ไม่พบผลการค้นหา
รายละเอียดจากการแถลงข่าวของ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข, นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ ประธานคณะทำงานด้านบริหารจัดการการให้บริการวัคซีนโควิดและไฟเซอร์, นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค วันที่ 2 ส.ค.2564


จัดสรรไฟเซอร์

การจัดสรรไฟเซอร์

  • ยืนยันตัวเลขจากสถานทูตสหรัฐอเมริกา 1,503,450 โดส ไม่มีล่องหน ไม่มีขาด

กลุ่มที่ 1 บุคลากรด่านหน้า 700,000 โดส

  • การจัดสรรส่วนของบุคลากรทางการแพทย์มีการเปลี่ยนแปลง จากเดิมที่ให้ไฟเซอร์ 1 เข็มเป็นเข็มกระตุ้นภูมิ เฉพาะผู้ฉีดซิโนแวค/ซิโนฟาร์ม 2 เข็ม ก็ได้ขยายคลอบคลุมขึ้น แบ่งเป็น

-ผู้ไม่เคยฉีดวัคซีน จะได้ไฟเซอร์ 2 เข็ม  (ห่าง 3 สัปดาห์)

-ผู้ฉีดวัคซีนใดๆ ก็ตาม 1 เข็ม จะได้ไฟเซอร์ 1 เข็ม  (ห่างตามกำหนดของวัคซีนแรกที่ฉีด)

-เคยติดเชื้อมาแล้ว จะได้ไฟเซอร์ 1 เข็ม (อย่างน้อย 1 เดือนหลังติดเชื้อ)

  • บุคลาการทางการแพทย์ที่ฉีดแบบอื่นไปแล้ว สามาถลงทะเบียนไว้สำหรับไฟเซอร์ล็อตหน้าได้  ได้แก่

1. ซิโนแวค+แอสตร้า

2. แอสตร้า+แอสตร้า

3. ซิโนแวค+ซิโนแวค+แอสตร้า

“ขณะนี้ยังไม่แนะนำให้กลุ่มนี้ใช้ไฟเซอร์เป็นเข็มกระตุ้น เพราะภูมิยังอยู่ในระดับสูงเพียงพอ และยังไม่มีข้อมูลวิชาการสนับสนุนเพียงพอว่าต้องฉีดกระตุ้นเมื่อไร อย่างไรก็ตาม กลุ่มเหล่านี้ให้ขึ้นทะเบียนรายชื่อไว้ และจะพิจารณาตามข้อมูลหลักฐานวิชาการที่จะมีเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาให้ฉีดไฟเซอร์ที่จะเข้ามาในระยะต่อไป” อธิบดีกรมควบคุมโรค

  • บุคลากรการแพทย์ส่วนใหญ่หรืออาจกล่าวได้ว่าเกือบทั้งหมด ฉีดซิโนแวคไปแล้ว 2 เข็ม และมีคนที่ฉีดแอสตร้าเป็นเข็มกระตุ้นก่อนหน้านี้แล้วประมาณ 20% เนื่องจากสถานการณ์ด่านหน้าเริ่มมีบุคลากรติดเชื้อมากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งบริบทตอนนั้นยังไม่แน่ชัดว่าไฟเซอร์จะมาเมื่อไร  
  • ไฟเซอร์ล็อตนี้ไม่ได้ให้เฉพาะแพทย์พยาบาล แต่ให้นักศึกษาหรือเจ้าหน้าที่ทุกแผนกที่จะต้องสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ เช่น แผนกผู้ป่วยนอก แผนกผู้ป่วยใน แผนกทางเดินหายใจ ห้องฉุกเฉิน แผนกผู้ป่วยวิกฤต รพ.สนาม เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่สอบสวนโรค เจ้าหน้าที่ทำงานในสถานที่กักกัน หรือที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับโควิดอื่นๆ ซึ่งจะเป็นไปตามการพิจารณาของหน่วยงานต้นสังกัด รวมไปถึง หน่วยกู้ภัย เก็บศพ สัปเหร่อ
  • แนะนำให้สถานพยาบาลทั้งหมดประกาศจำนวนบุคลากรที่ได้รับไฟเซอร์ให้สาธารณะตรวจสอบเพื่อความโปร่งใสและมั่นใจ
  • จะมีการกระจายวัคซีนไปยังต่างจังหวัด นับตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค. โดยจะกำหนดจุดฉีดตาม รพ.ใหญ่และต้องมีการวางแผนการฉีดให้รัดกุม เนื่องจากการจัดเก็บต้องอยู่ในอุณหภูมิติดลบ และ 1 ขวดเมื่อเปิดแล้วต้องฉีดให้ได้ 6 เข็ม

กลุ่มเสี่ยง : ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง จำนวน 645,000 โดส

  • ใน 13 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม
  • ในเด็ก 12 ปีขึ้นไปที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น เป็นโรคอ้วน เบาหวาน หัวใจ ไต
  • ผู้ตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป

กระทรวงการต่างประเทศ 150,000 โดส

  • ชาวต่างชาติในไทยที่เป็นผู้สูงอายุ-โรคเรื้อรัง-หญิงตั้งครรภ์ กรมการกงศุลทำระบบลงทะเบียนทางเว็บไซต์
  • นักเรียนไทยที่ต้องไปเรียนต่อซึ่งต้องมีใบรับรองการฉีดวัคซีน และบางประเทศกำหนดให้เป็นไฟเซอร์ 

วิจัย 5,000 โดส

สำรองรับมือสายพันธุ์เบต้า 3,450 โดส

การฉีดวัคซีน

  • ขณะนี้คนไทยฉีดวัคซีนไปแล้ว 17.8 ล้านโดส แบ่งเป็นเข็มหนึ่ง 27.9%  เข็มสอง 7.8% จากเป้าหมาย 50 ล้านคน  
  • คนเสียชีวิต 75-80% เป็นคนสูงอายุหรือมีโรคเรื้อรัง
  • การฉีดวัคซีให้ผู้สูงอายุ ฉีดไปแล้วทั้งประเทศ 23% ถือว่ายังน้อยกว่ากลุ่มอื่น
  • กลุ่มต่างๆ ที่ฉีดวัคซีนมีความคืบหน้า ดังนี้

Ø  บุคลากรการแพทย์ จำนวน 712,000 คน เข็มหนึ่ง 114.8% เข็มสอง 99.2%

Ø เจ้าหน้าที่ด่านหน้า จำนวน 1.9 ล้านคน เข็มหนึ่ง 46.1% เข็มสอง 27.2%

Ø อสม. จำนวน 1 ล้านคน เข็มหนึ่ง 47.4%  เข็มสอง 21.3%

Ø ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง จำนวน 5.35 ล้านคน เข็มหนึ่ง 28.2% เข็มสอง 4.8%

Ø ประชาชนทั่วไป จำนวน 28.54 ล้านคน เข็มหนึ่ง 25.9% เข็มสอง 7.2%

Ø ผู้สูงอายุ จำนวน 12.5 ล้านคน เข็มหนึ่ง 23.2%  เข็มสอง 1.4%

  • เดือนก.ค.ที่ผ่านมา เร่งฉีดผู้สูงอายุในกทม.และปริมณฑลซึ่งเป็นพื้นที่ระบาดหนัก ในเดือนสิงหาคมจะต้องเน้นกระจายไปฉีดผู้สูงอายุต่างจังหวัดด้วย เนื่องจากหลายพื้นที่เริ่มระบาดหนักเช่นกนัน และผู้สูงอายุเสี่ยงติดเชื้อมากขึ้น เช่น จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี อยุธยา นครปฐม ฉะเชิงเทรา ชลบุรี สมุทรปราการ นราธิวาวส ปัตตานี สงขลา
  • เดือน ส.ค.วัคซีนมีปริมาณมากกว่า ก.ค. คล่องตัวมากขึ้น 10 ล้านโดสขึ้นไป ทั้งวัคซีนแอสตร้าฯ ซิโนแวค แล้วยังประกอบกับไฟเซอร์ด้วย
  • ทุกกลุ่มอายุสามารถฉีดซิโนแวคนำ แล้วตามด้วยแอสตร้าในอีก 3 สัปดาห์

สถานการณ์ในประเทศไทย คาดการณ์ล็อคดาวน์

  • ขณะนี้คนที่ป่วยที่รักษาอยู่มีราว 200,000 ราย แบ่งเป็น อยู่ รพ. 70,000 กว่าราย อยู่ รพ.สนาม 130,000 กว่ารายและ Home Isolation/Community Isolation 50,000 กว่าราย
  • มีผู้เสียชีวิตสะสม 0.84%
  • ศบค.ประกาศว่า 00.01 น.ของวันที่ 3 ส.ค.จะมีพื้นที่ประกาศพื้นที่ควบคุมสูงสุดเข้มงวด เพิ่มจาก 13 จังหวัดเป็น 29 จังหวัด (สีแดงเข้ม) พื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) มี 37 จังหวัด และมีพื้นที่ควบคุม (สีเหลือง) มี 11 จังหวัด
  • ปีที่แล้วการล็อคดาวน์พบว่า การเดินเท้าของประชาชนลดลง 80% ปีนี้ลดลงเพียง 70% ส่วนการเคลื่อนที่โดยรถยนต์ลดลง 60%
  • ตัวเลขคาดการณ์ผู้ติดเชื้อสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการล็อคดาวน์

Ø หากการล็อคดาวน์มีประสิทธิภาพ 20% คาดการณ์ว่า กลางเดือนสิงหาคม ตัวเลขผู้ติดเชื้อจะทะลุ 25,000 คนต่อวัน ผู้สียชีวิตแตะ 250 คนต่อวัน

Ø หากการล็อคดาวน์มีประสิทธิภาพ 25% (นาน 2 เดือน + เร่งฉีดวัคซีนกลุ่มเป้าหมายใน 1-2 เดือน) กลางเดือนส.ค. ตัวเลขผู้ติดเชื้อจะอยุ่ที่ไม่เกิน 15,000 คน ผู้เสียชีวิตแตะ 150 คนต่อวัน

  • สถานการณ์เตียงทั้งประเทศ ตั้งแต่มีโควิด ทั้งประเทศมีการขยายเตียงเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติถึง 185,000 เตียง แบ่งเป็น

Ø กทม.ขยาย 40,000 อัตราครองเตียง 90%

Ø ต่างจังหวัดขยาย 143,000 อัตราครองเตียง 80%

  • สถานการณ์เตียง ในกทม.และปริมณฑล แบ่งเป็น

Ø ภาครัฐ 13,000 เตียง เต็มหมดแล้ว แบ่งเป็น

>สีแดง 452 เตียง  มีผู้ admit แต่ยังไม่ได้เตียงมาตรฐานอีก 81 ราย

>สีเหลือง 6,968 เตียง มีผู้ admit แต่ยังไม่ได้เตียงมาตรฐานอีก 113 ราย

>สีเขียว (รพ.สนาม Hospitel) 6,430 เตียง ว่าง 159 เตีย

Ø ภาคเอกชน

>สีแดง 1,043 เตียง มีผู้ admit แต่ยังไม่ได้เตียงมาตรฐาน 151 ราย

>สีเหลือง 9,334 เตียง มีผู้ admit แต่ยังไม่ได้เตียงมาตรฐาน 1,921 ราย

>สีเขียว 13,884 เตียง เหลือ 35 เตียง