ไม่พบผลการค้นหา
เครื่องแบบนักเรียน " มีอยู่" หรือ "ยกเลิก" ?
'ชาตินี้' หรือ 'ชาติไหน' ที่วัฒนธรรมแบบไทยจะผงาดสู่เวทีโลก
พาเหรดนาซี และ ปัญหาแบบเรียนประวัติศาสตร์ของเด็กไทย
ทำไมประเทศไทยจึงได้ชื่อว่าเป็น “ซ่อง”ของโลก
คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา Special in Chiang Mai
“สัปปายะสภาสถาน” แบบรัฐสภาใหม่ของไทย
พิษตกค้างการเมืองหลังการเลือกตั้ง (ตอนจบ)
เมื่อ 'ผู้หญิง' ก้าวเข้ามาในพื้นที่ของผู้ชาย
แฟชั่นกับผู้นำหญิง
โฆษณา เครื่องดื่มขาวอมชมพู สะท้อนความไร้การศึกษาวงการโฆษณาไทย
วัฒนธรรมไทย กับดีไซน์ คัลเจอร์
สถานะของภาษาอังกฤษในสังคมไทย ตอนที่ 1
กินเนื้อหมาหรือเลี้ยงสุนัข ตอน 2
ประชาธิปัตย์ หรือ นีโอนาซี?
Slut walk
กินเนื้อหมาหรือเลี้ยงสุนัข
"ภาษาอังกฤษ" ต้นทุนทางวัฒนธรรม ของชนชั้นนำในสังคมไทย
ปัญหาการแต่งงานของคนรักร่วมเพศ และคำถามว่าเกย์คืออะไร?
ยืนตรงเคารพธงเพลงชาติเพื่ออะไร
I love Hitler
การปรับตัวของราชวงศ์อังกฤษ จะเลือก'กระฎุมพี'หรือ'เซเลบบริตี้'
May 22, 2011 13:33

 

เก็บตกจากพิธีเสกสมรส ระหว่างเจ้าชายวิลเลี่ยมและ เคท มิดเดิลตัน มีประเด็นที่น่าสนใจมากมาย โดยเฉพาะเรื่องการปรับตัวของราชวงศ์อังกฤษ ให้เข้ากับยุคกับสมัยและการทำตัวอู้ฟู่น้อยลง 
การที่ราชวงศ์อังกฤษ รวมถึงราชวงศ์ต่างๆ ทั่วโลกในปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงสถานะในเชิงสังคม จากเดิมที่สมาชิกราชวงศ์ หรือ Royal Family จะดำรงตนในฐานะอภิชน มาเป็นส่วนหนึ่งของเหล่า “กระฎุมพี” ในความหมายของกลุ่มชนชั้นสูง ที่เข้ามามีส่วนร่วมทางสังคมมากขึ้น จับต้องได้มากขึ้น เกิดจากแรงกดดันทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมที่มีพลวัต จนในที่สุด การเปลี่ยนผ่านทางสังคม ทำให้สมาชิกในบางราชวงศ์ ค้นพบวิถีใหม่ในการดำรงตน นั่นคือการผันตัวเองมาเป็น “เซเลบบริตี้”
ซึ่งประเด็นนี้ สังเกตได้อย่างชัดเจน จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในราชวงค์อังกฤษ ภายหลังชีวิตคู่ที่ล้มเหลวของเจ้าฟ้าชายชาร์ลล์ และเจ้าหญิงไดอาน่า โดย อาจารย์ เบนเนดิค แอนเดอร์สัน อธิบายเรื่องนี้ไว้ในงานเสวนาหัวข้อ “มองอนาคตการเมืองไทยผ่านสายตาคนนอก” โดยเป็นการวิพากษ์ การเปลี่ยนบทบาทของสมาชิกราชวงศ์มาสู่การเป็นเซเลบริตี้
 
“นับแต่ต้นศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ระบอบกษัตริย์ในยุโรปตกอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างมาก พร้อมๆ กับการขยายตัวของการอ่านออกเขียนได้ของประชาชนทั่วไป หนังสือแทบลอยด์ ฯลฯ ฯลฯ สาเหตุพื้นฐานประการหนึ่งก็คือชัยชนะที่แน่ชัดของวัฒนธรรมฆราวาส (secular culture) เดิมทีนั้น กษัตริย์ถูกยกให้เป็นคนพิเศษที่พระเจ้าโปรดปราน กษัตริย์มีแม้กระทั่งพลังอำนาจที่จะรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้ข้าราษฎรด้วยการ วางมือกษัตริย์สัมผัสเท่านั้น 
 
