถียงเรื่องนโยบาย ซึ่งเป็นการเมืองที่ไม่สร้างสรรค์ และถือว่าเป็นอันตราย
สำหรับบทบาทของคนรุ่นใหม่และพลังโซเชียลมีเดีย ที่ทำให้ทุกคนกลายเป็นหัวคะแนน โดยการเข้าถึงข้อมูลและส่งต่อไปภายในโลกออนไลน์ ซึ่งข้อดีคือรัฐไม่สามารถควบคุมเนื้อหาได้ ส่วนข้อเสียคือการเข้ามาของข่าวที่บิดเบือนโจมตีกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง: