ไม่พบผลการค้นหา
'ขอคืน' เป็นการขอคืนในสิ่งที่เป็นของเรา อย่าทำให้เรารู้สึกว่าเราต้องมากราบกรานขอทานด้วยความน่าสงสาร" คำอธิบายจาก 'หมอบูนา' หรือ 'นสพ.บูรณ์ อารยพล' ผู้ออกมาเคลื่อนไหว ทวงคืนเงินกองทุนชราภาพ ภายใต้กลุ่มแนวร่วม 'ขอคืนไม่ได้ขอทาน'

ภาพกลุ่มคนร่วม 20 ชีวิต ที่ออกมาแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ หน้าสำนักงานประกันสังคม นนทบุรี เมื่อวันที่ 15 พ.ค. ที่ผ่านมา แม้อยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่ความหิวโซ จากสภาวะเศรษฐกิจของผู้คนยังคงดำเนินต่อไป

หนึ่งในตัวแทนกลุ่ม 'ขอคืนไม่ได้ขอทาน' เล่าถึงการออกมาเรียกร้อง ให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) คืนเงินกองทุนชราภาพ ตามมาตรา 33 และ มาตรา 39

เนื่องจากเห็นว่าพระราชบัญญัติประกันสังคมนั้น มีความไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกันตน เพราะจะจ่ายคืนให้ตอนอายุครบ 55 ปี จึงออกมาผลักดันให้ยกเลิกการบังคับ โดยให้ความอิสระต่อการตัดสินใจของผู้ประกันตน ว่าจะแบ่งเงินบางส่วนของกองทุนชราภาพมาใช้ในช่วงวิกฤต

เพราะหากต้องรอจนถึงกำหนดจ่ายตามกฎหมาย บวกกับความผันแปรของเศรษฐกิจ สอดคล้องกับอัตราการว่างงานที่สูงขึ้น ผู้ประกันตนที่ประสบปัญหานับล้านคนอาจถึงขั้น 'อดตาย' ไปเสียก่อน

ผลพวงโรคระบาด ปากท้องที่ซบเซา

ทวงคืน ไม่ใช่ขอทาน
  • นสพ.บูรณ์ อารยพล

สำหรับการออกมารณรงค์ครั้งนี้ 'หมอบูนา' ได้บอกกับ 'วอยซ์ออนไลน์' ว่า เป็นผลพวงมาจากสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 โดยปัจจุบันมีอาชีพ 'ผู้จัดการธุรกิจบันเทิง'

ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศกพระราชบัญญัติการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) เป็นกลุ่มแรก ทำให้ตกอยู่ในภาวะว่างงานนานกว่า 2 เดือน อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะขยายต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไป ส่งผลให้งานอีเว้นท์ถูกยกเลิกไปทั้งหมด

อย่างไรก็ตามในฐานะ 'ลูกจ้าง' ตลอดช่วงชีวิตมาเกือบ 20 ปี ได้หักเงินเข้ากองทุนสมทบชราภาพทุกเดือน โดยมียอดสะสมอยู่ที่ 170,000 บาท หากได้เงินมา 30 เปอร์เซ็น อาจช่วยพยุงชีวิตในการเอาตัวรอด จากการขาดรายได้ในช่วงวิกฤตเช่นนี้ต่อไปได้

จึงได้ออกมาเคลื่อนไหวร่วมกับกลุ่ม 'ขอคืนไม่ได้ขอทาน' ผ่านรูปแบบการครีเอทประท้วง โดยยึดหลัก 'สันติวิธี' ไม่ใช้ความรุนแรง ดังที่มีภาพการชูป้ายข้อความและนั่งสมาธิ เพื่อส่งเสียงสะท้อนไปยังกระทรวงแรงงาน ให้หันมาเหลียวแลกลุ่มผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบ สำหรับนัยยะของการใช้วาทกรรม 'ขอคืนไม่ได้ขอทาน' หมอบูนา ได้อธิบายว่าแคมเปญนี้

"เป็นการสื่อสารเพื่อให้ผู้คนจดจำได้ ด้วยความหมายคำว่า 'ขอคืน' เป็นการขอคืนในสิ่งที่เป็นของเรา อย่าทำให้เรารู้สึกว่าเราต้องมากราบกรานขอทานด้วยความน่าสงสาร"

สำหรับเป้าหมายในการเรียกร้องนั้น ได้มีมติร่วมกันว่าจะผลักดันประเด็นเงินสมทบชราภาพ และให้สิทธิผู้ประกันตนสามารถเลือกได้ว่าจะรับเป็นบำเหน็จหรือบำนาญ โดยเฉพาะผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ที่ไม่รับความเป็นธรรม

"หรือพวกเขายังไม่ให้ความสำคัญกับพวกเรา"

ทวงคืน ไม่ใช่ขอทาน

อดีตสัตว์แพทย์ที่ผันเปลี่ยนชีวิตมายึดอาชีพฟรีแลนซ์ เล่าต่อว่าทุกคนที่ออกมาเคลื่อนไหว เปรียบเสมือน 'มดงาน' ที่เป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนกิจกรรมให้เป็นรูปธรรมร่วมกัน แม้ว่าการแก้ไขกฎหมายให้สำเร็จนั้นถือเป็นเรื่องยาก

จึงวางโรดแมปในการเดินหน้าด้วยการยื่นหนังสือถึงสำนักงานประกันสังคม ก่อนที่จะมีการยกระดับไปที่กระทรวงแรงงานที่เป็นหน่วยงานดูแลในเรื่องนี้โดยตรง ล่าสุดการยื่นข้อเรียกร้องอยู่ในขั้นตอนการรับเรื่อง โดยมีการเรียกตัวแทนกลุ่มไปพูดคุย 

อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าเสียดายว่าในวันนั้นนางอรุณี ศรีโต กรรมการบอร์ดประกันสังคม ฝ่ายลูกจ้าง ที่เติบโตมาจากการเรียกร้องสิทธิของกลุ่มคนแรงงาน กลับไม่ได้เดินทางมารับฟังเป็นการส่วนตัว เพราะเห็นว่าเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดัน โดย หมอบูนาได้ตั้งคำถามว่า "หรือพวกเขายังไม่ให้ความสำคัญกับพวกเรา"

ประยุทธ์ โควิด วัดระฆัง 10324000000.jpg
  • พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นอกจากนี้ 'กุญแจสำคัญ' ที่จะช่วยเยียวยาผู้ประกันตนได้ คือ 'รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน' ผ่านการออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

ซึ่งสเตปต่อไปในการเคลื่อนไหวภายในกลุ่มได้เริ่มพูดคุยกันแล้ว ว่าจะทำอย่างไรให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มองเห็นกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบ จึงคาดหวังว่า 'พล.อ.ประยุทธ์' ที่ผู้นำของประเทศจะเป็นผู้กล้าตัดสินใจ

เคลื่อนไหวด้วยแนวทางอหิงสา

แน่นอนว่าผู้คนที่ได้รับผลกระทบต่างเฝ้ารอคำตอบ หากสิ่งที่พวกเขาออกมาผลักดันเงียบหายไป 'หมอบูนา' ยืนยันว่าจะมีการยกระดับการเคลื่อนไหว แต่ต้องยึดหลักการสันติวิธี ไม่เน้นความรุนแรงสร้างความสะเทือนใจต่อคนในสังคม

เช่นการนำเสนอข่าวบิดเบือนว่าตัวเขา จะตัดสินใจอัตวินิบาตกรรมด้วยการกระโดดตึก แต่ความจริงนั้นเขาเองไม่เคยสนับสนุนการกระทำเช่นนั้น เพราะเห็นว่ายังมีอีกหลายช่องทางในการเคลื่อนไหว

โดยหมอบูนา ได้เชิญชวนผู้มีอุดมการณ์เข้าไปเว็บไซต์ 'ขอคืนไม่ใช่ขอทาน' และแฟนเพจ เพื่อสื่อสารและรับฟังเสียงสะท้อน รวบรวมความคิด เห็นของผู้ได้รับผลกระทบ ส่งไปยังรัฐสภาเพื่อปรับปรุงกฎหมายให้เกิดความเป็นธรรรมต่อคนที่ 'ขอคืนแต่ไม่ได้ขอทาน'

ทวงคืน ไม่ใช่ขอทาน
  • หมูบูนา-แนวร่วมกลุ่มขอคืนไม่ได้ขอทาน

อ่านเพิ่มเติม



พิชิตศักดิ์ แก่นนาคำ
ผู้สื่อข่าว Voice Online
91Article
1Video
0Blog