ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนใน 14 จังหวัดภาคใต้ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ชี้ว่า คนส่วนใหญ่ร้อยละ 85 หนุน นายธนาธร จึงรุงเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะที่พรรคการเมืองที่คนใต้อยากเลือกมากที่สุดคือพรรคอนาคตใหม่ โดยในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ยังเป็นรอง
นายอธิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ไม่ได้กังลจนเกินไป แต่ก็ไม่ได้ประมาท เพราะมีรายงานเข้ามาจากพื้นที่ตลอด มองว่าการแข่งขันเป็นเรื่องที่ดี เมื่อว่าถามพรรคประชาธิปัตย์จะมีการปรับแผนในการลงพื้นที่ภายใต้หรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ ระบุว่า คงลงพื้นที่ภาคไต้อีก 1-2 วันในเวลาที่เหลือ ส่วนกรณีที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการณ์ลงพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา นายอธิสิทธิ์ ขอไม่แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ รวมถึงไม่ขอตอบโต้กรณีของนายสุเทพ เทือกสุบรรณด้วย
ขณะที่นายกรณ์ จาติกวณิช ประธานนโยบายการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ นายจุติ ไกรฤกษ์ เลขาธิการพรรค และ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรค ร่วมแถลงจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ ในช่วงการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 24 มีนาคมนี้ หลังเกิดกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ กรณี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคออกมาแสดงจุดยืนว่า จะไม่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคพลังประชารัฐ ในการสืบทอดอำนาจ
นายจุติ เปิดเผยว่า ช่วง 2 วันที่ผ่านมา มีสมาชิกพรรค และ ประชาชนส่งจดหมายมาให้กำลังใจจำนวนมาก ซึ่งจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ต้องการเป็นแกนนำหลักในการจัดตั้งรัฐบาล เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชน โดยตลอด 5 ปี ที่ผ่านมาหัวหน้าพรรคได้เดินทางสอบถามปัญหาของประชาชนทั่วประเทศ ทำให้ทราบถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่เกิดขึ้นตลอดช่วง 5 ปีนี้เป็นอย่างไร
ส่วนการที่พรรคประชาธิปัตย์จะไม่จับ หรือ ไม่จับมือกับใครเป็นรัฐบาล นั้น ไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่จะต้องถูกพูดถึงในขณะนี้ เพราะทุกอย่างจะต้องรอให้การเลือกตั้งเสร็จสิ้นก่อน ถึงจะทราบว่า พรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมาก แต่พรรคที่จะไม่จับมือกันอย่างแน่นอนคือ พรรคเพื่อไทย เพราะฝ่ายเพื่อไทยเองก็ประกาศชัดเจน ว่า จะไม่จับมือร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์เช่นกัน
ด้าน นายกรณ์ เปิดเผยว่า แต่ละพรรคการเมืองจำเป็นต้องต่อสู้ทางการเมือง เพื่อได้เสียงข้างมากเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งเขือมั่นว่า นโยบายการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของพรรคประชาธิปัตย์ จะตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน โดยมีแนวทางแตกต่างจากพรรคการเมืองที่สนุบสนุนรัฐบาล คสช. เช่น การปรับลดภาษี พรรคการเมืองที่สนุบสนุนรัฐบาล คสช. จะเน้นการปรับภาษีทุกชนชั้นลง 10 เปอร์เซ็นต์ แต่พรรคประชาธิปัตย์จะปรับลดเฉพาะชนชั้นกลางที่ส่วนใหญ่เป็นพนักงานเงินเดือน รวมถึงลดโอกาสการผูกขาดทางเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มทุนขนาดใหญ่กับรัฐบาล และ การประกันรายได้เกษตรกร ป้องกันการประสบปัญหาขาดทุน
ขณะที่ นายองอาจ เปิดเผยว่า การแสดงจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ ไม่สนับสนุนการสืบทอดอำนาจของ พล.อ. ประยุทธ์ นั้น เพราะการบริหารประเทศของ คสช. ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ถือว่าล้มเหลมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ อีกทั้งการใช้อำนาจโดยมิชอบปลดข้าราชการฝ่ายที่มีความคิดตรงข้ามกับ คสช. และ พล.อ.ประยุทธ์ ยังมีความพยายามออกกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเองในการได้สืบทอดอำนาจ ซึ่งแตกต่างจากพรรคการเมืองทั่วไปที่ลงรับเลือกตั้งอย่างยุติธรรม