นพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ยังไม่พบหลักฐานการพบเชื้อโควิด-19 ในน้ำผิวดิน น้ำบาดาล น้ำประปาหรือน้ำบริโภค เนื่องจากไวรัสชนิดนี้ มีความทนทานต่อสภาวะแวดล้อมได้ต่ำ และถูกทำลายได้ง่ายด้วยคลอรีนที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคในน้ำประปา สำหรับการกรองด้วยเยื่อกรองขนาดรูพรุนต่ำกว่า 100 นาโนเมตร เช่น การกรองแบบ Ultra Filtration (UF) Nano Filtration (NF) และ Reverse Osmosis (RO) สามารถกรองเชื้อไวรัสดังกล่าวได้ นอกจากนั้นยังสามารถกำจัดได้ด้วยแสง Ultraviolet (UV) ด้วย ในกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำและการฆ่าเชื้อโรคดังกล่าว ได้ออกแบบไว้ในตู้น้ำหยอดเหรียญและที่สำคัญตู้น้ำหยอดเหรียญส่วนมากใช้น้ำประปาที่มีคุณภาพดีอยู่แล้ว ดังนั้นความเสี่ยงที่จะพบเชื้อโควิด-19 ในน้ำจากตู้น้ำหยอดเหรียญจึงค่อนข้างต่ำ
แต่เนื่องจากเชื้อนี้จะสามารถอยู่บนพื้นผิวได้หลายชั่วโมงจนถึงหลายวันตามชนิดพื้นผิว เช่น อลูมิเนียม 2-8 ชั่วโมง เหล็กสแตนเลส 2 วัน แก้ว 4 วัน พลาสติก 5 วัน ซึ่งวัสดุดังกล่าวเป็นส่วนประกอบในการผลิตตู้น้ำหยอดเหรียญ หากไม่มีการดูแลรักษาและทำความสะอาดแล้วจะทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเพื่อให้ผู้ประกอบการ เจ้าของหรือผู้ดูแลตู้น้ำหยอดเหรียญ และประชาชนผู้ใช้บริการมีแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง รวมทั้งเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแนวทางในการให้คำแนะนำควบคุม กำกับ ดูแลการดำเนินกิจการตู้น้ำหยอดเหรียญในช่วงการเกิดโรคติดเชื้อโควิด-19
นพ.ดนัย กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้กรมอนามัยได้จัดทำคำแนะนำในการดูแลและใช้บริการตู้น้ำหยอดเหรียญ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้เป็นแนวทางในการควบคุม กำกับ ดูแล และเฝ้าระวังคุณภาพจากตู้น้ำหยอดเหรียญในช่วงการเกิดโรคติดเชื้อโควิด-19 ดังนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง: