ไม่พบผลการค้นหา
เครือข่าย ส.ส.ในอาเซียน แถลงเรียกร้องรัฐบาลทหารไทยหยุดใช้กฎหมายคุกคามและทําลายสมาชิกรัฐสภาฝ่ายค้าน อ้างอิงกรณี 'ธนาธร' เผชิญคดีปลุกระดม ทั้งยังจะถูกไต่สวนในศาลทหารซึ่งไม่มีแบบปฏิบัติฃเรื่องความเป็นธรรมที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล

กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน (ASEAN Parliamentarians for Human Rights หรือ APHR) ออกแถลงการณ์ลงวันที่ 27 พ.ค. 2562 กล่าวถึงกรณีที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ กําลังเผชิญกับคดีอาญาทีมีแรงจูงใจทางการเมืองอย่างน้อยสองคดีในปีทีผ่านมา และเมื่อสัปดาห์ที่แล้วศาลรัฐธรรมนูญได้สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะส.ส.ของเขาระหว่างทีมีการสอบสวนในข้อหาละเมิดกฎการเลือกตั้ง 

นายชาร์ลส์ ซานติเอโก ส.ส.มาเลเซีย ผู้ดำรงตำแหน่งประธาน APHR ระบุว่า “ทางการไทยกําลังพยายามกุข้อหาทางอาญาต่อนายธนาธร และผู้ต่อต้านกองทัพอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่า ข้อหาเหล่านี้มีจุดประสงค์ทําลายกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหาร ข้อกล่าวหาทั้งหมดต่อ ส.ส. นักข่าว นักกิจกรรมและประชาชนอื่นๆ ที่ไม่ได้ทําอะไรนอกจากแสดงออกอย่างสงบควรจะต้องถูกยกเลิกในทันที” 

เนื้อหาในแถลงการณ์ของ APHR ระบุด้วยว่า พรรคอนาคตใหม่ชนะเลือกตั้งเป็นอันดับสามในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 มี.ค. ด้วยคะแนนเสียงกว่า 6.2 ล้าน ทําให้ได้ที่นั่งในสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาถึง 80 ที่นั่ง ตั้งแต่นั้นมา พรรคได้ประกาศเข้าร่วมกับพรรคการเมือง 'ฝ่ายประชาธิปไตย' ซึ่งพยายามจัดตั้งรัฐบาลโดยปราศจากพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นพรรคที่สนับสนุนทหาร

เมื่อวันที่ 23 มี.ค. ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้นายธนาธรหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. จนกว่าศาลจะมีคําวินิจฉัย เนื่องจากเขาถูกกล่าวหาว่ายังคงถือหุ้นในบรษัทสื่อแห่งหนึ่ง เมื่อเขาลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญมาตรา 98 (3) นายธนาธรปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว และบอกว่าเขาขายหุ้นไปตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนได้แสดงความกังวลถึงการลงมามีบทบาททางการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องจากผู้พิพากษาเจ็ดในเก้าคนของศาลรัฐธรรมนูญนั้น ได้รับการแต่งตั้งหรือขยายเวลาการอยู่ในตําแหน่งระหว่างการปกครองของรัฐบาลทหาร

นอกจากนี้ ยังมีความน่ากังวลอีกว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่งคดีนี้ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อนที่ กกต. เองจะทําการสอบสวนคดีนี้เสร็จ คาดว่าภายในหนึ่งเดือน ศาลจะมีคําวินิจฉัยว่าจะปลดธนาธรออกจากตําแหน่ง ส.ส. หรือไม่ และหากศาลเห็นว่า เขามีความผิดในคดีอาญา ธนาธรอาจจะถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 20 ปี และอาจถูกลงโทษจําคุกเป็นเวลา 10 ปีพร้อมโทษปรับ

ธนาธร 3 นิ้ว สภา E6-1BB4-4FF0-AC3D-0FC907530848.jpeg

นอกจากนี้ ธนาธรได้เผชิญกับคดีอาญาที่มีแรงจูงใจทางการเมืองอย่างน้อยสองคดีตั้งแต่ตั้งพรรคอนาคตใหม่ คดีแรกนั้น เมื่อเดือนสิงหาคม 2561 นายธนาธรและสมาชิกพรรคอนาคตใหม่อีกสองคนถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เนื่องจากวิจารณ์รัฐบาลทหารระหว่างการสตรีมวดีโอบนเฟซบุ๊ก แและเมื่อวันที่ 6 เมษายนปีนี้ ตํารวจได้ตั้งข้อหาธนาธรสามข้อหา ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ ข้อหาปลุกระดมตามมาตรา 116 ประมวลกฎหมายอาญา คดีนี้สืบเนื่องมาจากการที่ธนาธรถูกกล่าวหาว่าให้ความช่วยเหลือผู้นําการประท้วงต่อต้านทหารในปี 2558 เขาอาจถูกลงโทษจําคุกอย่างน้อยห้าปี หากถูกตัดสินว่ามีความผิด

