ไม่พบผลการค้นหา
‘ประยุทธ์’ ต้อนรับผู้นำเอเปคครบทุกชาติ เดินประกบติดจับมือ ‘สี จิ้นผิง’ ผู้นำจีน โดยนายกฯ กล่าวเปิดในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 รูปแบบ Retreat ช่วงที่ 1 ชี้แจงวิธีคิดเศรษฐกิจ BCG แบบครบวงจร ย้ำชัด Bangkok Goals เข็มทิศการทำงานของเอเปค เป็นกรอบวาระพัฒนายั่งยืน

เมื่อเวลา 08:30 น. วันที่ 18 พ.ย. 2565 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ให้การต้อนรับและถ่ายภาพร่วมกันกับผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคจากทั้งหมด 20 ชาติ ก่อนการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อหารือเรื่องการเติบโตอย่างสมดุล ครอบคลุม และยั่งยืน ในช่วงเช้าของวันนี้ 

โดย เหล่าผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค เดินทางมาถึงตามลำดับ ดังนี้ 

1. แอนโทนี แอลบาเนซี นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย

2. จอห์น ลี คา-ชิว ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง

3. ฮัน ด็อก ซู นายกรัฐมนตรี สาธารณรัฐเกาหลี

4. ตัน ซรี ดาโตะ เซอรี โมฮามัด ซูกี บิน อาลี เลขาธิการรัฐบาลมาเลเซีย 

5. จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา

6. เบร์นาโด กอร์โดบา เตโย เอกอัครราชทูตเม็กซิโกประจำประเทศไทย 

7. ดินา เอร์ซิเลีย โบลัวร์เต เซการ์รา รองประธานาธิบดีคนที่ 1 เปรู

8. กาบริเอล โบริก ฟอนต์ ประธานาธิบดี ชิลี 

9. โจโก วีโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย

10. อันเดรย์ เบโลอูซอฟ รองนายกรัฐมนตรีสหพันธรัฐรัสเซีย คนที่ 1

11. จาซินดา อาร์เดิร์น นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ 

12. มอร์ริส จาง หรือ จาง จงโหมว ผู้ก่อตั้งบริษัท TSMC ผู้แทนไต้หวัน

13. แฟร์ดีนันด์ โรมูอัลเดซ มาร์โคส จูเนียร์ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์

14. เจมส์ มาราเป นายกรัฐมนตรีปาปัวนิวกินี 

15. คามาลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกา

16. สมเด็จพระราชาธิบดีฮาจี ฮัซซานัล บลเกียะฮ์ฯ นายกรัฐมนตรีบูรไน

17. เหวียน ซวน ฟุก ประธานาธิบดี เวียดนาม

18. ลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรี สิงคโปร์ 

19. สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน

20. คิชิดะ ฟูมิโอะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการต้อนรับ สี จิ้นผิง นายกรัฐมนตรีของไทย มีโอกาสได้จับมือถ่ายภาพร่วมกันสำเร็จ พร้อมเดินไปส่งประธานาธิบดีจีนขึ้นบันไดเลื่อนสู่ห้องรับรอง ก่อนการประชุมเริ่มต้นขึ้นด้วย 

ประยุทธ์ เอเปค 2022 คิชิดะ ญี่ปุ่น C42A1B5F2E.jpegประยุทธ์ เอเปค 2022 สีจิ้นผิง จีน กรุงเทพ  F-0E9C0CE38094.jpegประยุทธ์ เอเปค 2022 สีจิ้นผิง จีน กรุงเทพ 34-D355CCBA0F75.jpegประยุทธ์ เอเปค 2022 สีจิ้นผิง จีน กรุงเทพ  88996494E193.jpegประยุทธ์ เอเปค 2022 สีจิ้นผิง จีน กรุงเทพ  E-6521B07B08CD.jpegประยุทธ์ เอเปค 2022 สีจิ้นผิง จีน กรุงเทพ  448A-B8A1-B4FC8736A0DC.jpegประยุทธ์ เอเปค 2022  กรุงเทพ  683C-46A3-9C6F-DD56C7BA2521.jpegสีจิ้นผิง เอเปค -ED95-4F1C-9902-CD9219B6F445.jpegประยุทธ์ เอเปค 2022 2DCA0BD92BB.jpeg

นายกฯ เปิดประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ย้ำชัด Bangkok Goals คือเข็มทิศการทำงานของเอเปค

จากนั้นเวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม Plenary Hall 2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวเปิดในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 รูปแบบ Retreat ช่วงที่ 1 หัวข้อ “การเจริญเติบโตที่สมดุล ครอบคลุม และยั่งยืน” โดย อนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้ 

นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับผู้นำสู่การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 ประเทศไทยรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในครั้งนี้ เป็นการประชุมแบบพบหน้าหลังจากที่ไม่ได้เจอกันนานถึง 4 ปี การประชุมครั้งนี้จะเป็นบทสรุปการหารือเพื่อร่วมฟื้นฟูภูมิภาคไปสู่อนาคตที่ดีขึ้น เอเปคควรทำอย่างไรเพื่อเปลี่ยนผ่าน 

นายกรัฐมนตรีเห็นว่า ปัจจุบันยังมีผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการแพร่ระบาด ของโควิด-19 และความท้าทายของสถานการณ์โลก รวมทั้ง ภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่กระทบต่อทั้งโลก จึงต้องร่วมมือกัน เพื่อบรรเทาผลกระทบ และปกป้องโลก ไทยนำเสนอแนวคิดเศรษฐกิจ BCG เพื่อเป็นยุทธศาสตร์สำหรับการพัฒนาและการเติบโตในระยะยาวที่เข้มแข็ง สมดุล ยั่งยืน และครอบคลุม 

เศรษฐกิจ BCG ผสานแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว รวมทั้งใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างคุณค่า เพิ่มประสิทธิภาพ ในการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า และส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม 

 - เศรษฐกิจชีวภาพ เน้นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม มาสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าที่มาจากทรัพยากรและวัตถุดิบชีวภาพที่ใช้แล้วไม่มีวันหมดไป 

- เศรษฐกิจหมุนเวียนมุ่งให้เกิดระบบการผลิตและการบริโภคสินค้าและบริการ แบบฟื้นสร้าง วางแผนตั้งแต่การออกแบบระบบให้ความสำคัญกับการลดขยะและมลพิษ พยายามใช้วัตถุดิบซ้ำ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

- เศรษฐกิจสีเขียวส่งเสริมพฤติกรรมที่มีความรับผิดชอบและแนวคิดเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ซึ่งสร้างผลกำไรไปกับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม  

ทั้งนี้ ความท้าทายหลากหลายที่เราประสบอยู่เป็นเรื่องที่เชื่อมโยง และคาบเกี่ยวกัน จึงทำให้แนวคิดเศรษฐกิจ BCG จึงให้ความสำคัญและผลักดันการใช้สามแนวทางเศรษฐกิจร่วมกันอย่างเป็นองค์รวม เกิดผลที่เป็นรูปธรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนไทย เพิ่มโอกาส ทางธุรกิจ และฟื้นคืนความสมดุลระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

ไทยจึงนำเสนอ แนวคิดเศรษฐกิจ BCG เพื่อเป็นแนวทางสู่การบรรลุเป้าหมาย ด้านความยั่งยืนและสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ ไทยริเริ่มการจัดทำเป้าหมายกรุงเทพฯ (Bangkok goals) ให้เป็นกรอบแนวทางผลักดันวาระด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของเอเปคอย่างชัดเจน เอกสารดังกล่าวมุ่งขับเคลื่อน 4 เป้าหมาย ได้แก่ 1. ความพยายามเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ 2. ขับเคลื่อนการค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน 3. ผลักดันการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และ 4. ปรับปรุงประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรเพื่อลดขยะให้เป็นศูนย์ 

ในโอกาสนี้ ไทยขอบคุณทุกเขตเศรษฐกิจที่สนับสนุนเป้าหมายกรุงเทพฯ จนบรรลุฉันทามติด้วยดี คาดหวังว่าจะร่วมรับรองเอกสารสำคัญดังกล่าวในวันพรุ่งนี้ ซึ่งจะเป็นมรดกสำคัญของเอเปค 2565 ในโอกาสนี้ เพื่อต่อยอดเป้าหมายกรุงเทพฯ นายกรัฐมนตรีเสนอการหารือว่า แนวคิดเศรษฐกิจ BCG จะแปลงวิสัยทัศน์และทิศทางตามที่ระบุในวิสัยทัศน์ปุตราจายาของเอเปค ค.ศ. 2040 และแผนปฏิบัติการอาโอทีอาโรอา ให้เป็นรูปธรรมได้อย่างไร จะร่วมมือกันอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไร และต่อจากนั้น นายกรัฐมนตรีได้เชิญผู้นำเขตเศรษฐกิจกล่าวถ้อยแถลงตามลำดับตัวอักษร 

ซึ่งผู้นำเขตเศรษฐกิจที่เข้าร่วมการประชุมฯ ขอบคุณไทยสำหรับการเป็นเจ้าภาพ ร่วมกันสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจ BCG ที่ไทยพลักดัน สะท้อนความความสำเร็จ ความมุ่งมั่นที่ทุกประเทศต้องการฟื้นฟูเศรษฐกิจ มุ่งหน้าสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 

