ไม่พบผลการค้นหา
กูเกิลเผยคนไทยเข้าโชว์รูมรถน้อยลง
Biz Insight : จีนชิงบัลลังก์ผู้นำด้านพลังงานทดแทน 
เทสลาบุกตลาดรถไฟฟ้าจีน
 วางแผนการตลาดอย่างไรเมื่อพื้นที่โฆษณาบนเฟซบุ๊กจำกัด?
Biz Feed - ทำไมมีร้านอาหารไทยในสหรัฐฯ เยอะมาก - Short Clip
ชอปปิงออนไลน์ติด 5 อันดับแรกการใช้เน็ตในไทย
แอพฯแชร์จักรยานจีนให้บริการใน มธ.แล้ว
CLIP Biz Feed : 'HijUp' เปิดโลกแฟชั่นหญิงมุสลิม
ไทยสนใจซื้อรถหุ้มเกราะและไรเฟิลจากเกาหลีใต้
DJI หันมาผลิตโดรนสำหรับมืออาชีพ
Biz Insight - จับตาเศรษฐกิจ-การเมือง 4 เสืออาเซียนปี 2018 - Short Clip
Clip Biz Feed : ปฏิรูปมาเลเซียแอร์ไลน์ฟื้นฟูภาพลักษณ์ได้? 
Biz Feed - 2018 อาจไม่ใช่ปีของเฟซบุ๊ก - Short Clip
ไทยติดโผประเทศเป็นมิตรกับนักท่องเที่ยวมุสลิม
Biz Insight : UN ชี้ นโยบายรัดเข็มขัดทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ 
Biz Insight : เปิดบริการ 'ยิ้มเพื่อจ่ายเงิน' ที่เคเอฟซีจีน
Biz Insight: ไทยต้องเปลี่ยน เพื่อหลุดจากวิกฤตเศรษฐกิจโตช้า 
อาลีบาบาเชื่อมช็อปออนไลน์กับตลาดสดด้วย 'เหอหม่า'
Biz Feed - เส้นทางเน็ตฟลิกซ์จากเช่าวิดีโอสู่สตรีมมิง - Short Clip
ofo บริการแชร์จักรยานผ่านแอป
ทำไมภาคธุรกิจไม่พอใจทรัมป์ไม่ร่วมแก้โลกร้อน
Jun 5, 2017 02:57

หลังจากนายโดนัลด์ ทรัมป์ประกาศว่า สหรัฐฯจะถอนตัวจากข้อตกลงปารีสภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือข้อตกลงปารีส ก็ทำให้ทั่วโลกออกมาแสดงความไม่พอใจกันอย่างกว้างขวาง รวมถึงภาคธุรกิจต่างๆด้วย

ภาคธุรกิจทั่วโลกแสดงความไม่พอใจการตัดสินใจครั้งนี้อย่างมาก นายอีลอน มัสก์ ผู้บริหารเทสลา และนายโรเบิร์ต ไอเกอร์ ผู้บริการวอล์ท ดิสนีย์ ลาออกจากคณะที่ปรึกษาของทำเนียบขาวทันที ด้านนายมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กก็วิจารณ์ว่า การถอนตัวจากข้อตกลงปารีสจะส่งผลเสียต่อส่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และอนาคตของลูกหลาน นอกจากนี้ ยังมีผู้บริหารบริษัทยักษ์ใหญ่อีกมากมายตบเท้ากันออกมาวิพากษ์วิจารณ์นายทรัมป์

สำนักข่าวบีบีซี ได้สรุป 4 เหตุผลหลักที่ทำให้ภาคธุรกิจคัดค้านการถอนตัวจากข้อตกลงปารีสไว้ ดังนี้

1. การเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นแล้ว โดยบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลายเริ่มปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานและบทบาทของบริษัทในการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ ตั้งแต่ก่อนจะมีการลงนามข้อตกลงปารีสด้วยซ้ำ ไม่ว่าจุดยืนของรัฐบาลสหรัฐฯ จะเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างไร แต่จุดยืนของภาคธุรกิจจะยังคงเดิม แม้แต่บริษัทด้านพลังงานที่เคยพึ่งพาน้ำมันและเชื้อเพลิงฟอสซิล ก็ปรับตัวมาลงทุนเงินนับแสนล้านดอลลาร์ในการวิจัยและพัฒนาแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนและสะอาดขึ้น ทั้งเอ็กซอนโมบิล เชฟรอน หรือเชลล์ก็ออกมาเตือนนายทรัมป์เรื่องนี้

2. ค่าใช้จ่ายจะยิ่งเพิ่มขึ้น เพราะธุรกิจได้วางแผนเปล่ยนแปลงทิศทางบริษัทไปแล้ว มีการลงทุนกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำไปจำนวนมหาศาล และจะได้ผลกำไรกลับคืนมาในรูปของการจ้างงานและสร้างอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดขึ้นมาใหม่ด้วย และแม้ปัจจุบัน เชื้อเพลิงฟอสซิลจะราคาถูกที่สุด แต่ราคาของพลังงานทดแทนอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลมก็ถูกลงอย่างมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มจะถูกลงเรื่อยๆ โดยบริษัทวอลมาร์ทระบุว่า ปัจจุบัน สามารถประหยัดเงินได้ถึง 1 พันล้านดอลลาร์จากการใช้พลังงานทดแทนในสัดส่วนเพียง 1 ใน 4 ของที่ใช้ทั้งหมด

3. ความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอาจทวีความรุนแรงขึ้น โดยภาคธุรกิจมองว่าการถอนตัวจากข้อตกลงเป็นการแสดงความไม่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลายไปมากแล้ว และผลกระทบเหล่านั้นก็ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อธุรกิจ เพราะธุรกิจจำนวนมากเช่น บริษัทผลิตซีเรียลก็ต้องใช้ธัญพืชเป็นวัตถุดิบ หากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงคาดเดาไม่ได้ หรือเกิดสภาพอากาศรุนแรงจนผลลิตทางการเกษตรเสียหาย บริษัทแปรรูปเหล่านี้ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน

4. การถอนตัวจากข้อกลงปารีสจะทำให้สหรัฐฯ สูญเสียภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือในเวทีโลก เพราะข้อตกลงนี้เป็นข้อตกลงแรกที่ทั้งโลกร่วมมือกันแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ มีประเทศที่ร่วมลงนาม 195 ประเทศจากทั้งหมด 197 โดย 2 ประเทศที่ไม่เข้าร่วมคือ ซีเรียที่กำลังวุ่นวายกับสงครามกลางเมือง และนิการากัวที่มองว่าข้อตกลงปารีสยังมีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาไม่จริงจังพอ ดังนั้น สหรัฐฯ อาจเรียกได้ว่าเป็นประเทศเดียวในโลกที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และทำให้สหรัฐฯ สูญเสียสถานะการเป็นผู้นำโลกไปโดยปริยาย

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog