อ.ภาวิน มาลัยวงศ์ ระบุ ที่เราพูดถึงว่า ลิเบอรัลของไทย ทำไมชอบตีกัน ในความคิดผมมองว่าเป็นสิ่งดี ตีกันนี่เป็นสิ่งดี เพราะว่าการที่เราคิดต่างแล้วเราไม่ต้องเห็นต้องตรงกัน แล้วเราอยู่ร่วมกันในความต่างเพราะว่าวัตถุประสงค์ขอวงการคิดต่างคือ เราเถียงกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ดีที่สุด เพราะฉะนั้น ผมไม่ได้มองหาทางแก้ปัญหาว่า ทุกคน ต้องคิดตรงกันแล้วมีมติ ว่าจะต้องทำแบบนี้ เราจะต้องหาข้อตกลงในความต่างให้ได้
ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี ระบุ อยากให้ทุกๆ ที่เลย ไม่ว่าจะเป็น การศึกษาขั้นพื้นฐาน หรืออุดมศึกษา นำไปใช้ โดยเฉพาะในคลาสจิตวิทยาเนี่ย คิดว่าต้องเปิดโอกาสให้ โอเค อาจารย์ท่านอาจจะเกิดมีจุดยืนอย่างนี้ ก็ต้องให้นิสิตเนี่ย ได้แสดงจุดยืนออกมา เพื่อถกเถียงกันด้วยเหตุผล ไม่ใช่อาจารย์ป้อนอย่างเดียว สาดความคิดอาจารย์อย่างเดียวแล้วเราไม่มีสิทธิ ตอบโต้ หรือแสดงแนวทางของเรา ผมเห็นเหมือนชามสลัด ในสลัดมันจะมีผักหลายๆ อย่าง คือเปรียบเสมือน ความหลากหลายอยู่ในชามเดียวกัน ชามเปมือนสังคม สังคมก็ต้องโอบอุ้ม โอบรับความหลากหลาย ให้มันอยู่ด้วยกันให้ได้
ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ระบุ จริงๆ แล้วอยากจะเสริมว่าตั้งแต่เกิดมาอยู่บนโลกใบนี้ เราก็ไม่ได้เห็นใครที่จะเหมือนเราเป๊ะๆ เราไม่ได้ชอบสิ่งเดียวกันทุกอย่าง เพราะฉะนั้น การอยู่ร่วมกันในสังคม มันต้องอยู่ด้วยความแตกต่าง มันไม่ใช่อยู่ร่วมกันด้วยทุกคนต้องเหมือนกันหมด ซึ่งเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ถ้าเราพื้นฐานว่า เราต้องเห็นคนเท่ากันก่อน และเมื่อเห็นคนเท่ากัน เราก็ต้องยอมรับในความคิดเห็นของคนอื่น เหมือนกับที่เรายอมรับและเคารพในความคิดเห็นของเราเอง ตรงนี้ เป็นสาระสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคม
ชมคลิปเต็มรายการสุมหัวคิด : กรณีศึกษา อ.ครุศาสตร์ จุฬาฯ เหยียดเพศ ได้ที่ https://www.voicetv.co.th/watch/LACgsaA-Y