ในตอนท้ายก่อนปิดการประชุม นายกรัฐมนตรีเห็นด้วยกับคำกล่าวของผู้นำว่าต้องใช้โอกาสการฟื้นตัว สร้างความเติบโตที่เข้มแข็ง สมดุล ครอบคลุม และยั่งยืน และเชื่อว่าเป้าหมายกรุงเทพฯ จะเป็นเข็มทิศนำทางการทำงานของเอเปคให้มีทิศทางที่ชัดเจน

ประยุทธ์ สีจิ้นผิง เอเปค 2022 จีน -540B952E44EF.jpegสีจิ้นผิง ประยุทธ์ จีน เอเปค 2022  9FA-9A0CD2B31435.jpegทรูโด แคนาดา เอเปค 2022  -859A-47A0-9766-32EDFCAA795D.jpegนิวซีแลนด์ เอเปค 2022   A-259420AA5C0C.jpegนิวซีแลนด์ เอเปค 2022  -2328-4235-ACF1-7886D52BEBFE.jpegทรูโด เอเปค 2022  3573DF773F61.jpegสีจิ้นผิง เอเปค 2022 จีน ฮ่องกง ABE-20961DD8564A.jpegประยุทธ์ เอเปค 2022 7E2C1AC50AF6.jpegประยุทธ์ เอเปค 2022 FB0-E3969C0A6679.jpegสีจิ้นผิง เอเปค 0-F68A296D7B96.jpegประยุทธ์ เอเปค 2022 นิวซีแลนด์ 88886F2D2B4E.jpegประยุทธ์ เอเปค 2022 58F-EBA1627EC85D.jpegประยุทธ์ เอเปค 2022 อินโดนีเซีย   -9952B2A622A4.jpeg

ถกเอเปค-แขกพิเศษ เห็นพ้องขจัดเหลื่อมล้ำในภาวะ ศก.ผันผวน

เวลา 13.50 น. ที่ห้องประชุม Plenary Hall 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการหารือระหว่างผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคกับแขกพิเศษในช่วงอาหารกลางวัน ภายใต้หัวข้อ “การส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ครอบคลุม ในช่วงเศรษฐกิจถดถอยและวิกฤติเงินเฟ้อ” โดยภายหลังเสร็จสิ้น อนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยสาระสำคัญจากการหารือ ดังนี้ 

นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงรายงานภาพรวมเศรษฐกิจโลกของ IMF ประจำปี 2565 ซึ่งคาดการณ์ว่า การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกจากนี้จนถึงปี 2566 จะชะลอตัว ระดับเงินเฟ้อยังคงเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วและเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนาในทิศทางและระดับที่ต่างกัน ตลอดจนส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ทำให้ช่องว่างของความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจนยิ่งกว้างขึ้น โดยนายกรัฐมนตรีเห็นว่า การสร้างการเติบโตหลังโควิด-19 ที่ครอบคลุมและยั่งยืนมากขึ้น จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการบรรเทาผลกระทบต่อกลุ่มเปราะบาง และช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับรากฐานทางเศรษฐกิจและสังคม  

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้รับฟังและแลกเปลี่ยนมุมมองร่วมกับผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและแขกพิเศษ เพื่อหารือแนวทางส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ครอบคลุมท่ามกลางสภาวะเงินเฟ้อและเศรษฐกิจถดถอย รวมถึงแนวทางเพิ่มพูนความร่วมมือเพื่อลดช่องว่างการพัฒนา และความเหลื่อมล้ำภายในและระหว่างเขตเศรษฐกิจ  

โดยภายหลังการแลกเปลี่ยนมุมมองของผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและแขกพิเศษ นายกรัฐมนตรีกล่าวสรุปการหารือ โดยผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและแขกพิเศษ เห็นพ้องกันว่า ท่ามกลางสถานการณ์ความท้าทายต่าง ๆ ยังมีปัจจัยบวกจากการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล และการค้าการลงทุนที่คำนึงถึงความสมดุลระหว่างธุรกิจกับสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงการกระจายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจไปสู่คนทุกกลุ่ม รวมถึงการขจัดความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน เพื่อนำไปสู่การเติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาว

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเห็นความจำเป็นในการพัฒนาเครือข่ายรองรับทางสังคม การส่งเสริมการเข้าถึงโอกาสทางธุรกิจของ MSMEs ส่งเสริมบทบาทของสตรี รวมถึงการสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ โดยนายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่า การหารือในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นการส่งเสริมความร่วมมือที่สร้างสรรค์ระหว่างกัน ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ท้าทาย