ไม่พบผลการค้นหา
เวียดนามเป็นเพียงประเทศส่วนน้อยของโลกที่มีจีดีพีเป็นบวกตลอดทั้ง 3 ไตรมาสของปี 2563 ขณะฟิลิปปินส์ยังรับศึกหนัก ศก.ติดลบ 11.5%

จีดีพีไทยไตรมาส 3/2563 หดตัวติดลบ 6.4% ดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ทรุดลงไปถึง 12.1% ทว่าประเทศยังคงก้าวไม่พ้นภาวะเศรษฐกิจถดถอย หรือสภาพเศรษฐกิจที่ติดลบต่อเนื่อง 2 ไตรมาส

ด้วยเวลาอีกเพียงเดือนครึ่งก่อนเข้าสู่ปี 2564 'วอยซ์' ชวนไปสำรวจการเอาตัวรอดทางเศรษฐกิจของ 5 ประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ว่าแต่ละแห่งมีปัญหาและกลยุทธ์โกงความตายกันอย่างไร 


ผู้ชนะทุกสารทิศ

แม้จะเห็นตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบหลายปี แต่เวียดนามแทบเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีจีดีพีตลอดทั้ง 3 ไตรมาสของปีนี้เป็นบวก ที่สัดส่วน 3.82% ในไตรมาสแรก ต่อมาด้วย 0.36% และ 2.62% ตามลำดับ ในไตรมาสที่ 2-3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

เวียดนาม 000_1BE09B.jpg

ตามข้อมูลอย่างเป็นทางการของสำนักสถิติแห่งเวียดนามชี้ว่า จีดีพีเฉลี่ยตลอดทั้ง 9 เดือนแรกของปีนี้ ทรงตัวในแดนบวกที่ 2.12% แม้รัฐบาลออกมายอมรับว่าวิกฤตโรคระบาดสร้างความยากลำบากให้เศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก แต่การเติบโตในรายเครื่องชี้วัดยังยึดแน่นอยู่ในแดนบวกแทบทั้งหมด

อุตสาหกรรม 3 ประเภทสำคัญที่มีผลต่อการเติบโตของเวียดนามอย่าง อุตสาหกรรมการผลิตและก่อสร้างที่ครองสัดส่วนราว 58% ของจีดีพี ยังเป็นบวกที่ระดับ 3.08% เมื่อเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 ขณะที่ภาคบริการที่คิดเป็นสัดส่วน 28% ของจีดีพี บวกต่ำสุดที่ระดับ 1.37% ท้ายสุด ฝั่งเกษตรกรรม ป่าไม้ และประมง ที่กินสัดส่วนอีกราว 13% ของจีดีพี มีตัวเลขบวกราว 1.84% 

เกษตรกรรมของเวียดนามยังทำหน้าที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ดีแม้จะต้องเผชิญหน้ากับทั้งภาวะภัยแล้งและความเค็มไปจนถึงโรคระบาด โดยรัฐบาลเข้าแก้ปัญหาผ่านการเปลี่ยนโครงสร้างการปลูกพืช ไปจนถึงเลือกสายพันธุ์ข้าวที่หลากหลายและใหม่ขึ้นโดยคำนึงถึงมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นหลักเพื่อเอามาทดแทนพันธุ์ข้าวดั้งเดิมที่ทำรายได้ได้น้อยกว่า

เมื่อย้อนมามองประเทศไทย ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรของไทยทั้ง 3 ไตรมาส ทรงตัวติดลบที่ระดับ 14.96%, 5.88% และ 0.12% ตามลำดับ ขณะที่รายได้เกษตรกรไทยเริ่มกลับมาเป็นบวกในไตรมาส 3 ที่ระดับ 6.24% จากที่ติดลบ 7.18% ในไตรมาสที่ 2 และ 7.54% ในไตรมาสแรก 


เหล่าผู้ยังไม่ฟื้นดี

อินโดนีเซีย เริ่มระดับจีดีพีในปี 2563 เป็นบวก 2.97% ในไตรมาสแรกก่อนเดินหน้าติดลบ 5.32% ในไตรมาสต่อมา และมาหยุดที่ระดับติดลบ 3.49% ในไตรมาสล่าสุด คล้ายคลึงกับมาเลเซีย ที่เริ่มต้นปีด้วยสภาพบวก 0.7% ในไตรมาสแรก ก่อนหดตัวติดลบในไตรมาสที่ 2-3 ในระดับ 17.1% และ 2.7% ตามลำดับ หรือแปลว่า ทั้งอินโดนีเซียและมาเลเซียเพิ่งเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอยในไตรมาส 3/2563

ขณะที่ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ เห็นสภาพเศรษฐกิจติดลบต่อเนื่องทั้ง 3 ไตรมาส โดยฟิลิปปินส์ เริ่มจากระดับติดลบ 0.7% ในไตรมาสแรก ตามมาด้วย 16.9% และ 11.5% ในไตรมาสที่ 2-3 ขณะที่สิงคโปร์เริ่มติดลบจาก 0.3%, 13.3% และปิดท้ายด้วย 5.8% ตามลำดับ

หากพิจารณาจากประเทศข้างเคียงไทยทั้งหมด ฟิลิปปินส์เสมือนรับศึกหนักที่สุดในอาเซียน โดยมีตัวฉุดเศรษฐกิจสำคัญจากภาคก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และภาคการผลิต อีกทั้ง ตามข้อมูลจากเว็บไซต์ worldmeter ฟิลิปปินส์ยังเป็นประเทศที่มีตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิดสูงกว่า 4 แสนกรณี และมีผู้เสียชีวิตกว่า 7,500 ราย

อาร์เซป - เอเอฟพี - ฟิลิปปินส์
  • 'โรดริโก ดูแตร์เต' ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์

ด้านสิงคโปร์กลับมาเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์บ้าง หลังตัวเลขอุตสาหกรรมการผลิตกลับมาเป็นบวก 2% ทว่าการก่อสร้างยังหดตัวหนักในระดับ 44.7% แต่นับเป็นการฟื้นตัวดีขึ้นจากระดับติดลบ 59.9% ในไตรมาสก่อนหน้า เช่นเดียวกับภาคบริการที่หดตัวน้อยลงจากระดับติดลบ 13.6% ในไตรมาส 2/2563 เป็น ติดลบ 8% ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ 

สำหรับไทย ในภาพใหญ่ของประเทศเริ่มกลับมาฟื้นบ้างแล้ว จากระดับจีดีพีที่หดตัวน้อยลง แต่เครื่องชี้วัดสำคัญ นอกจากการอุปโภคของรัฐบาลยังไม่กลับมาเป็นบวก โดยเฉพาะฝั่งปริมาณส่งออกสินค้าและบริการที่ยังติดลบถึง 23.5% ในไตรมาสที่ 3 ของปี ขณะที่อุตสาหกรรมที่พักแรมและบริการด้านอาหารยังติดลบถึง 39.6% ปัจจัยหลักจากตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ยังเข้ามาไม่เพียงพอ 

อ้างอิง; Nikkei Asian Review, Inv

ข่าวที่เกี่ยวข้อง;