อำนาจนี้ยุติลงในอังกฤษเมื่อต้นศตวรรษที่ 18 และในฝรั่งเศสอีกสองสามทศวรรษให้หลัง จากนั้นจึงเกิดแนวความคิดเกี่ยวกับระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญขึ้นมา และเป็นการสิ้นสุดประเพณีดั้งเดิมที่เชื่อว่าความเป็นกษัตริย์มีบารมี ปาฏิหาริย์ สถาบันกษัตริย์ต้องปรับตัวกับการเกิดขึ้นของลัทธิชาตินิยมภายในจักรวรรดิ โบราณที่มีประชากรหลายเชื้อชาติ โดยที่กษัตริย์จำต้องผูกพันตัวเองเข้ากับขบวนการชาตินิยมอันใดอันหนึ่ง สถาบันกษัตริย์ยังต้องรับมือกับความคาดหวังของกระฎุมพีที่มีอำนาจมากขึ้น ด้วยยุคที่ในวังเต็มไปด้วยความสำส่อนทางเพศต้องถึงกาลสิ้นสุดลง การแพร่หลายของหนังสือพิมพ์ก็มีส่วนในเรื่องนี้ไม่น้อยทีเดียว 
 
ในแง่นี้ ระบอบกษัตริย์แบบกระฎุมพีจึงต้องเกิดขึ้นแทนที่ระบอบกษัตริย์แบบศักดินา ความคิดเก่าๆ เดิมๆ ว่า การล่มสลายของราชวงศ์หนึ่งหมายถึงการเกิดขึ้นของราชวงศ์ใหม่ ค่อยๆ หายไปจนหมดสิ้น กษัตริย์ทั่วทั้งยุโรปเริ่มตระหนักว่า ถ้าราชวงศ์ของตนล่มสลาย จะไม่มีราชวงศ์อื่นมาแทนที่อีกแล้ว 
 
ความกลัวนี้ปรากฏกลายเป็นจริงระหว่าง ค.ศ. 1911-1920 เมื่อราชวงศ์ในจีน รัสเซีย ออสโตร-ฮังการี จักรวรรดิออตโตมันและเยอรมนี ล่มสลายลงพร้อมๆ กับการก่อตั้งสันนิบาตชาติ เหลืออยู่แต่ในสหราชอาณาจักรกับเครือจักรภพที่ชนะสงครามเท่านั้นที่ระบอบ กษัตริย์เกรดเอยังอยู่รอดมาได้ และระบอบกษัตริย์อังกฤษก็ต้องประพฤติตัวเป็นกระฎุมพีที่ดีเท่าที่จะทำได้ (แต่สถาบันกษัตริย์ที่ไร้บารมีปาฏิหาริย์ย่อมประสบความลำบากไม่น้อย เนื่องจากความชอบธรรมตามประเพณีได้มาจากบารมีปาฏิหาริย์) 
 
“ในสหราชอาณาจักร สถาบันกษัตริย์แบบนี้อยู่รอดมาได้ค่อนข้างดีจนกระทั่งการสมรสของฟ้าชายชาร์ลส์ และเจ้าหญิงไดอาน่าจบลงอย่างไร้ความสุข” 
 
การที่สถาบันกษัตริย์อังกฤษแปรสภาพเป็นแบบฆราวาสไปแล้ว หมายความว่าหนังสือพิมพ์แทบลอยด์ รวมทั้งความช่วยเหลือจากนักเจาะข้อมูลคอมพิวเตอร์ ช่วยกันเปิดโปงว่า ทั้งสามีและภรรยาต่างก็มีชู้ ในตอนนั้น ไดอาน่าค้นพบวิถีทางใหม่ที่ง่อนแง่นในการสร้างรัศมีบารมีขึ้นมา เนื่องจากเธอเป็นคนรุ่นใหม่อย่างแท้จริง เธอจึงค้นพบวิถีทางนี้ในสื่อมวลชน นั่นคือการสร้างสถานะซูเปอร์เซเลบขึ้นมา 
 
เมื่ออยู่ท่ามกลางดาราภาพยนตร์และร็อคสตาร์ ซึ่งล้วนแล้วแต่สวยกว่า เก่งกว่าและฉลาดกว่าเธอ แต่เธอถือไพ่ไม้ตายไว้ใบหนึ่ง นั่นคือ เธอมีสถานะราชนิกูลที่นักร้องหรือดาราหนังไม่มีทางมีได้ แต่เธอไม่เข้าใจว่า ในขณะที่เซเลบคนดังทั้งหลายสามารถสร้างชื่อเสียงได้จากเรื่องอื้อฉาวทางเพศ และเรื่องอื้อฉาวอื่นๆ ราชนิกูลทำแบบเดียวกันไม่ได้ เธอไม่ได้ตระหนักด้วยว่า การเป็นเซเลบนั้นมันไม่ยั่งยืน มันช่วยสร้างรัศมีบารมีได้แค่ช่วงสั้นๆ เหมือนดาราหนังทุกคน ไดอาน่าจึงสร้างความเสียหายร้ายแรงต่อสถาบันกษัตริย์อังกฤษ ซึ่งพยายามทุกวิถีทางที่จะรักษาสถาบันกษัตริย์แบบกระฎุมพีเอาไว้ โชคดีที่ไดอาน่ามีชีวิตอยู่แค่เป็นเจ้าหญิงเท่านั้น ถ้าหากเธอมีชีวิตอยู่ต่อไปจนได้เป็นราชินีและยังใฝ่ฝันจะเป็นเซเลบ เธออาจนำพาสถาบันกษัตริย์ในสหราชอาณาจักรถึงซึ่งกาลอวสานก็ได้ เราสามารถเรียนรู้อะไรมากมายจากเรื่องนี้” 
 

Produced by VoiceTV

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog