ไม่พบผลการค้นหา
‘รองนายกฯ ประเสริฐ’ ลงพื้นที่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ติดตามเร่งรัดขุดลอกลำน้ำปิง เพิ่มความจุเตรียมรับปริมาณน้ำให้ทัน ‘ฤดูฝน’ ปีหน้า พร้อมให้เร่งปรับปรุงฝาย เดิม 3 แห่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ ป้องกันอุทกภัย

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดเชียงใหม่ โดย ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้้าแห่งชาติ (สทนช.) และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยได้ติดตามแนวทางการ ขุดลอกลำน้ำปิงบริเวณสะพานนวรัฐ ถนนเจริญเมือง ต้าบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ ก่อนเดินทางไปติดตาม การปรับปรุงฝายท่าศาลา (พญาค้า) ตำบลวัดเกต อำเภอเมืองเชียงใหม่ 

นายประเสริฐ เปิดเผยว่า ช่วงฤดูฝนปีนี้ พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่มีปริมาณฝนตกหนักมากบริเวณต้นน้ำของลำน้ำปิง ซึ่งเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประกอบกับการบุกรุกลำน้ำ การเปลี่ยนแปลงของสภาพลำน้ำและสิ่งกีดขวางทางน้ำ รวมถึงการขยายตัวของพื้นที่ชุมชนเมืองโดยไม่คำนึงถึงเส้นทางน้ำ ส่งผลให้จังหวัดเชียงใหม่ประสบอุทกภัยถึง 3 ครั้ง ซึ่งในช่วงที่เกิดเหตุครั้งแรกและครั้งล่าสุด บริเวณสถานี P.1 (สะพานนวรัฐ) มีระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.60 เมตร และในครั้งล่าสุดปริมาณนน้ำในลำน้ำปิง บริเวณตัวเมืองเชียงใหม่มีมากถึง 656 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที ในขณะที่ลำน้ำปิงสามารถรองรับปริมาณน้ำได้เพียง 400 ลบ.ม. ต่อวินาที จึงทำให้น้้าเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่เศรษฐกิจ พื้นที่ชุมชนที่อยู่อาศัย ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง

นายประเสริฐ กล่าวว่าการลงพื้นที่ในวันนี้ก็เพื่อติดตามและเร่งรัดการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยกรมเจ้าท่าได้ดำเนินการด้านวิศวกรรมในการสำรวจลำน้ำปิงเรียบร้อยแล้วและให้หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาเร่งด้าเนินการขุดลอกลำน้ำปิงต่อไป ในส่วนจังหวัดเชียงใหม่ กรมชลประทาน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ให้อำนวยความสะดวกในการหาจุดขึ้นดินและสถานที่ทิ้งดิน ซึ่งเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือน พ.ค. 2568 เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรองรับฤดูฝนที่จะมาถึง นอกจากนี้ยังได้มอบหมายให้กรมชลประทานเร่งดำเนินการสำรวจทางด้านวิศวกรรม เพื่อปรับปรุงฝายเดิมที่เป็นฝายหินทิ้งในลำน้ำปิง จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ฝายท่าศาลา (ฝายพญาค้า) ฝายหนองผึ้ง และฝายท่าวังตาล ให้สามารถระบายน้ำได้เต็มประสิทธิภาพ 

นายประเสริฐ กล่าวอีกว่า ในระยะกลาง ให้ดำเนินการปรับปรุงพนังป้องกันตลิ่งด้านท้ายน้ำฝั่งซ้ายของประตูระบายน้ำในลำน้ำปิง (ประตูระบายน้ำท่าวังตาล) เพื่อป้องกันน้ำเข้าท่วมเขตชุมชน โดยให้กรมเจ้าท่าพิจารณาอำนวยความสะดวกในการดำเนินการปรับปรุงฝาย รวมทั้งให้จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับกรมชลประทานและกรมเจ้าท่า สร้างการรับรู้และท้าความเข้าใจกับประชาชนโดยรอบบริเวณฝาย เพื่อร่วมกันหาแนวทางในการบริหารจัดการฝาย โดยได้เน้นย้ำเรื่องการมีส่วนร่วมของภาครัฐและประชาชนในพื้นที่ในขั้นตอนการดำเนินการ เพื่อร่วมกันบริหารจัดการน้ำทั้งในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 

ขณะที่ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันลำน้น้ำปิงประสบปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพทางน้ำและสภาพการใช้ ที่ดิน ทำให้พฤติกรรมการไหลของน้ำเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทั้งในขนาดของพื้นที่น้ำท่วม ระดับความลึกของนน้ำท่วม และลำดับการเข้าท่วมก่อน - หลัง แตกต่างจากอดีตที่เคยทำสถิติไว้ จึงต้องดำเนินการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหา โดยขุดลอกลำน้ำปิงบริเวณตัวเมืองเป็นลำดับแรก และในระยะหลังจากนี้จะดำเนินการขุดลอกบริเวณตอนบนและตอนล่างของลำน้ำปิงต่อไป 

ในส่วนของฝายหินทิ้งในล้าน้้าปิง 3 แห่ง ที่ได้มีการก่อสร้างตั้งแต่ราว พ.ศ. 1800 - 1839 เพื่อส่งน้้าช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร รวมประมาณ 20,300 ไร่ หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องจะเร่งปรับปรุงฝายไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการน้้า โดยให้ความส้าคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนตามที่รอง นายกรัฐมนตรีเน้นย้้า รวมถึงด้าเนินการตามข้อสั่งการที่ได้รับอย่างเคร่งครัด เพื่อช่วยป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัยให้ชาวเชียงใหม่ ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด