ไม่พบผลการค้นหา
'วิษณุ' แจง พ.ร.บ.ตำรวจฉบับใหม่ ถือเป็นการปฏิรูปสถานีตำรวจครั้งแรกเพิ่มบทบาท งบประมาณ ย้ำยังมีกองบัญชาการเหมือนเดิม พร้อมจัดตั้งคณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรมตำรวจ ไว้พิจารณาแต่งตั้งโยกย้าย

วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง กรณีที่ครม.เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ... ว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ยังคงมีกองบัญชาการทุกอย่างเหมือนเดิม เพียงแต่เพิ่มความสำคัญของสถานีตำรวจขึ้น จากเดิมที่ไม่เคยระบุในพ.ร.บ.เลย แต่ครั้งนี้จะมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ งบประมาณ และบุคคลากรอย่างเพียงพอ เพราะเป็นหน่วยที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด

ซึ่งก่อนหน้านี้มีการเสนอให้แยกการสอบสวนออกจากกรมตำรวจ โดยให้แยกเป็นอีกกรมต่างห่าง แต่เมื่อศึกษาแล้วกลับพบว่า การแยกดังกล่าวไม่มีประโยชน์ ตำรวจต้องสอบสวนเองอยู่ดี แต่จะทำในลักษณะเข้าไปอยู่ในสถานีตำรวจ ซึ่งการบังคับบัญชาเป็นคนละส่วนกัน โดยมีการแบบเป็น 5 แท่ง ซึ่งใครโตที่แท่งไหน ก็สุดที่แท่งนั้น เป็นการขัดขวางการเจริญก้าวหน้า โดยสามารถโอนย้ายผ่านแท่งได้ในเงื่อนไขที่กำหนดแต่ไม่ง่ายหนัก และไม่ได้ห้ามขาด โดยยึดหลักอาวุโส

วิษณุ ระบุว่า ซึ่งการปฏิรูปในครั้งนี้ จะถือว่าเป็นการปฏิรูปสถานีตำรวจเป็นครั้งแรก รวมไปถึงมีการจัดตั้งคณะกรรมการ กพค. หรือคณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรมตำรวจ ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายเจ้าหน้าที่ แต่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต่างจากเดิมที่เมื่อตำรวจไม่ได้รับความเป็นธรรม จะต้องฟ้องศาลแกครองอย่างเดียว 

พร้อมกันนี้ ยังกำหนดให้มีคณะกรรมการระดับชาติหรือ กร.ตร. ที่จะรับเรื่องจากประชาชน เมื่อได้รับความไม่เป็นธรรมอย่างการล้มคดี หรือเลือกปฏิบัติ โดยคณะกรรมการชุดนี้ นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้สรรหามาจากประธานศาล มีจเรตำรวจเป็นฝ่ายเลขาฯ โดยมีฝ่ายการเมืองเป็นนายกรัฐมนตรีคนเดียว ส่วนการปฏิรูปการโยกย้ายมีการกำหนดกฎเกณฑ์อยู่ในพ.ร.บ.ชัดเจน ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และการปฏิรูปการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเรื่องใหญ่ขณะนี้อยู่ที่พ.ร.บ.สอบสวน ที่มีเพียง20มาตรา จึงชะลอการพิจารณาไว้ก่อน เนื่องจากอัยการศาลยังมีความเห็นแย่งอยู่ จึงจำเป็นต้องปฏิรูปโครงสร้างให้เป็นที่ยุติก่อน ส่วนจะใช้พ.ร.บ.สวบสวนกับ ดีเอสหรือไม่นั้น ต้องรอความเห็นจากดีเอสไอก่อน

ส่วนกรณีการประเมินสถานีตำรวจ ที่มีการบัญญัติว่าคะแนนดังกล่าวมีผลต่อการแต่งตั้งโยกย้าย โดยตำรวจเห็นแย้งว่า การปฏิบัติเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย อาจส่งผลให้การแต่งตั้งโยกย้ายไปกว่าครึ่งปี อีกทั้งอาจตกอยู่ใต้ผู้มีอิทธิพล โดยเสนอว่าให้กตร.ประเมินตามวิธีการที่กตร.คิดออกในอนาคต 

นอกจากนี้การปฏิรูปยังเสนอให้มีการโอนกลับหน่วยอย่างตำรวจรถไฟ ตำรวจสิ่งแวดล้อม ตำรวจจราจร ตำรวจป่าไม้ อย่างเช่นตำรวจจราจรเสนอให้โอนไปยังเทศบาล อบต. ภายใน 5 ปี ตำรวจป่าไม้โอนภายใน 1 ปี รวมถึงสนับสนุนให้มีตำรวจไม่มียศมากขึ้น โดยเสนอเป็นค่าตอบแทนที่ไม่ใช่ยศ ซึ่งเมื่อเสนอเข้าสภาแล้ว ทั้งสองสภาสามารถรื้อได้ตามใจชอบ