ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - EU หนุนรถบรรทุกให้ลด CO2 ลง 35% ในปี 2030 - Short Clip
World Trend - ทั่วโลกต้องเร่งรับมือ 'ภาวะโลกร้อน' ก่อนจะสายเกินแก้ - Short Clip
World Trend - จีนเตรียมส่งต่อปัญหาขยะพลาสติก 111 ล้านตันให้ชาวโลก - Short Clip
World Trend - แอปเปิลสั่งลดการผลิตไอโฟนรุ่นใหม่ลง 20 % - Short Clip
World Trend - ​เซี่ยงไฮ้นำร่องแยกขยะ ก่อนทำทั่วประเทศ - Short Clip
World Trend - แคลิฟอร์เนียเตรียมใช้พลังงานสะอาด 100% ในปี 2045 - Short Clip
World Trend - ​ผลสำรวจชี้ 'รีพับลิกัน' เกินครึ่งเชื่อเรื่องโลกร้อน - Short Clip
World Trend - 'จาการ์ตา' อาจเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในปี 2030 - Short Clip
World Trend - อินเทลบรรลุเป้า 'ความหลากหลายด้านกำลังคน' - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ ภาษีโซดาช่วยลดการบริโภค - Short Clip
World Trend - สงครามการค้ากระทบอุตสาหกรรมการบินโลก - Short Clip
World Trend - ลอนดอนตั้งเป้าเป็น 'เมืองเดินสะดวก' ที่สุดในโลก - Short Clip
World Trend - อุณหภูมิออฟฟิศที่เหมาะสมสำหรับทุกคนอาจไม่มีจริง - Short Clip
World Trend - รถยนต์ไฟฟ้าไม่ใช่ยาครอบจักรวาล - Short Clip
World Trend - เกาหลีเล็งสร้างโรงงาน AI 2,000 แห่ง ภายใน 2030 - Short Clip
World Trend - ชาวอเมริกันทุกช่วงวัยหันมานิยม 'นั่งสมาธิ' - Short Clip
World Trend - Bike Sharing เพิ่มยอดผู้ใช้จักรยานในจีน - Short Clip
World Trend - นทท.จีนเดินทางไปฮ่องกงเพิ่มขึ้นแม้เงินหยวนอ่อนค่า - Short Clip
World Trend - 'สลัดผักพร้อมกิน' มื้อด่วนฮิตในเกาหลีใต้ - Short Clip
World Trend - ส่งออกจีนชะลอตัว ผลกระทบจากสงครามการค้า - Short Clip
World Trend - ประชากรโลกขาดอาหารกว่า 821 ล้านคน - Short Clip
Jul 17, 2019 03:47

รายงานจากหน่วยงานด้านอาหารของสหประชาชาติระบุว่า เมื่อปีที่ผ่านมาประชากรโลกกว่า 821 ล้านคนกำลังเผชิญกับภาวะอดอยากและหิวโหย และเป็นปีที่สามที่ตัวเลขเพิ่มขึ้นติดต่อกัน

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ว่าโครงการอาหารโลก (WFP) และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ซึ่งเป็นหน่วยงานจัดการด้านอาหารและโภชนาการของสหประชาชาติ ได้รายงานว่าภาวะอดอยากและหิวโหยของประชากรโลกยังอยู่ในขั้นวิกฤติ โดยสถิติเมื่อปีที่แล้วอยู่ที่มากกว่า 821 ล้านคนทั่วโลก เพิ่มขึ้น 10 ล้านคนจากปี 2017 ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 811 ล้านคน โดยถือเป็นปีที่สามติดต่อกันนับจากปี 2015 หลังจากที่ภาวะนี้ห่างหายไปนานหลายทศวรรษ ดังนั้นแนวโน้มการมีจำนวนเพิ่มขึ้นเช่นนี้ทำให้ เดวิด บีสลีย์ หัวหน้าโครงการอาหารแห่งสหประชาชาติระบุว่า โลกอาจไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในการขจัดความหิวโหย ภายในปี 2030 แน่นอน 

นอกจากนี้ในรายงานยังระบุอีกด้วยว่า หนึ่งสาเหตุหลักของความอดอยากและความหิวโหยของประชาชนที่ส่งผลให้วิกฤติยิ่งขึ้น คือการที่กลุ่มหัวรุนแรงใช้ความหิวโหยและการควบคุมอาหารเป็นอาวุธในการควบคุมประชาชนในพื้นที่ให้อยู่ภายใต้การปกครอง และต่อรองในการจ้างสมาชิกใหม่ด้วย ทั้งนี้ ประชาชนในแอฟริกาที่อยู่ในภาวะทุพโภชนาการมีถึงราว 20 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือทวีปเอเชีย ประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ ตามด้วยลาตินอเมริกาและแคริบเบียนเกือบ 7 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งหมดแล้วมากกว่า 2,000 ล้านคน

อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคที่พัฒนาแล้วอย่างอเมริกาเหนือและยุโรป ก็ยังประสบกับปัญหา "ความไม่ปลอดภัย" หรือ "ความไม่มั่นคง" ทางอาหารเช่นกัน โดยยังคงมีหลายประเทศต้องแก้ไขปัญหาที่ประชาชนได้รับประทานอาหาร "ที่ไม่ปลอดภัย" มากขึ้นด้วย นอกจากนี้ WFP ยังแสดงความกังวลด้วยว่า ภาวะทุพโภชนาการบนโลกที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเด็กประมาณ 149 ล้านคนอีกด้วย


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog