ไม่พบผลการค้นหา
“เกณฑ์เยียวยา” ปรองดองหรือสองมาตราฐาน?
กองทัพยุค “พล.อ.อ.สุกำพล” ไม่ล้มรัฐบาล
ย้าย ผบ.ตร. ยึดหลัก “คุณธรรม หรือ “การแก้แค้น”
สำนักงานสลากฯเพิ่มรางวัลที่ 1 แก้ขายสลากเกินราคา
ปลุกม็อบแรงงานทั่วประเทศ กดดันค่าแรง 300 บาท
“ปรองดอง” เพื่อดับไฟใต้
ตำรวจมั่นใจปราบ “โจรน้ำท่วม” เพราะประชาชนร่วมมือ
"เรือนจำ"เครือข่ายค้ายาเสพติดใหญ่ที่สุดในประเทศ
หลังพ.ร.ก.ผ่านฉลุย เพื่อไทยจี้ประชาธิปัตย์ทบทวนตัวเอง
สถาบันพระปกเกล้ารับข้อเสนอ “อภิสิทธิ์” แต่ไม่เปลี่ยนแปลงแนวทางปรองดอง
ดับไฟใต้ "พูดคุย" ไม่ใช่ "เจรจา"
เปลือยแนวคิด "วรเจตน์" ฝ่าข้อหาล้มเจ้า
ปิดฉากปรองดอง...เริ่มต้นขัดแย้งที่รอวันปะทุ (อีกครั้ง) !
ระเบิดในไทยแผนสังหาร รมต.อิสราเอล
อากาศยานกองทัพไทย ทำไม “ร่วงแล้ว ร่วงอีก”
วิเคราะห์ 'ขบวนการแยกดินแดนใต้'
“วีระ-ราตรี” ความจริงจากคุกเปรย์เซอร์
ประชาชนเสนอนายกฯ ทำประชาพิจารณ์ “แผนบริหารน้ำ”
มาตุภูมิ เสนอตั้งทบวงขึ้นมาดูแล 3 จังหวัดชายแดนใต้
ทำไม ? ไทยตกเป็นเป้าหมายการก่อการร้ายสากล
ความผิดพลาดของรัฐกับนโยบายดับไฟใต้
Feb 8, 2012 07:36

รายการ Hot Topic ประจำวันที่ 4 ก.พ. 55

 

ที่ปรึกษามูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ เห็นด้วยกับการตั้งคณะกรรมการ แต่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ และฟังเสียงประชาชน รวมทั้งเสนอให้รัฐบาลกำหนดมาตรฐานเดียวกันหมดทั่วประเทศ และนโยบายที่เสมอภาคกัน

 

วันนี้ (7 กุมภาพันธ์ 2555) รายการ Hot Topic ร่วมพูดคุยกับพล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม ที่ปรึกษามูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ ถึงสถานการณ์ความรุนแรงของภาคใต้ที่กำลังรุนแรงขึ้นอีกครั้ง

 

พล.ต.ต.จำรูญ กล่าวถึงสถานกรณ์ความรุนแรงในภาคใต้ขณะนี้ว่า แม้รัฐบาลจะออกมายอมรับผิด แต่ปัญหาก็ยังเกิดขึ้นอยู่ เกิดขึ้นเป็นประจำ และที่สำคัญกระบวนการยุติธรรมค่อนข้างล่าช้า การตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ จึงเป็นเรื่องดีที่จะมีการปฏิรูปกระบวนการเยียวยา เพราะที่ผ่านมาการเยียวยาไม่มีมาตรฐาน ขณะที่คณะกรรมการที่แต่งตั้งจะต้องพิจารณาให้รอบคอบ ฟังเสียงประชาชน และต้องประกอบด้วยตัวแทนจากส่วนกลาง ตัวแทนจากภูมิภาคและท้องถิ่น เพื่อความเป็นธรรม เข้าใจข้อมูล ข้อเท็จจริงของปัญหา

 

ส่วนนโยบายของรัฐธรรมที่ได้แถลงไว้ ยังไม่เป็นรูปธรรม 8 ปีที่ผ่านมาทางฝ่ายรัฐมักจะรับรู้แค่ปัญหา แต่ไม่ได้เข้าใจถึงจุดที่เป็นปัญหาที่แท้จริง ดังนั้นรัฐจะต้องแสวงหาข้อมูลข่าวสารให้ชัดเจน และมีอีกหลายๆคดีที่ทางกระบวนการยุติธรรมต้องรับพิจารณา และจะต้องมีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปยังท้องถิ่น หรือที่เรียกว่าการปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษ

 

กรณีร่างพระราชบัญญัติปัตตานีมหานคร เกิดจากการรับฟังความคิดเห็นของคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขณะนี้อยู่ในกระบวนการเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับรู้และเข้าใจ เพื่อที่จะให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม และร่วมกันลงชื่อ เพื่อที่จะเสนอต่อรัฐสภา พล.ต.ต.จำรูญ ยังกล่าวอีกว่า หากรัฐบาลกำหนดมาตรฐานเดียวกันหมดทั่วประเทศ  สิ่งที่ควรทำคือการให้นโยบายที่เสมอภาคกัน จึงเห็นด้วยที่รัฐบาลจะตั้งคณะกรรมการศึกษาเกี่ยวกับการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ 

 

Produced by VoiceTV

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog