ไม่พบผลการค้นหา
วันนี้มีคนตาย! กับหลากหลายคำถาม จาก พ.ค. 35-53
จากพฤษภา 35 ถึง 53
จากรัฐประหาร 19 กันยา 49 – พฤษภา 53
คอป. เร่งเยียวยา...ญาติวีรชน พฤษภา 35 – 53
จีรนุช-ประชาไท” วิพากษ์ บทบาท-หน้าที่-ความรับผิดชอบ สื่อไทย
เศรษฐกิจไทยปี 2553 เติบโตร้อนแรง
19 พฤษภา 35 ถึง 1 ปี พฤษภา 53 คำถามและความหวังที่ยังรอคำตอบ
ชีวิต ความคิด อิสรภาพ ของณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
“จ่ายครบ จบแน่” ธุรกิจผลิตปัญญาชน ?
หนุน-ต้านเยียวยาเหยื่อชุมนุม คำตอบอยู่ที่"เจตจำนงทางการเมืองของรัฐบาล"
'สื่อมวลชนท่ามกลางความขัดแย้ง...บาดเจ็บ-ตาย!?'
“ต้องเอาคนผิดมาติดคุก”...ก่อนปรองดอง!
“เสื้อแดงชูยุทธศาสตร์ 2 ขา” หลังแกนนำได้ประกันตัว
“การเมือง” มาแล้วก็ไป อย่าใช้ “ตำรวจ” เป็นเครื่องมือรักษาฐานอำนาจ
35 ปี 6 ตุลา ในสายตา 'คนรุ่นใหม่'
“ชีวิต ความคิด อิสรภาพ”…ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
รู้จักตัวตน “จิตรา คชเดช” เจ้าของป้าย “ดีแต่พูด”
วิเคราะห์ความขัดแย้งทางการเมืองผ่าน 3 กลุ่มหลัก
เปิดใจคณะผู้สร้างภาพยนตร์ "นวมทอง" สีไหนๆก็ดูได้
บริหารธุรกิจรับการเปลี่ยนแปลง
“สื่อต่างประเทศ” กับวิกฤติการเมืองไทย
Feb 9, 2011 13:37

ปรากฎการณ์ที่ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นที่รายงานข่าวสถานการณ์การชุมนุมคนเสื้อแดงในช่วงวิกฤติการเมืองไทย แล้วถูกกระแสต่อต้านจากชนชั้นกลางไทย เขียนจดหมายประท้วงไปถึงต้นสังกัด มีคำอธิบายจากนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ที่เบนเข็มมาเป็นนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ผศ.พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล โดยพยายามชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างสื่อไทย กับชนชั้นนำ และชนชั้นกลางไทย

 

การนำเสนอผลงานวิจัย “บทบาท”สื่อใหม่ที่เข้ามาในสังคมไทย โดยมองผ่าน การต่อสู้เชิงอุดมการณ์โดยใช้สื่อ  ตั้งแต่ยุคสงครามเย็น เหตุการณ์พฤษภา 35 และเหตุการณ์ พฤษภา 53 ช่วงเหตุการณ์ พฤษภา 35  สื่อต่างประเทศ เปรียบเหมือน “ฮีโร่” ของชนชั้นกลาง  แต่ในอีก 18 ปีต่อมา ในเหตุการณ์ พฤษภา 53 สื่อต่างประเทศไม่ใช่ “ฮีโร่”ของชนชั้นกลางอีกต่อไป

 

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า  สื่อต่างประเทศ ยังคงทำหน้าที่ตามอุดมกาณ์ประชาธิปไตยเช่นเดิม แต่บริบทของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่การต่อสู้ระหว่างแนวคิด เสรีนิยม กับอำนาจนิยม เหมือนวิกฤติการเมืองในปี 2535   แต่วิกฤติการเมืองปี 2553 เป็นทางแยกของแนวคิดเสรีนิยม กับประชาธิปไตย

 

ผศ.พิจิตรา ยังวิเคราะห์การเติบโตของ New Media ที่เกิดขึ้นหลังปี 2540  ทำให้เกิดการกระจายอำนาจการผลิตสื่อไปสู่ปัจเจกชน ไม่ได้ผูกขาดเฉพาะผู้มีอำนาจ ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน การเกิดขึ้นของสื่อใหม่ จะทำให้เม็ดเงินในอุตสาหกรรมสื่อเกิดการกระจายตัว

 

เทคโนโลยีทำให้ “สื่อใหม่”เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โทรทัศน์ เป็นตัวอย่างของสื่อที่ใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เนทในลักษณะการผลิตซ้ำ ในยุคสื่อใหม่ “อำนาจในอนาคตอยู่ที่ผู้ผลิตเนื้อหา”

 

Produced by VoiceTV
 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog