ไม่พบผลการค้นหา
พิจารณาเลือกจากจังหวัดที่ 1.ยากจนที่สุด 2.ประชากรน้อยที่สุด 3.มีอัตรา GPP per capita (ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว) ต่ำที่สุด เพื่อสร้างความมั่นใจทั้งสังคม

สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ จ่านิว อดีตนักกิจกรรม สมาชิกพรรคเพื่อไทย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวว่าด้วยเรื่องนโยบาย แจกเงินดิจิตัล (Digital wallet) ดังนี้

จากการที่นักเศรษฐศาสตร์ จำนวน 99 ท่าน ได้ลงชื่อเพื่อออกแถลงการณ์ คัดค้านนโยบายแจกเงินดิจิตัล 10,000 บาท โดยชี้ว่า "ได้ไม่คุ้มเสีย" อาจทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงสุด ส่งผลให้ต้องมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อสกัดเงินเฟ้อในภายหลัง เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จะทำให้ต้นทุนทางการเงินในการทำธุรกิจสูงขึ้น รวมถึงกระทบถึงลูกหนี้รายย่อย ทั้งหนี้บ้าน หนี้รถ และหนี้ส่วนบุคคล ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต

แต่สำหรับผมในฐานะสมาชิกพรรคเพื่อไทย เห็นว่าต้องมีการเดินหน้านโยบายนี้ แต่นโยบายนี้มีเสียงคัดค้าน และไม่มีเสียงสนับสนุนจากนักเศรษฐศาสตร์ ประกอบยังไม่มีตัวแบบ (Model) ที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์มาก่อน

ดังนั้นผมอยากจะส่งเสียงข้อเสนอไปถึงผู้เกี่ยวข้องกับนโยบายนี้โดยตรงว่า

หลายครั้งตั้งแต่สมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทย เมื่อจะมีการทำนโยบายใหม่ที่มีการท้าทายและไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อย่าง "30 บาท รักษาทุกโรค" เมื่อมีการเริ่มนโยบาย จะริเริ่มจาก "จังหวัดนำร่อง"

เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นโมเดลที่ประสบความสำเร็จรองรับ สร้างความมั่นใจให้กับทุกภาคส่วน

รัฐบาลควรเริ่มจาก "จังหวัดนำร่อง" เป็นตัวอย่างที่มีการพิสูจน์เป็นรูปธรรมว่ามีความสำเร็จในขั้นแรก โดยพิจารณาเลือกจากจังหวัดที่

1.จังหวัดที่ยากจนที่สุด

2.จังหวัดที่ประชากรน้อยที่สุด

3.มีอัตรา GPP per capita (ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว) ต่ำที่สุด

จังหวัดละ 1 ภาค ในการทำนโยบาย Digital wallet แบบเต็มวงเงิน 10,000 บาท ไม่ต้องลดวงเงิน แจกทุกคนที่มีทะเบียนบ้านในจังหวัด

อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้นักวิชาการ มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ได้มีโอกาสศึกษาวิจัย เพื่อให้เกิดความชัดเจน เป็นฐานในการเดินหน้านโยบายทั้งประเทศ

หากประสบความสำเร็จในจังหวัดนำร่อง ก็สามารถเดินหน้านโยบายนี้ได้ทั้งประเทศ

แต่หากไม่สำเร็จ ก็โดนต่อว่าหน่อย แต่อย่างน้อยเราก็ได้เริ่มทำไปแล้ว และจังหวัดนำร่องเหล่านี้ก็ได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจไม่มากก็น้อย


ข่าวที่เกี่ยวข้อง