สมาชิกรัฐสภาอาเซียนมีความกังวลว่า รัฐบาลทหารไทยได้ใช้กฎหมายปราบปรามหลายรูปแบบ ซึ่งรวมถึงข้อหาปลุกระดม และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ในการคุกคามและปิดปากผู้วิพากษ์วิจารณ์มาโดยตลอดตั้งแต่การรัฐประหารปี 2557 ที่น่าวิตกกังวลยิ่งกว่านั้น คือ คดีปลุกระดมนั้นจะถูกไต่สวนในศาลทหาร ซึ่งไม่มีแบบปฏิบัติในเรื่องความเป็นธรรมที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งมีหลายคดีที่ศาลทหารใช้เวลาไต่สวนยาวนานกว่าปกติมาก

“ในบริบทของคดีทางการเมืองหลายต่อหลายครั้งต่อธนาธร มันเป็นเรื่องยากที่จะไม่มองว่าการกระทําล่าสุดของศาลรัฐธรรมนูญเป็นอีกหนึ่งความพยายามที่จะปราบปรามผู้วิจารณ์รัฐบาลทหาร เพื่อให้คนไทยมีความเชื่อมั่น ในกระบวนการประชาธิปไตยของประเทศ ทางการไทยต้องแสดงว่าตัวเองนั้น เคารพในผลการเลือกตั้ง ซึ่งหมายถึงการอนุญาตให้ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเข้าร่วมกิจกรรมในพื้นที่สาธารณะ ไม่ว่าความเห็นของพวกเขาจะก่อให้เกิด 'ความไม่สะดวก' ใดๆ ก็ตาม” นายเท็ดดี บะกยลัต กรรมการสมาชิก APHR และ ส.ส.ฟิลิปปินส์กล่าว

นักการเมืองคนอื่นๆ ก็ตกเป็นเป้าระหว่างการปกครองของกองทัพในช่วงหลายปีทีผ่านมา หนึ่งในนั้น คือ นายจาตุรนต์ ฉายแสง ซึ่งเป็นสมาชิกของ APHR และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จาตุรนต์ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีปลุกระดมถึงสองคดีด้วยกัน เพราะวิจารณ์รัฐบาลทหารในงานแถลงข่าวในปี 2557 และเดือนพฤษภาคม 2561

การคุกคามนายธนาธรสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มที่น่ากังวลในภูมิภาค ซึ่งรัฐบาลเผด็จการใช้กฎหมายเพื่อคุกคามและทําลายสมาชิกรัฐสภาฝ่ายค้านในประเทศกัมพูชา รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีฮุนเซนในปี 2560 ประสานข้อกฎหมายและกลไกหลายอย่างในการทําลายพรรคฝายค้าน ซึ่งในที่สุดพรรคฝ่ายค้านถูกยุบโดยศาลฎีกา ในประเทศฟิลิปปินส์ ส.ส.ฝายค้านหลายคนต้องเผชิญกับคดีอาญา เมือประธานาธิบดีโรดริโก ดูแตร์เต เข้ารับตําแหน่งในปี 2559 หนึ่งในนั้น คือวุฒิสมาชิกเลย์ลา เด ลิมา ที่ถูกควบคุมตัวในเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ในข้อหาค้ายาเสพติด แต่สหประชาชาติและองค์กรสิทธิมนุษยชนวิจารณ์ว่า เป็นข้อหาทางการเมืองเสียมากกว่า

“สมาชิกรัฐสภาสามารถมีบทบาทสําคัญในการสนับสนุนและปกปองสิทธิมนุษยชน ก็ต่อเมื่อพวกเขาไม่ถูกจํากัดด้วยข้อจํากัดต่างๆ และไม่ต้องกลัวว่าจะถูกตอบโต้ในภายหลัง เป็นที่น่ากังวลว่ารัฐบาลทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พยายามทําลายฝายตรงข้ามทางการเมืองด้วยการคุกคาม และการฟ้องร้องดําเนินคดี” นางอีวา ซุนดารี กรรมการสมาชิก APHR และ ส.ส. อินโดนีเซียกล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: