ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - คนรักเกมและอีสปอร์ตแห่ร่วมงาน ‘Garena World’ - Short Clip
World Trend - ผู้สร้าง Game of Thrones รับ มีแก้วกาแฟในฉาก - Short Clip
World Trend - เอเชียนเกมส์ 2018 จัดแข่งอีสปอร์ตเป็นครั้งแรก - Short Clip
World Trend - จีนไม่อนุญาตดิสนีย์ฉาย 'คริสโตเฟอร์ โรบิน' - Short Clip
World Trend - 'เนื้อสัตว์ทดแทน' ธุรกิจที่อาจโตอีก 20 เท่า - FULL EP.
World Trend - Jurassic World: Fallen Kingdom กับเทคโนโลยีที่ใช้โปรโมต - Short Clip
World Trend - จีนบล็อก GOT ตอนจบ เพราะสงครามการค้า - Short Clip
World Trend - ลุ้น 'ฟ่านปิงปิง' กลับมาปรากฏตัวช่วงวันเกิด - Short Clip
World Trend - Gmail ถูกอ่านได้โดยแอปพลิเคชันจัดการอีเมล - Short Clip
World Trend - ‘ครูหุ่นยนต์’ ช่วยสอนในโรงเรียนอนุบาลจีน - Short Clip
World Trend - 'เทสลา' เอาใจคนเลี้ยงสุนัขด้วย 'Dog Mode' - Short Clip
World Trend - Cats กับภาวะความกลัวสิ่งคล้ายมนุษย์ - Short Clip
World Trend - การีนาจัดกิจกรรมท้าผู้สูงวัยเล่น 'RoV' - Short Clip
World Trend - 'หนังสือเด็ก' กับความไม่หลากหลายทางเชื้อชาติ - Short Clip
World Trend - BNK48 เตรียมประชันแข่งอีสปอร์ตครั้งแรก - Short Clip
World Trend - ​เปิดตัวคลิป BTS โปรโมตท่องเที่ยวกรุงโซล - Short Clip
World Trend - ​บริษัทเกมช่วยส่งวัตถุโบราณคืนพิพิธภัณฑ์ - Short Clip
World Trend - ​​'ราเม็ง' เมนูฮิตใหม่ในนครเจนีวา - Short Clip
World Trend - ปิดตำนาน 'คาร์ล ลาเกอร์เฟลด์' เจ้าพ่อแฟชั่นโลก - Short Clip
World Trend - อังกฤษสั่งเว็บจองที่พักปรับกลยุทธ์ 'เพิ่มความเป็นธรรม' - Short Clip
World Trend - หน้ากากนักร้องฮอลลีวูดผุดไอเดียจากเวอร์ชันไทย - Short Clip
Jan 4, 2019 06:16

รายการ 'หน้ากากนักร้อง' ของเกาหลี ที่คนไทยรู้จักดี กลายเป็นแรงบันดาลใจสำคัญในการผลิตรายการเวอร์ชันฮอลลีวูด ที่เพิ่งออกอากาศตอนแรกไปเมื่อกลางสัปดาห์ ถือเป็นการ Look East ของวงการบันเทิงอเมริกัน ที่เลือกใช้รสนิยมผู้ชมประเทศฝั่งตะวันออก มาสร้างความแปลกใหม่ให้ผลงาน

ใครที่ติดตามข่าวบันเทิงฝั่งฮอลลีวูดช่วงนี้จะได้เห็นข่าวเกี่ยวกับรายการใหม่ของฝั่งอเมริกา ที่คนไทยคุ้นเคยกันดีอย่าง The Masked Singer 'หน้ากากนักร้อง' ทางช่อง Fox ที่เพิ่งฉายตอนแรกไปเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2019 ที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านี้มีการปล่อยทีเซอร์เรียกน้ำย่อย สร้างกระแสและฐานคนดูมาอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดได้ออกอากาศจริง ก็ยิ่งได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นไปอีก เพราะไม่เพียงแต่แต่ละหน้ากากที่มีคาแรกเตอร์น่าสนใจเท่านั้น แต่พิธีกรสายตลกอย่าง นิก แคนนอน ก็สร้างสีสันในรายการได้อย่างสนุก ขณะที่ กรรมการเซเลบก็เป็นศิลปินแถวหน้าของวงการทั้งนั้น คือ โรบิน ธิก , เจนนี แมคคาร์ธี , เคน จอง และนิโคล เชอร์ซิงเงอร์

หลังจากออกอากาศตอนแรกไป ก็มีบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับการตัดสินใจซื้อลิขสิทธิ์รายการนี้มาสร้างเป็นเวอร์ชันอเมริกัน โดย เครก เพลสติส โปรดิวเซอร์มือทอง เจ้าของบริษัท Smart Dog Media ที่ผลิตรายการนี้ ได้ไปเปิดเผยในงานประชุมรายการโทรทัศน์ ที่กรุงโซล ว่าแม้ 'หน้ากากนักร้อง' จะถูกผลิตเป็นครั้งแรกในเกาหลีใต้ แต่แรงบันดาลใจแรกของเขากลับเป็นเวอร์ชันไทย ของช่องเวิร์คพอยท์ เริ่มต้นจากการไปกินข้าวกับครอบครัวในร้านอาหารไทยแห่งหนึ่งในแอลเอ แล้วพบว่าลูกค้าในร้านไม่สนใจอาหารตรงหน้าเลย เพราะมัวแต่ดูโทรทัศน์ ซึ่งตอนนั้นฉาย 'หน้ากากนักร้อง' เวอร์ชันไทยอยู่ ทำให้ช่วงเวลานั้นเป็นวินาทีที่เขาตัดสินใจว่าต้องซื้อลิขสิทธิ์มาผลิตในอเมริกาให้ได้

ที่น่าสนใจคือ เพลสติส ไม่ใช้ผู้สร้างหน้าใหม่แต่อย่างใด ก่อนหน้าที่จะมาทำบริษัทของตัวเอง เขาเคยรับหน้าที่ดูแลรายการเรียลลิตีของช่อง NBC รับผิดชอบรายการมาหลากหลายแนว ทั้ง America’s Got Talent , Deal or No Deal , The Biggest Loser , The Apprentice , Fear Factor , The Singing Bee และ The Contender พอมาถึงยุคที่ทำบริษัทของตัวเอง เขาก็เคยผลิตรายการยอดนิยมสำหรับผู้ชมอเมริกันเช่นกัน ทั้ง Minute To Win It , The Winner Is และ Robot Combat League การรับผิดชอบลิขสิทธิ์รายการสัญชาติเกาหลีอย่าง The Masked Singer จึงไม่ใช่เรื่องเกินฝีมือเขาแต่อย่างใด

สำหรับ The Masked Singer เวอร์ชันดั้งเดิม ใช้ชื่อว่า Mystery Music Show: King of Mask Singer (미스터리 음악쇼 복면가왕) ออกอากาศครั้งแรกทางช่อง MBC เมื่อปี 2015 ในสลอตเวลาไพรม์ไทม์วันอาทิตย์ ซึ่งเป็นช่วงที่ชาวเกาหลีจะใช้เวลาดูโทรทัศน์กับครอบครัว โดยออกอากาศชนกับรายการวาไรตีเรตติงดีของช่องหลักอื่น ๆ อย่าง Running Man ของ SBS และ The Return of Superman ของ KBS2 ที่คนไทยรู้จักดีอีกด้วย

ลักษณะของรายการคือการเชิญคนดังมาร้องเพลงภายใต้หน้ากากและชุดพรางตัว เพื่อไม่ให้กรรมการ ผู้ร่วมแข่งขัน และผู้ชมทางบ้าน เดาออกว่าเป็นใคร ซึ่งปัจจุบันมีประเทศซื้อไอเดียนี้ไปผลิตแล้ว 7 ประเทศ และเป็นที่นิยมมากเป็นพิเศษในประเทศฝั่งเอเชีย คือ จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย โดยเพลสติสคิดว่าหัวใจของรายการดั้งเดิม คือ การทำเป็น Guessing Game หรือ เกมทายปัญหา ในขณะที่ เวอร์ชันของไทยทำได้ดึงดูดและประณีตยิ่งกว่า ด้านการออกแบบชุด อย่างไรก็ตาม สื่อบันเทิงก็ยังตั้งคำถามกับไอเดียการนำมาทำเป็นเวอร์ชันฮอลลีวูดของเขาว่าจะแปลกเกินไปสำหรับผู้ชมอเมริกันหรือไม่

เพลสติสกล่าวว่า เขาไม่สามารถคาดเดาพฤติกรรมการดูโทรทัศน์ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ส่วนตัวเห็นว่ารายการนี้สดใหม่และแหวกแนวกว่ารายการที่มีอยู่ทุกวันนี้มาก และคนดูก็น่าจะต้องการของที่สดใหม่แบบนี้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่เขาคิดว่าจะทำให้รายการนี้ 'เวิร์ก' ก็คือ ทุกคนที่อยู่ภายใต้หน้ากากต้องมีชื่อเสียงจริง ๆ เพื่อสร้างความรู้สึกร่วมกับคนดูเมื่อถอดหน้ากากและเฉลยตัวตน นั่นคือ ถอดหน้ากากแล้วคนต้องรู้จัก

แม้จะออกอากาศไปได้เพียง 1 เทป แต่ทีมผู้ผลิตเริ่มวางแนวทางสำหรับซีซันที่ 2 แล้ว โดยยังคงเน้นแรงบันดาลใจจากเวอร์ชันเกาหลีและไทยเป็นหลัก และทำออกมาให้เป็นรายการสำหรับครอบครัวได้ใช้เวลาคุณภาพร่วมกัน ถือเป็นจากริเริ่มความบันเทิงด้วยการ Look East ของฮอลลีวูดในอีกแบบหนึ่ง นอกเหนือจากการซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ไปรีเมก ซึ่งถ้าหากว่าผู้ชมอเมริกันตอบรับกับความบันเทิงที่แปลกแหวกแนวแบบนี้ได้ ต่อไปก็น่าจะมีการซื้อลิขสิทธิ์ผลงานในลักษณะเดียวกันนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่ารสนิยมความบันเทิงของผู้คนในแต่ละประเทศจะไม่ได้ตรงกันเสมอไปนัก


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog