จากกรณีซาอุดีอาระเบีย ขยายกำลังการผลิตน้ำมันเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาดกลับมาเป็นเบอร์ 1 ของการเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่สุดของโลก ก่อนหน้านี้ซาอุฯ ร่วมกับกลุ่มโอเปกและรัสเซียลดกำลังการผลิตลงหวังดึงราคาน้ำมันให้สูงขึ้น แต่กลายเป็นว่าสหรัฐฯ รวมถึงรัสเซีย ยังมีการผลิตน้ำมันในระดับสูง ทำให้ซาอุฯ ต้องกลับมาเร่งผลิตน้ำมันหวังให้ปริมาณน้ำมันออกสู่ตลาดมาก ทำให้ราคาน้ำมันร่วงลงแรง จนผู้ผลิตน้ำมันรายอื่นสุดทนจนต้องลดการผลิตลงเอง สถานการณ์ราคาน้ำมันที่ลดลงนี้ ใครได้ ใครเสีย?
สำนักวิจัยธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ใช้โมเดลจากอ๊อกฟอร์ดอิโคโนมิกส์ คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของประเทศสำคัญ (เทียบกับฐาน) กรณีราคาน้ำมันร่วงลงร้อยละ 50 พบว่า กลุ่มอาเซียนสำคัญ หรือ ประเทศที่จีดีพีจะได้รับอานิสงส์มากที่สุดคือ ฟิลิปปินส์ เพราะเป็นประเทศนำเข้าน้ำมันสุทธิปริมาณมาก สำหรับประเทศไทย จีดีพีจะได้รับผลที่ดีขึ้นราวร้อยละ 0.3 เทียบกรณีฐาน (เช่น ล่าสุดสำนักวิจัยฯ คาดการณ์จีดีพีขยายตัวได้ร้อยละ 1.7 ก็อาจสูงขึ้นเป็นร้อยละ 2.0 แต่อาจปรับลดประมาณการจากปัญหาไวรัสโควิดแทน)
ส่วนประเทศที่เป็นผู้ส่งออกน้ำมันสุทธิอย่างมาเลเซียจะได้รับผลลบจากราคาน้ำมันที่ลดลง ส่วนประเทศที่พึ่งพาการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ เช่น ถ่านหิน อย่างอินโดนีเซียและออสเตรเลียก็ได้รับผลกระทบด้านลบจากราคาน้ำมันที่ลดลงด้วยเช่นกัน เพราะราคาสินค้าเหล่านั้นเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับราคาน้ำมัน ขณะที่ ซาอุฯ เองอาจเกิดวิกฤติเศรษฐกิจได้หากปล่อยให้ราคาน้ำมันลดลงเช่นนี้ตลอดทั้งปี ถ้าซาอุฯ ก็ได้รับผลกระทบแรงจากราคาน้ำมันที่ลดลง ซาอุฯ คงไม่ปล่อยให้ราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่ำเช่นนี้นาน เพราะพึ่งพารายได้จากน้ำมัน ดังนั้น สำนักวิจัยฯ มองว่า วิกฤติราคาน้ำมันน่าจะสงบได้ในไม่ช้า สุดท้ายราคาน้ำมันน่าจะอยู่ในระดับต่ำราว 40-45 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลแทนที่จะอยู่ในระดับ 60-65 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลดังเช่นกรณีก่อนที่ซาอุฯ จะเพิ่มกำลังการผลิตรอบนี้ ด้วยทั้งอุปทานน้ำมันที่มีมาก และจากอุปสงค์ที่อ่อนแอจากปัญหาไวรัสโควิดที่กระทบการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก
แนะผู้ประกอบการส่งออกตลาดตะวันออกกลาง-รัสเซีย หาแนวทางป้องกันความเสี่ยง
ด้านฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เผยแพร่บทวิเคราะห์เรื่อง 'ราคาน้ำมันดิ่งเหว นัยต่อการส่งออกของไทย' ไว้ว่า ราคาน้ำมันที่ปรับลดลงอย่างรวดเร็ว เปรียบเสมือนเหรียญสองด้านที่จะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อเศรษฐกิจไทย
ด้านบวก จะทำให้ไทยซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันสุทธิ ประหยัดเงินในการนำเข้าน้ำมันดิบได้บางส่วน โดยในแต่ละปีไทยนำเข้าน้ำมันดิบเกือบ 7 แสนล้านบาท นอกจากนี้ ในส่วนของผู้ประกอบการก็จะมีต้นทุนการผลิตลดลง โดยเฉพาะต้นทุนค่าขนส่ง ขณะที่ผู้บริโภคก็จะมีกาลังซื้อเพิ่มขึ้น จากรายจ่ายด้านพลังงานที่ลดลง ซึ่งจะหนุนให้อุปสงค์ในประเทศกระเตื้องขึ้น
ด้านลบ ราคาน้ำมันที่ลดลงอาจบั่นทอนการส่งออกสินค้าและบริการของไทยในหลายมิติ ได้แก่
จะเห็นได้ว่านอกจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการส่งออกของไทย โดยรวมแล้ว ความปั่นป่วนในตลาดน้ำมันก็เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงที่ผู้ส่งออกไทยต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดว่าสงครามราคาน้ำมันข้างต้นจะจบลงอย่างไร โดยหากรัสเซียเปลี่ยนใจกลับสู่โต๊ะเจรจากับซาอุดีอาระเบียอีกครั้ง ก็อาจทำให้ราคาน้ำมันเด้งกลับได้เช่นกัน
ดังนั้นผู้ส่งออกจึงควรต้องติดตามทิศทางราคาน้ำมันอย่างใกล้ชิด
ขณะที่ เอ็กซิมแบงก์ระบุว่า มีบริการทางการเงินและเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และราคาน้ำมันที่ปรับลดลง อันจะช่วยประคับประคองการส่งออกของไทยปี 2563 ไม่ให้แย่ลงไปกว่าที่เป็นอยู่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง: